ทำไมยิ่ง “ลดน้ำหนัก” ถึงยิ่ง “อ้วน” มีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรแก้

หลายคนที่กำลังลดน้ำหนักอาจจะยังสงสัยว่าทำไมยิ่งลดน้ำหนักถึงยิ่งอ้วน ทาง พญ. น้ำทิพย์ พันธ์ทิพทวี สูตินรีแพทย์ จะมาไขข้อสงสัยให้กระจ่างในประเด็นนี้ ก่อนอื่นต้องขอบอกอุปสรรคที่ทำให้อ้วนคือ ความหิว และปัจจัยที่ทำให้เกิดความหิว คือ ฮอร์โมนควบคุมความหิว หรือที่เรียกว่า “Hunger Hormone” มีทั้งหมด 3 ตัวดังนี้ 1. ฮอร์โมนเลปติน (Leptin hormone) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม จะถูกสร้างจากเซลล์ไขมันและถูกกระตุ้นไปสมองทำให้อิ่ม ยิ่งมีไขมันเยอะก็จะมีเลปตินที่เยอะ ในทางตรงกันข้ามในภาวะที่มีเลปตินสูงก็จะทำให้เกิดภาวะดื้อเลปติน ทำให้เลปตินทำงานไม่ได้ เมื่อเลปตินสร้างสารไปกระตุ้นที่สมองจึงทำให้สมองไม่รู้สึกอิ่ม จะพบว่าในคนอ้วนจะมีเลปตินสูงกว่าคนผอมถึง 318 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้ไม่รู้สึกอิ่ม และสามารถรับประทานอาหารได้เรื่อยๆ คล้ายกับคนที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการดื้ออินซูลิน 2. ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin hormone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงกันข้ามกับเลปติน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหิวสร้างมาจากกระเพาะอาหาร เมื่อกระเพาะว่างจะส่งสัญญาณไปที่สมองทำให้รู้สึกหิวและรับประทานอาหาร ในคนอ้วนพบว่าเกรลินจะต่ำลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์กว่าในคนผอม จึงทำให้รับประทานอาหารเข้าไปเยอะ อย่างไรก็ตามคนอ้วนก็ยังรับประทานอาหารเยอะ เนื่องจากการทำงานของเลปตินและเกรลินทำงานไม่สมดุลกัน เมื่อมีภาวะดื้อเลปตินจึงไม่รู้สึกอิ่มและทำให้ยิ่งรับประทานอาหารเข้าไป 3. ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol hormone) หลายท่านอาจจะเคยรู้สึกว่ายิ่งเครียด ยิ่งรับประทานอาหารเยอะ เนื่องมาจากการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอล […]

ทำความเข้าใจ ความเศร้าเสียใจ-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง

“โรคซึมเศร้า” พบได้ทั่วไป จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคจิตเภทและปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ร้อยละ 3.2 และโรค dysthymia ร้อยละ 1.18 แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้เสียชีวิตโดยตรง ยกเว้นผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าก็เกิดความพิการได้ และเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 4 เมื่อวัดจากการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) และในปี ค.ศ. 2020 คาดว่าจะเลื่อนขึ้นเป็นอันดับ 2 ผู้ที่เข้ารับการรักษาในเวชปฏิบัติทั่วไปจำนวนไม่น้อยมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมกับโรคทางกายและโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล จึงมีบทบาทมากขึ้นในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาซึมเศร้า และจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อวินิจฉัยแยกโรค รวมถึงรักษาได้อย่างถูกต้อง ความหมายเกี่ยวกับอารมณ์ที่ควรทราบ – Emotion คือ ความรู้สึกที่มีความซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรม – Mood คือ ส่วนของ Emotion ซึ่งเป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในและคงอยู่นาน ถ้ามีความผิดปกติรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทุกด้าน รวมทั้งการรับรู้โรคภายนอก – Affect หมายถึง ลักษณะอารมณ์ที่แสดงให้เห็นภายนอก บอกถึงระดับความรู้สึกภายในและบอกสภาวะอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ โดยที่ผู้อื่นสามารถสังเกตและประเมินได้ ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางสีหน้า […]

ลองโควิด (Long COVID) คืออะไร? แล้วส่งผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 ยังไง

ภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) คือ อาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 4 สัปดาห์ เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการเลยก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนก็ประสบกับภาวะหลังโควิด-19 ด้วยอาการที่ต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนนับจากการติดเชื้อครั้งแรก บางกรณีอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ รวมไปถึงอาการเดิมที่กลับกำเริบขึ้นมาอีกภายหลัง ภาวะหลังโควิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการเลยก็ตาม Long COVID คืออะไร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เรียกอาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 4 สัปดาห์ว่าภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) โดยประกาศให้เป็นความทุพพลภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภายใต้พระราชบัญญัติผู้ทุพพลภาพชาวอเมริกัน (ADA) เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ป่วยลองโควิด พบว่ามีความผิดปกติทางสรีรวิทยาและระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบไหลเวียนโลหิต สำหรับความบกพร่องทางจิตนั้น รวมไปถึงความเครียด สะเทือนใจ และความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ อาการลองโควิด […]

PTSD โรคเครียดหลังเจอภยันตราย โรคที่ “มีล่า” เผชิญ หลังโดนน้องชายแท้ๆ ทำร้าย

รู้จัก PTSD โรคเครียดหลังเจอภยันตราย โรคที่ “มีล่า” เผชิญ หลังโดนน้องชายแท้ๆ ทำร้าย สำหรับประเด็นร้อนที่กำลังเป็นที่สนใจของโซเชี่ยลล่าสุด กรณี “มีล่า จามิล่า พันธ์พินิจ” อดีตนักร้องสาวสังกัด กามิกาเซ่ ออกมาเผยเรื่องราว 2 ปีก่อน ที่โดยน้องชายแท้ๆ ของเธอ ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส บาดแผลฉกรรจ์ เป็นผลทำให้หลังเหตุการณ์ดังกล่าว มีล่า ป่วยอาการเป็นโรค PTSD  หวาดระแวง ไม่สามารถกลับไปอยู่ที่บ้านของตัวเองได้  ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจออกมาแฉเรื่องนี้ มีล่า บอกว่า เพราะอึดอัดใจ รวมถึงที่ผ่านมาครอบครัวปกปิดทุกอย่างที่เกี่ยวกับน้องชาย ทำให้เธอใช้ชีวิตด้วยความหวาดผวา ทำความรู้จัก โรคเครียดภายหลังภยันตราย หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เช่น ภัยพิบัติ การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม เป็นต้น ซึ่งคนที่ต้องเผชิญอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ รอดชีวิตมาได้ หรือว่าเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมากจนทุกข์ทรมาน ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา อาการผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็นภาวะ PTSD ระยะที่หนึ่ง (1 […]

แชร์วิธี ป้องกันผมร่วง มากกว่าปกติ จนแอบคิดว่าเป็นโรคอะไรหรือเปล่า

การดูแลผมให้สลวย สุขภาพดี โดยทั่วไปสามารถทำได้ไม่ยากเพื่อ ป้องกันผมร่วง เพียงหลีกเลี่ยงจากอาการเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลข้างเคียง งดเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และบุหรี่ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และความร้อนกับเส้นผม และดูแลเรื่องของโภชนาการให้ดี แค่นี้ก็ช่วยได้มากแล้ว แต่สำหรับหลายๆ คน ที่มีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ อาจจะมีสาเหตุที่แตกต่างออกไป และต้องการการดูแลที่มากกว่าการดูแลทั่วๆ ไป เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่าสาเหตุที่มาของอาการผมร่วงนั้นมาจากปัจจัยใดบ้าง จะได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ถูกค่ะ เพราะผมสวยๆ ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ ต้องคอยดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน ให้แสงแดด ต้นไม้จึงจะเจริญเติบโตดี นอกจากหลีกหนีสาเหตุผมร่วงให้ไกลแล้ว เรามีเทคนิคง่ายๆ สำหรับการดูแลผมที่เราสามารถทำได้ในทุกๆ วันกันค่ะ เป็นการดูแลจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก เคล็ดไม่ลับ ป้องกันผมร่วง มากกว่าปกติ จนแอบคิดว่าเป็นโรคอะไรหรือเปล่า 1) ปัจจัยภายใน ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถ้าดูอาหารที่ทานเป็นประจำแล้วไม่ครบถ้วน อาจทานวิตามินเสริมที่ช่วยในการบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมได้ นอกจากนั้นแล้ว การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด ทำจิตใจให้สบาย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เส้นผมก็จะเจริญเติบโตได้เป็นปกติ 2) ปัจจัยภายนอก สิ่งที่จะต้องมาสัมผัสทั้งหนังศีรษะและเส้นผมของเราเกือบทุกวัน […]

ตระหนักแต่ไม่ตระหนก! 2 ข้อควรรู้สู้ทั้ง ฝุ่นพิษ และ Covid-19 แบบจิตไม่ตก

ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร บางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ก็มีค่าฝุ่นสูงสุดถึง 87 – 153 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บวกรวมกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงวางใจไม่ได้ สุขภาพจิตและสุขภาพกายคือ 2 สิ่งที่รับผลกระทบสะสมตลอดมาและอาจเกิดปัญหา ถ้าไม่ได้ดูแลอย่างใส่ใจ ตระหนักแต่ไม่ตระหนก! 2 ข้อควรรู้สู้ทั้ง ฝุ่นพิษ และ Covid-19 แบบจิตไม่ตก ยิ่งไปกว่านั้นหากเราต้องเผชิญกับฝุ่นมากเข้าๆ เจ้าละอองเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายทางปอดทะลุไปยังหลอดเลือดและเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทและสมองได้ ในประเด็นผลกระทบของ PM 2.5 และ COVID-19 ต่อทั้งสุขภาพกายและใจนี้ นายแพทย์สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน มีมุมมองที่น่าสนใจในประเด็นดังกล่าว 2 ข้อหลักๆ รู้แล้วจะได้หาทางรับมือและอยู่ได้อย่างมีสติ ฝุ่นและไวรัสความเหมือนที่แตกต่าง “มองง่ายๆ ว่า ฝุ่นกับไวรัสมีส่วนที่คล้ายกันคือเป็นอนุภาคขนาดเล็กๆ ที่เรามองไม่เห็น ลอยอยู่ในอากาศ เพียงแต่ฝุ่นไม่มีชีวิต ไวรัสมีชีวิต เราก็เลยกลัวมันมากกว่า แต่วิธีป้องกันก็เหมือนกันเลยคือ อย่าสูดดมมันเข้าไป อย่าให้มันเกาะกับตัวเรา ต้องใส่หน้ากาก อย่าจับใบหน้า อย่าขยี้ตาเพราะไวรัสมันติดต่อจากสารคัดหลั่งได้ […]

กินไว้! ถ้าไม่อยากพึ่งยาเคมี รักษาไมเกรน ตลอดชีวิต แถมได้สุขภาพและหุ่นที่ดีด้วย

รู้ไว้ก่อนว่าการรักษาไมเกรน เป็นวิธีที่ควรกระทำเมื่อเริ่มรู้สึกตัว แต่อาจจะยังมีคนที่รักษาไมเกรนแบบผิดๆ อยู่ อาการไมเกรน รุนแรงกว่าที่คิดข่าวมีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ไหนจะอุทาหรณ์จากการซื้อยากินเอง ข่าวเรียกคืนยาไมเกรนที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย คุ้มไหม? ที่ต้องเอาชีวิตตัวเองมาเสี่ยงกับการกินยาไปตลอด ลองเปลี่ยนวิถีการกิน มาเลือกกินสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพื่อช่วยลด อาการไมเกรน ที่แสนทรมานกันดีกว่า ใครที่ไม่อยากพึ่งยาเคมีเพื่อ รักษาไมเกรน ตลอดชีวิต ลองกินอาหารสุขภาพเพื่อช่วยบำบัดไมเกรนดูสิ   แมกนีเซียมที่จำเป็น มีการวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนมักมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ซึ่งอาจทำให้สมองมีความไวเป็นพิเศษต่อการเกิดไมเกรน การเสริมแมกนีเซียมจึงช่วยป้องกันไมเกรนได้ อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงอย่างในผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักเคล เคลไดโนเสาร์ ผักโขม ปวยเล้ง บรอกโคลี และยังมีในอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง งา ควินัว อะโวคาโด ตลอดจนปลาทูและปลาทูน่า กินปลาแล้วดี นอกจากเป็นอาหารที่ย่อยง่ายแล้ว แหล่งอาหารธรรมชาติชนิดนี้ยังมีประโยชน์ดีๆ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกที่มีน้ำมันปลาหรือกรดโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ที่ช่วยทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น บำรุงระบบประสาท ส่งผลให้ความถี่และความรุนแรงของไมเกรนน้อยลง ธาตุเหล็กก็สำคัญ หนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหัวบ่อยๆ อาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก จึงต้องเสริมด้วยอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นปลา […]

แก่แบบสุขภาพดี! 4 เคล็ดลับ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแกร่งแม้อายุเริ่มมากขึ้น

นิยาม “การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี” (Healthy Aging) ของแต่ละคนอาจมีความหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการที่สติปัญญายังเฉียบแหลม สมองได้ฝึกคิดตลอดเวลา มีสุขภาพร่างกายที่ยังฟิตและแข็งแรง หรือสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระแม้อายุมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นคำตอบไหน เรื่องการสูงวัยก็ถือเป็นปัญหาความกังวลของใครหลายคน ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม ซึ่งผลสำรวจการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2563 พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสูงวัย แต่มีเพียง 3 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาจะก้าวสู่การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้ เมื่อถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความกังวลใจเรื่องการสูงวัย ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (ร้อยละ 42) กล่าวว่าความกลัวว่าจะต้องเจ็บป่วยเพราะภูมิคุ้มกันต่ำเมื่ออายุมากขึ้นเป็นปัญหาความกังวลอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยกลัวว่าจะพึ่งพาตัวเองได้น้อยลงเมื่อร่างกายอ่อนแอลง (ร้อยละ 20) และกังวลว่ารูปร่างหน้าตาจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออายุมากขึ้น (ร้อยละ 19) ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เราต้องให้ความสำคัญกับการ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแรง เพื่อช่วยร่างกายต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้น การเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงจึงยิ่งสำคัญมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อเราอายุมากขึ้น เคยสังเกตไหมว่าเรามักจะล้มป่วยบ่อยขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น และร่างกายของเราต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย สิ่งนี้เป็นผลจากกระบวนการทางธรรมชาติที่เรียกว่าภาวะ Immunosenescence ซึ่งส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเราเสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับไวรัสและการติดเชื้อได้น้อยลง และจำนวนเม็ดเลือดขาวของเราก็ลดลง ทำให้ร่างกายรักษาโรคได้ช้าลงเมื่อเราบาดเจ็บหรือเป็นหวัด ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อเราอายุมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ […]

กรดไหลย้อน ภัยจากความอ้วนและเครียด ปล่อยเรื้อรังอันตรายถึงเสียชีวิตได้!

โรค กรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกหรือมีการเรอเปรี้ยว ตลอดจนอาการไอหรืออาการเจ็บหน้าอกในบางราย ซึ่งพบได้ทุกเพศทุกวัย รวมถึงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา กรณีอาการไม่รุนแรงหรือไม่กำเริบบ่อย กรดไหลย้อน อาจเพียงสร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากถูกละเลยจนกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารส่วนปลาย (Barrett’s esophagus) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารในที่สุด กรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งหูรูดของหลอดอาหารเริ่มเสื่อมสภาพ น้ำย่อยและอาหารในกระเพาะจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งมักถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการรับประทานยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ส่งผลให้หลอดอาหารบีบตัวไล่น้ำย่อยที่ย้อนขึ้นมาได้น้อยลง ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานขึ้น กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จนไม่สามารถนำอาหารที่ย่อยแล้วลงสู่ลำไส้ได้หมด อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารจนไปดันให้หูรูดเปิดออก อาหารและน้ำย่อยจึงย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ บุหรี่ การสูบบุหรี่ส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น รวมถึงกระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงทำให้น้ำย่อยและอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ความเครียด ยังส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป จนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด ส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว โดยเฉพาะอาหารไขมันสูง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และเปปเปอร์มินต์ การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ส้ม  มะนาว รวมถึงอาหารรสจัด ทำให้หูรูดเกิดการระคายเคืองได้ การรับประทานยาบางชนิด อาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยผลข้างเคียงของยาจะส่งผลแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหยุดยาหรือซื้อยามารับประทานเอง ความอ้วน […]

10 วิธีดูแลและเติมพลังใจให้ห่างจากภาวะ เสพข่าวมากเกินไป

เปิดวิธีดูแลและเติมพลังใจให้ห่างจากภาวะ เสพข่าวมากเกินไป เนื่องจากวันที่ 16 ต.ค.63 ที่ผ่านมา เป็นวันฉลองสุขภาพจิตโลกประจำปี 2563 ดร. เคนท์ แบรดลีย์ ประธานที่ปรึกษาด้านสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการฝึกระเบียบวินัยให้ตัวเอง และสร้างสมดุลจากภายในเพื่อช่วยให้จิตใจสงบนิ่ง หนักแน่นมั่นคง และพร้อมรับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะปีนี้ที่เราต้องเผชิญกับหลากหลายปัญหาความท้าทาย หลายคนต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อช่วยให้ผู้คนหมั่นดูแลจิตใจให้แจ่มใสแข็งแรงอยู่เสมอแม้ในสถานการณ์เช่นนี้ ·       เลิกเสพข้อมูลข่าวสารแบบไม่มีหยุดพัก การเสพข้อมูลข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมงอาจทำให้สมองล้าและเกิดความวิตกกังวลได้ ลองจัดเวลาพักเบรคจากการรับชม อ่าน หรือฟังข่าวในแต่ละวันให้เป็นประจำ ·       คิดไว้ว่าข้อมูลไม่ตายตัวเสมอไป ในช่วงเวลาหนึ่งเราอาจรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นเพียงด้านเดียว แต่เรามักเข้าใจและสรุปแค่เพียงจากชุดข้อมูลที่เราเสพ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป เราอาจจะไม่สามารถใช้ข้อสรุปเดิมได้อีกแล้ว ·       ฝึกสมาธิสงบจิตใจ เรามักพูดถึงการทำสมาธิอยู่บ่อยๆ แต่น้อยคนนักที่จะลงมือปฏิบัติจริง ลองฝึกสมาธิและจำคีย์เวิร์ด “6R” ไว้ในใจ ได้แก่ พักผ่อน (Rest) ทำใจผ่อนคลาย (Relaxation) หากิจกรรมสนุก ๆ (Recreation) สร้างความสัมพันธ์ที่ดี […]

นอนไม่หลับ น้ำหนักขึ้นเก่ง! เพราะเครียดเกินไปหรือเปล่า ลอง 8 วิธีลดระดับความเครียดกัน

นอนไม่หลับ น้ำหนักขึ้นเก่ง! เพราะเครียดเกินไปหรือเปล่า ลอง 8 วิธีลดระดับความเครียดกัน ในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ระบาดตอนนี้ หลายคนคงต้องกักตัวอยู่บ้าน ทั้งยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ช่วงเวลาแบบนี้ การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารน่ากังวลใจมากมายที่ทำให้รู้สึกเครียด เหนื่อยล้าทั้งจิตใจและร่างกาย องค์กรและบริษัทต่า ๆ ยังออกนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ก็ยิ่งทำให้ระดับความเครียดของเราเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่ได้พบปะผู้คนในสังคมเหมือนเดิม เวลานี้จึงเป็นเวลาสำคัญที่เราต้องใส่ใจสุขภาพจิตใจของเราเป็นอันดับแรก การรู้ว่าตัวเองกำลังเครียดและรู้วิธีจัดการกับมันสำคัญมาก เพราะหากปล่อยให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ย่อมจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ ความเครียดยังสร้างผลเสียต่อสุขภาพกายและใจด้วย  เรากำหนดความรู้สึกในใจตัวเองได้ มนุษย์มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นสัตว์สังคมที่มีครอบครัว เพื่อนฝูง รวมถึงกลุ่มคนที่ชอบและสนใจในสิ่งคล้ายๆ กัน ซึ่งช่วยให้เรารับมือกับปัญหาความเครียดต่างๆ ในชีวิตและดูแลจิตใจตัวเองได้ แม้ว่าปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างใกล้ชิด เราก็ยังโหยหาการมีปฏิสัมพันธ์แบบมนุษย์กับมนุษย์ เช่นการสัมผัสหรือการพบเจอหน้ากัน เพราะทำให้ใจรู้สึกดีและผ่อนคลาย ทุกวันนี้ เรากักตัวเองอยู่ในบ้าน พยายามเข้าใจและทำตามข้อมูลคำแนะนำมากมายของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราหลายคนจะเกิดความเครียด หดหู่ รวมถึงเกิดปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ ตามมา แม้ว่าการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ทันจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเฝ้าหน้าจอดูหรือฟังข่าวตลอดทั้งวันก็อาจทำให้เราเกิดความกลัวและเครียดได้ อย่างไรก็ดี วันนี้เรามีวิธีการจัดการความเครียดดีๆ มาแนะนำที่จะช่วยให้คุณและคนรอบตัวคุณดูแลจิตใจตัวเองได้ดีขึ้นและคลายความกังวลท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เราแต่ละคนมีวิธีรับมือกับความเครียดที่ต่างกัน ดังนั้น จึงต้องจำไว้ว่าวิธีที่ได้ผลกับคนหนึ่งอาจจะไม่ได้ผลกับอีกคนก็ได้ ลองทำตาม 8 ข้อควรรู้ดูแลใจโดย ดร. […]

keyboard_arrow_up