ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ความผันผวนของบ้านเมืองและชีวิต (ตอนที่ 8)

หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ความผันผวนของบ้านเมืองและชีวิต (ตอนที่ 8) หม่อมเจ้าการวิก ทรงศึกษาในฝรั่งเศสได้ไม่นาน ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย นั่นคือ คณะราษฎร ได้ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475  ทำให้ท่านต้องทรงสูญเสียบุคคลที่ทรงรักไปอย่างไม่ทันคาดคิด… เรื่องการเรียนนั้น ในฐานะที่เป็นเด็กนักเรียนต่างชาติแล้วต้องมาเริ่มเรียนภาษาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ลำบากอยู่บ้าง แต่ความที่ยังเด็ก ภาษาจึงเข้าหัวเร็ว และเรียนได้ดี เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหมายกำหนดการเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาเมื่อพ.ศ.2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พี่คัสตาวัสเสด็จมาพาผมไปเข้าเฝ้าฯและตามเสด็จด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่ผมปิดเรียนพอดี เพื่อเป็นการพระราชทานรางวัล โดยลงเรือหรูข้ามมหาสมุทรสี่วันสี่คืน ไปขึ้นฝั่งที่นิวยอร์ก และตามเสด็จอยู่เกือบเดือน เมื่อจะเสด็จฯเข้าประเทศแคนาดา ผมถึงกลับมาฝรั่งเศส เพราะโรงเรียนเปิดเรียน จนในที่สุด ผมก็เป็นเด็กเรียนเก่งสอบได้ที่ 1 อีกครั้ง ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนได้รางวัลยอดเยี่ยมด้วย พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งว่า จะเอารางวัลอะไรให้เขียนจดหมายกราบบังคมทูลมา ผมจึงเขียนจดหมายกราบทูลขอพระราชทานเครื่องฉายภาพยนตร์ที่มีเสียงด้วย เป็นภาพยนตร์ 8 มิลลิเมตร ซึ่งตอนนั้นมีเพียงฝรั่งเศสที่สามารถผลิตได้ ยี่ห้อปาเต๊ะตราไก่ พระองค์ท่านก็มีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาว่าดี จะได้ดูกันทั้งครอบครัว และอาจจะได้ดูเรื่องสารคดีที่เป็นประโยชน์ด้วย แต่ผมไม่ได้รับเพราะราชเลขาฯไม่ได้จัดการให้ ส่วนภาษาไทยนั้นผมก็ไม่ลืม เพราะต้องเขียนจดหมายกลับมากราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวและส่งถึงเสด็จพ่อสัปดาห์ละ 2 ฉบับอยู่เป็นประจำ โดยเขียนในทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งโรงเรียนกำหนดให้เป็นวันหยุดกลางสัปดาห์ กับวันอาทิตย์ที่โรงเรียนหยุดเรียนตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่จะไม่ทำงาน […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เด็กนักเรียนฝรั่งเศส (ตอนที่ 7)

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เด็กนักเรียนฝรั่งเศส  ใต้ร่มฉัตร ดำเนินมาถึงตอนที่7 หลังจากรอนแรมในการเดินทางด้วยเรือโดยสารข้ามทวีปมานาน ในที่สุด หม่อมเจ้าการวิก ก็เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศส อันเป็นสถานที่ที่จะทรงใช้ชีวิตในการศึกษาเป็นขั้นลำดับต่อไปของชีวิต เรือใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือน จึงถึงท่าเมืองมาร์เซลย์ (MARSEILLE) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2472 วินาทีแรกที่เห็นเมืองนี้ก็รู้สึกผิดหวัง เพราะมีเรือใหญ่ๆ เก่าๆ โทรมๆ และมีฝรั่งเป็นกุลีขนถ่านแบกมาเหงื่อไหลมีผงถ่านดำๆติดมอมแมม ที่ตกใจที่สุดคือ เห็นม้าลากรถบรรทุกของหนักๆ ตัวใหญ่เท่าช้าง ภาพเมืองนอกที่เห็นไม่เหมือนในหนังฝรั่งที่มีทิวทัศน์สวยงามชวนฝัน อย่างที่เคยดูที่เมืองไทยเลย…แล้วคณะของเราก็จำต้องแยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตัวเอง หม่อมเจ้าดำรัสดำรงพร้อมคณะของท่านเสด็จประทับแรมที่โรงแรมคืนหนึ่ง แล้วจึงเสด็จต่อยังอังกฤษโดยทางรถไฟ ส่วนคุณเฉลิม คุณอั๋น และคุณพื้นทอง ต่างก็แยกกันไป สำหรับผมอยู่ที่เมืองมาร์เซลย์ โดยทางครอบครัวเดอลาโฟรี (DE LAFAURIE) ซึ่งผมต้องมาอยู่ด้วยให้เกียรติมาก ขับรถเรโนลท์ขนาด 8 สูบ คันใหญ่เบ้อเริ่มมารับถึงที่ท่าเรือ ซึ่งสมัยนั้นรถเรโนลท์ของฝรั่งเศสมีความใหญ่และโก้เหมือนเป็นรถเบนซ์ในสมัยนี้ ไปที่ไหนคนเห็นก็รู้ว่าเศรษฐีมาแล้ว การที่ผมต้องมาอยู่กับครอบครัวซึ่งมีเชื้อสายขุนนางเก่านี้ เพราะว่าเป็นญาติกับพันเอก เดอลาโปมาแรด์ ทูตทหารที่มากราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ส่งนักเรียนไทยมานั่นเอง ครอบครัวเดอลาโฟรีมีทั้งหมด 6 คน […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เตรียมตัวไปเรียนเมืองนอก (ตอนที่ 6)

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เตรียมตัวไปเรียนเมืองนอก (ตอนที่ 6) ใต้ร่มฉัตรดำเนินมาถึงตอนที่หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ทรงเดินทางไปเรียนต่อที่เมืองนอก เพื่อให้ได้ชื่อว่าไปเห็นความเป็นอารยะของบ้านเมืองอื่น ซึ่งการไปเรียนต่างประเทศของเด็กนักเรียนไทยในยุคก่อนนั้น อาจจะเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อม แต่หม่อมเจ้าการวิกก็ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณนั้น อย่างที่ท่านเองก็ไม่คาดฝัน… ความใฝ่ฝันอย่างหนึ่งของเด็กนักเรียนสมัยก่อนคือ การเดินทางไปเรียนต่อที่เมืองนอก เพื่อให้ได้ชื่อว่าไปเห็นความเป็นอารยะของบ้านเมืองอื่น ซึ่งโอกาสเช่นนี้มิใช่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ จะต้องพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ ถ้าใครได้ไปก็เหมือนกับถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ ตัวผมก็ไม่เคยคิดว่าจะได้รับโอกาสดีเช่นนี้ แม้ว่าการเดินทางไปนั้น ผมรู้สึกกลัวที่จะต้องพบกับสิ่งแปลกใหม่และสภาพสังคมชีวิตที่แตกต่างจากเดิมอยู่บ้าง แต่ความรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่จะได้พบเห็นนั้นมีมากกว่า การเดินทางจากเมืองไทยครั้งแรกของผมนั้น ผมไม่คิดเลยว่าจะต้องจากไปนานถึงกว่า 10 ปี และในช่วงเวลานั้นเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมืองได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย อันส่งผลต่อชีวิตของผมให้แปรเปลี่ยนไปจากที่เคยคิดหวังไว้ เหตุที่ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ไปเรียนต่อที่ต่างประเทศนั้น เป็นเพราะว่าท่านทูตทหารชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่ง ชื่อพันเอกโรแบรต์ เดอ ลาโปมาแรด์ (COLONEL ROBERT DE LAPOMAREDE) ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีสวนสนามเมื่อราว พ.ศ.2472 และได้กราบบังคมทูลว่าขณะนี้ไม่มีนักเรียนไทยไปเป็นนักเรียนนายร้อยฝรั่งเศสเหมือนแต่ก่อน พระองค์ท่านจึงรับสั่งว่า แล้วจะหาให้ไปสักคนหนึ่ง เดิมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจะให้เป็นอีกคนหนึ่ง แต่ติดตรงที่ว่าคนนั้นมีอายุมากไป ทรงเกรงว่าไปแล้วจะทำให้ต้องเรียนช้ากว่าอายุ จึงโปรดเกล้าฯเปลี่ยนมาเป็นผมแทน ซึ่งในความคิดของผมตอนนั้นอยากจะไปอังกฤษมากกว่า โดยเฉพาะอยากไปเรียนที่สกอตแลนด์ เพราะชอบเครื่องแบบของทหารชาวสกอตที่นุ่งกระโปรงแต่รบเก่ง เมื่อไม่ได้ไปผมก็ไม่เสียใจ ไปฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นโอกาสพิเศษที่สุดแล้ว หลังจากนั้นก็โปรดเกล้าฯให้พระยาบรมบาทย์บำรุงมาสอนภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนราชกุมาร […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นักเรียนวชิราวุธคนเก่ง (ตอนที่5)

ใต้ร่มฉัตร ตอนที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง ‘นักเรียนวชิราวุธคนเก่ง’ ใต้ร่มฉัตร ดำเนินมาถึงตอนที่ชีวิตของหม่อมเจ้าการวิกได้เป็นมหาดเล็กเด็กในวัง แต่ความที่ทรงซุกซนจนก่อเรื่องให้ต้องทรงถูกลงโทษ โดยการย้ายออกมาเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนวชิราวุธ การเรียนที่โรงเรียนวชิราวุธฯ นั้น เป็นโรงเรียนประจำกินนอน ผมได้กลับเข้ามาในวังแค่ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไม่รู้สึกขมขื่นแต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกขาดทุนเล็กน้อยที่อดฟังนิทานพระราชทานจากพระโอษฐ์ ในตอนค่ำของวันธรรมดา ที่โรงเรียนวชิราวุธฯมีระบบในการรับเบี้ยเลี้ยงจากครูใหญ่เป็นรายสัปดาห์ และในแต่ละวันพอสี่โมงเช้าพักเรียนก็ไปกะหรี่ปั๊บหรือขนมอื่นที่มีประโยชน์มากิน สำหรับกิจกรรมแล้วที่นี่ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬามีทีมฟุตบอลหลายรุ่น และมีฝีเท้าที่หนักของผมก็เป็นที่ยอมรับให้เป็นกัปตันทีมรุ่นเด็ก อีกทั้งผมยังเป็นนักมวยอย่างบังเอิญด้วย คือที่โรงเรียนมีกฎห้ามชกต่อยเหมือนเป็นเด็กริมถนน ใครไม่ชอบหน้ากันหรือมีเรื่องโกรธแค้นกัน จะต้องมาหาครูสอนยิมนาสติกขอนวมมาต่อยกันต่อหน้าคนอื่นๆ ในห้องยิมนาสติกนั่นเอง เมื่อเลิกชกกันแล้วต้องจับมือกัน สำหรับผมได้เป็นนักมวยบังเอิญ ไม่ใช่ว่าผมไปมีเรื่องทะเลาะกับใคร แต่เป็นเพราะวันหนึ่งครูบอกว่าจะสอนวิธีการชกมวยให้รู้ไว้เพื่อป้องกันถูกรังแก  ครูมีลูกศิษย์คนหนึ่งตัวผอมกะหร่อง หัวโต เขาเดินเข้ามาพร้อมมือสวมนวมเรียบร้อย ครูก็มองหานักเรียนที่อยู่ตรงหน้าที่จะมาเป็นคู่ซ้อม และสายตาครูก็มาหยุดที่ผม พร้อมบอกว่า “รูปร่างท่าทางใหญ่ แข็งแรงดี คงจะได้” แล้วสั่งให้คนนำนวมมา ความเป็นเด็กบ้านนอกไม่เคยเห็นนวมมาก่อน เห็นไกลๆนึกว่า ลูกมะพร้าว เขาก็เอานวมมาใส่ให้ ครูก้บอกว่าต่อยกันเสร็จแล้ว ห้ามถือโทษโกรธกัน เพราะนี่เป็นกีฬา แต่ผมเคยเห็นแต่เด็กวัด เขาชกกันเหมือนควายขวิด ซึ่งผมคิดว่าเป็นแบบฉบับที่สมบูรณ์ พอครูบอกเริ่ม เขาก็ก้มหน้าก้มตาเข้ามาต่อยตุ้บๆๆๆ  ผมพยายามหลบ แต่แล้วก็เห็นหนังลูกกลมๆลอยมาที่กกหู ตุ้บ! เสียงในหูดังวี้ดๆๆๆ แล้วเขาก็เต้นโยกตัวหาไม่เจอเลย […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เด็กนักเรียนในวัง (ตอนที่ 4)

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เด็กนักเรียนในวัง (ตอนที่ 4) ใต้ร่มฉัตร ดำเนินมาถึงชีวิตของความเป็นมหาดเล็กเด็กในวัง  ล้วนมีระเบียบแบบแผน หม่อมเจ้าการวิกทรงได้เรียนรู้สิ่งต่างๆทั้งด้านวิชาการความรู้ และวิถีชีวิตในวังช่วงรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 7 เด็กนักเรียนในวัง (ตอนที่ 4) กิจวัตรของเด็กนักเรียนโรงเรียนราชกุมาร คือ ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เมื่อตื่นนอนลุกขึ้นออกจากห้องที่โปรดเกล้าฯให้อยู่ห้องละ 2-3 เตียงในองค์พระที่นั่งอัมพรฯ ด้านที่อยู่ใกล้ๆกับศาลาที่ทรงกีฬา แล้วต้องเปลี่ยนเป็นนุ่งกางเกงขาสั้น สวมเสื้อไปที่โรงเรียนเพื่อออกกำลังกาย โดยมีครูจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก รู้สึกว่าจะเป็นหม่อมหลวงพุด สนิทวงศ์ ซึ่งมีหนวดเฟิ้มเหมือนทหารเยอรมัน เป็นคนนำวิ่งและกระโดดโลดเต้นราวชั่วโมงหนึ่ง  แล้วกลับมาอาบน้ำ  รับประทานอาหารเช้า เสร็จแล้วไปโรงเรียน   หลักสูตรที่เรียนก็เหมือนโรงเรียนทั่วไป  เช่น วิทยาศาสตร์มีหลวงพรตพิทยพยัต จากจุฬาลงกรณ์ฯ มาสอน  ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสมีพระยาบรมบาทย์บำรุง อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวชิราวุธฯ เป็นผู้สอน และพระธรรมนิเทศ สอนวิชาพุทธศาสนาและศีลธรรม ซึ่งพวกเรามักจะหลับเสมอ พอตกบ่ายราว 4 โมง ก็เปลี่ยนเป็นสวมเสื้อโปโล นุ่งกางเกงขาสั้นแบบฝรั่ง ใส่ถุงเท้ารองเท้าตามเสด็จไปทรงเทนนิส หรือกอล์ฟ ซึ่งเครื่องแต่งกายนี้มีผู้ใหญ่คอยจัดให้ตามที่มีรับสั่งมา ตอนค่ำก็จะไปรอที่หน้าห้องพระบรรทม โดยมีหม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์ (พระธิดาในสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนฯ) […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ จากวัดถึงวัง (ตอนที่3)

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ จากวัดถึงวัง (ตอนที่3) ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์…ครั้นขึ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 7 พระชะตาชีวิตของหม่อมเจ้าการวิก ก็เปลี่ยนผันไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นท่านใต้แสงจันทร์… 3.จากวัดถึงวัง จากชีวิตเด็กบ้านนอกเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัด มีความเป็นอยู่เรียบง่ายสนุกสนาน ซุกซนตามวัย  ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เข้ามาอยู่ภายใต้ความยิ่งใหญ่โอฬารในขอบเขตพระราชวังดุสิต กรอบวิถีชีวิตที่มีกฎเกณฑ์ทำให้ผมต้องเรียนรู้ และปรับตัวค่อนข้างมาก แต่ความที่ยังเด็ก และมีพื้นฐานความแก่น จึงมีเรื่องราวต่างๆที่ผมจดจำได้หลายเรื่อง ผมได้เข้ามาอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต ในราวพ.ศ.2469  เนื่องจากมีอยู่ช่วงหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯแปรพระราชฐานไปพระราชวังบางปะอิน  และคืนหนึ่งเป็นคืนที่มีแสงจันทร์ทอแสงนวลพอกระจ่างตา  ทั้งสองพระองค์ทรงพายเรือเพื่อเก็บกระจับที่ขึ้นอยู่ริมน้ำแถวตำหนักท้ายเกาะ  เป็นการพักผ่อนพระอิริยาบถ เสด็จพ่อรับสั่งให้ผมลงเรือ เพื่อเฝ้าฯรับเสด็จด้วย โดยที่ผมเป็นคนนั่งพายที่หัวเรือ ครั้นพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นผมภายใต้แสงจันทร์ พระองค์ท่านก็มีรับสั่งกับเสด็จพ่อว่า “เด็กคนนี้น่าเอ็นดูดี เอามาให้ฉันเลี้ยงเถอะ” นั่นคือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมเข้ามาอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต เสด็จพ่อทรงได้ยินก็ปลื้มพระทัยนัก กราบบังคมทูลถวายผมทันที ทรงเกรงว่า หากทอดพระเนตรผมตอนกลางวันเข้า อาจจะเปลี่ยนพระราชหฤทัยก็ได้ แต่ในใจผมตอนนั้น กลับรู้สึกกลัวเกรงบ้าง เพราะความที่ปลูกฝังกันมาว่า พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนเทวดาที่สามารถดลบันดาลหรือลงโทษใครก็ได้  ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่า เหตุใดความคิดเช่นนี้ถึงได้เป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือสืบต่อกันมา […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ในวัยเยาว์ (ตอนที่ 2)

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ในวัยเยาว์ที่อยุธยา ทรงเป็นเด็กที่มีความซุกซน แก่นแก้ว ใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ จนถึงวันที่สิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 6 พระชะตาชีวิตของท่านก็เริ่มเปลี่ยนไป… 2. วัยเด็กจอมซน ตอนเด็กๆ ผมเป็นลูกที่อยู่ใกล้ชิดเสด็จพ่อมากที่สุด ด้วยความที่เป็นเด็กดื้อ ซน และชอบแกล้งผู้อื่น อย่างร้ายถึงกับเคยถูกพี่เปาเหวี่ยงลงจากนอกชาน เพราะไปด่าท่านเข้า เสด็จพ่อจึงทรงเอาไว้ใกล้ตัว ต่างกับเจ้าพี่องค์อื่นๆ ที่ทรงส่งเข้าวังมาอยู่ในพระอุปการะของเจ้าพี่ดวงแก้ว ซึ่งทรงทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดการในเรื่องต่างๆ แทนเสด็จพ่อ หรือไม่ก็ถวายให้บรรดาพระญาติผู้ใหญ่ตามวังต่างๆ ช่วยอบรมเลี้ยงดู หากเป็นชายก็จะถวายเป็นมหาดเล็ก หากเป็นหญิงก็ให้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย เรียนรู้เรื่องการบ้านการเรือน ซึ่งเป็นธรรมเนียมหนึ่งของบรรดาเจ้านายในสมัยนั้นนิยมปฏิบัติ ตอนนั้นผมยังป่าเถื่อน จึงยังไม่ทรงกล้าส่งไปไหน แต่แล้วเสด็จพ่อกับแม่ก็ยังเอาผมไว้ไม่ไหว ต้องมอบให้ยาย ซึ่งเป็นคนธรรมะธัมโมมาก คอยเลี้ยงดูผมเวลากินกับนอน ผมจึงผูกอยู่กับยาย ทุกคืนก่อนนอนยายจะสวดมนต์บทต่างๆ ยาวมากจนผมฟังเพลินหลับไป และผมก็จำบทสวดมนต์ต่างๆ ได้มาตลอด กระทั่งบางคนบอกว่าผมเหมือนคนเคยบวชเรียนมา ทั้งที่ผมไม่เคยบวชเรียนมา ทั้งที่ผมไม่เคยบวชเลย แล้วยายก็เป็นคนทำให้ผมกลายเป็นเด็กท่าจะดีกับคนอื่นเขาขึ้นมาได้ การที่ผมเป็นเด็กดื้อ ไม่ได้หมายความว่าเก่งกล้าอะไร กลับเป็นเด็กที่ขี้ขลาด กลัวกระทั่งกล้องถ่ายรูป ซึ่งสมัยก่อนเป็นกล้องใหญ่ๆ ตั้งบนขาหยั่ง ดูเหมือนสัตว์โบราณ และต้องใช้เวลานานในการถ่าย พอเขาเอาผ้าคลุมกล้องจะถ่ายทีไร ผมก็ร้องจ๊ากวิ่งหนี […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ ‘หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์’ อดีตราชเลขานุการของรัชกาลที่ 7

ใต้ร่มฉัตร (ตอนที่ 1) ใต้ร่มฉัตร เป็นเรื่องราวชีวประวัติของหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ อดีตราชเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเรียบเรียงโดยนรุตม์ และจัดพิมพ์เป็นเล่มโดยแพรวสำนักพิมพ์ เมื่อหลายปีก่อน สร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านมาแล้ว   ในช่วงปฐมบทของพระชนม์ชีพ ทรงเป็นเด็กที่มีชีวิตชีวา เมื่อทรงเติบโตเป็นหนุ่ม ได้มีโอกาสถวายการรับใช้ล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ในยามประทับที่ต่างประเทศอย่างซื่อสัตย์และจงรักภักดี ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงสมัครเป็นทหารอาสาเสรีไทย สายประเทศอังกฤษ ทรงเข้ารับการฝึกเยี่ยงทหารทั่วไป เพื่อกระโดดร่มเข้ามาปฏิบัติการกู้ชาติในเมืองไทย ครั้นเสร็จภารกิจแล้วก็ทรงใช้ชีวิตด้วยความสงบ เรียบง่าย และงดงาม ตราบจนสิ้นชีพิตักษัย ในโอกาสที่ปีนี้ครบวาระ 100 ปีชาตกาลของท่าน จึงได้ขออนุญาตจากคุณหมึกแดง (หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์) เจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนี้ เชิญพระประวัติมาเรียบเรียงเป็นตอนๆลงที่ praew.com อีกครั้ง เพื่อหวังจะเผยแพร่พระประวัติและพระเกียรติคุณอันงดงามของท่านให้ปรากฏในแพลตฟอร์มแห่งยุคสมัยนี้…สืบไป เรือนไทยที่บางปะอิน ภาพหมู่เรือนไทยหลังใหญ่เล็ก 3 หลัง ณ บริเวณทางใต้ของเกาะบางปะอิน หรือสมัยก่อนโน้นถูกเรียกขานว่าตำหนักท้ายเกาะ หรือตำหนักในกรมยังคงแจ่มชัดในความทรงจำของผม เสียงดนตรีที่บรรเลงบนแคร่ริมน้ำหน้าตำหนักในยามฝึกซ้อมเพื่อเตรียมการในพิธีต่างๆ ยังกังวานไพเราะในโสตสำนึก อันเนื่องจากเสด็จพ่อทรงเป็นนายวงดนตรีและองค์อุปถัมภ์ของเหล่านักเลงดนตรีในย่านนี้ทั้งหมด ผมเกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2460 ที่เรือนไทยหลังใหญ่ […]

keyboard_arrow_up