- Page 106 of 163

เทวดายังรับรู้…รวมภาพมุมสูง จากริ้วขบวน-พระเมรุมาศ ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่9

เทวดายังรับรู้…ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งได้เกิดขึ้นต่อสายตาคนทั่วโลกแล้ว และไม่ว่ามองมุมไหน หรือองศาไหน ก็ล้วนวิจิตรประณีตทุกมุมไร้ที่ติ

พร้อมเพรียงสมพระเกียรติ ทหารของพระราชา เดินริ้วขบวนในพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ

บรรยากาศภาพริ้วขบวนใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ บริเวณรอบมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ตั้งแต่ออกทางประตูเทวาภิรมย์ เดินขบวนไปตามเส้นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จนกระทั่งเข้าสู่พระเมรุมาศน่าจะประจักษ์แก่สายตาคนทุกหมู่เหล่า

ร.อ.จิทัศ ศรสงคราม พระนัดดาในรัชกาลที่ ๙ เป็นผู้อัญเชิญเครื่องทองน้อยในริ้วขบวนที่ 2

วันนี้ 26 ตุลาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม พระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นผู้อัญเชิญเครื่องทองน้อย ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยเป็นริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระบรมศพเคลื่อนจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ไปยังมณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง โดยใช้ถนนสนามไชย ซึ่งในริ้วขบวนที่ 2 นี้ ถือเป็นริ้วขบวนที่มีความสง่างาม และใช้ผู้ร่วมในริ้วขบวนมากที่สุดถึง 3,000 คน เรื่องและภาพ : แพรวดอทคอม

บีบหัวใจไทยทั้งชาติ เคลื่อนขบวนพระบรมราชอิสริยยศสู่พระเมรุมาศ

มองผ่านม่านน้ำตา ริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สู่พระเมรุมาศ 1 ปีผ่านไปแต่ความโศกเศร้าของคนไทยทั้งประเทศไม่จางหาย  จนในที่สุด 26 ต.ค.2560 วันที่แผ่นดินไทยต้องร่ำไห้เมื่อถึงกำหนดวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้เดินทางมารอเพื่อเข้าตรวจคัดกรองร่วมงานพระราชพิธีฯกันข้ามวันข้ามคืน แต่ก็ไม่มีใครหันหลังกลับ เพราะอยากที่จะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประกอบพิธีเป็นไปตามขนบประเพณีโบราณสมพระเกียรติอย่างสูงสุดทุกขั้นตอน โดยการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จตามพระโกศทองใหญ่ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 1 ตอนที่ 5 โดยริ้วขบวนที่ 1เชิญพระโกศทองใหญ่โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผ่านทางประตูเทวาภิรมย์ จากนั้นใช้เส้นทางถนนมหาราช เลี้ยวเข้าสู่ถนนท้ายวัง มุ่งหน้าไปยังถนนสนามไชย เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รวมระยะทาง 817 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยริ้วขบวนที่ 2เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาค จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปทางถนนสนามไชย ยาตราขบวนแห่เชิญพระโกศทองใหญ่ จากถนนสนามไชยเข้าสู่ถนนราชดำเนินใน จากนั้นขบวนพระบรมราชอิสริยยศแห่เชิญพระโกศทองใหญ่เข้าสู่ท้องสนามหลวงรวมระยะทาง 890 เมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง […]

ขัตติยมานะ “สมเด็จพระเทพฯ” และ “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ” เศร้าอย่างไรต้องหักห้าม

ขัตติยมานะ เป็นเช่นไร ปวงชนชาวไทยได้ประจักษ์ชัดอีกครั้งก็คราวนี้ นั่นคือช่วงเช้าวันนี้ 26 ตุลาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ มาในการพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปยังพระเมรุมาศ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชานินัดดามาตุ, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยระหว่างทำพิธีภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง นั้น จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีสีพระพักตร์สงบนิ่ง แม้ข้างในพระทหัยจะทรงโทมนัส แต่ด้วย ขัตติยมานะ  ทำให้ทั้งสองพระองค์ต้องทรงเข้มแข็ง ทว่าภาพที่ปรากฏผ่านจอทีวี ทำให้พสกนิกรได้เห็นว่าพระเนตรของทั้งสองพระองค์ทรงจับจ้องอยู่ที่พระบรมโกศแทบจะตลอดเวลา หลายคนเห็นแล้ว บอกว่ารู้สึกเจ็บร้าวแทนสองพระองค์ท่านเหลือเกิน

สรวงสวรรค์กลางพระนคร สมพระเกียรติ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าเดินทางมามืดฟ้ามัวดิน น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย นับตั้งแต่เมื่อเช้ามืดที่ผ่านมาประชาชนยังหลั่งไหลเข้าไปที่จุดคัดกรองเพื่อที่จะเข้าไปร่วมชมขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี โดยเช้าตรู่วันที่ 26 ต.ค. 2560 บริเวณรอบทุ่งพระเมรุมาศ (ท้องสนามหลวง) เต็มไปด้วยประชาชนทุกหมู่เหล่าที่พร้อมใจมาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย แบบมืดฟ้ามัวดิน หลายคนเดินทางมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์ และแม้ว่าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย สภาพอากาศในวันก่อนๆ จะร้อนและมีฝนตกกระหน่ำ แต่ทุกคนไม่ไปไหนเพราะอยากส่งเสด็จให้ได้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าพื้นที่จะเต็มไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้แต่ก็ไม่สามารถหยุดความตั้งใจของพสกนิกรไทยได้ ทุกคนยังเดินทางมาไม่ขาดสาย มุ่งหน้าสู่บริเวณถนนตั้งแต่สนามหลวงยาวไปจนถึงถนนราชดำเนิน มีประชาชนเข้าพื้นที่ ประมาณ 110,000 คน ไม่รวมประชาชนที่อยู่ด้านนอก ขณะที่มีรายงานว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรได้ปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่เพิ่มพื้นที่เข้าร่วมพระราชพิธีจำนวน 5 จุด รองรับประชาชนได้ราว 2 หมื่นคน สร้างความปลาบปลื้มแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง สำหรับพระเมรุมาศประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ผ่านการดำเนินการสร้างมากว่า 9 เดือน เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียติราวสรวงสรรค์กลางพระนครด้วยตามโบราณราชประเพณีสมมติฐานว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ เมื่อสวรรคตก็จะเสด็จกลับขึ้นไปประทับอยู่บนสรวงสวรรค์ ดังนั้นจึงต้องทำอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ภาพจาก : โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ร.10 โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชฯ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษแก่ “ร.อ.จิทัศ ศรสงคราม”

ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศเรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายหน้า ให้แก่ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม เป็นบุตรชายคนเดียวของสินธู ศรสงคราม กับท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และเป็นพระนัดดาเพียงคนเดียวในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสามัญชนลำดับที่ 34 ในลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทย (เป็นลำดับที่ 17 ในฝ่ายชาย) แต่เดิมเป็นทหารนอกราชการ สังกัดกองทัพบก ครั้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ และวันที่ 13 ตุลาคมปีเดียวกันนั้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ […]

โศกสลดทั้งแผ่นดิน..ประมวลภาพก่อนเคลื่อนริ้วขบวนพระอิสริยยศ เข้าสู่พระเมรุมาศ

อีกไม่กี่นาทีข้างหน้า พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเริ่มขึ้นแล้วท่ามกลางประชาชนที่มาเฝ้ารอกันอย่างใจจดใจจ่อเต็มพื้นที่

จารึกภาพค่ำคืนสุดท้าย ก่อนถวายพระเพลิงในหลวงรัชกาลที่๙

จารึกภาพค่ำคืนสุดท้าย ก่อนถวายพระเพลิงในหลวงรัชกาลที่๙…

ถ้าจะถามว่าค่ำคืนนี้เหมือนหรือแตกต่างจากวันที่ 13 ตุลาคม 2559 อย่างไร?… คงตอบไม่ได้เหมือนกัน แต่ความรู้สึกที่สัมผัสได้จากค่ำคืนของวันนี้ ก็คงอารมณ์เดียวกับคนไทยทุกคน ที่กำลังเฝ้ารอวันที่คนไทยอยากให้มาถึงช้าที่สุด ในพระราชพิธีถวาพระเพลิงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของชาวไทยมาตลอด 70 ปี “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร”

“สมเด็จพระราชินีโซเฟีย” แห่งราชอาณาจักรสเปน เสด็จฯ ถึงไทยแล้ว เพื่อทรงเข้าร่วมพระราชพิธีฯ ในวันที่ 26 ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 เวลา 18.00 น. สมเด็จพระราชินีโซเฟียเเห่งราชอาณาจักรสเปน เสด็จฯ ถึงประเทศไทยเพื่อทรงเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 นี้ ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร   1 โดยมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ในฐานะผู้แทนพระองค์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนรัฐบาล ถวายการต้อนรับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โดย สมเด็จพระราชินีโซเฟีย เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งกรีซโดยพระกำเนิด เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ และ สมเด็จพระราชินีเฟรเดริกาแห่งกรีซ โดยมีพระนามในภาษากรีกว่า โซเฟีย มาร์การีตา วิกตอเรีย เฟรเดรีกี พระองค์มีพระราชอนุชาและพระราชขนิษฐาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และ เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระราชกรณียกิจในประเทศในฐานะของสมเด็จพระราชินี พระองค์ทรงเป็นประธานมูลนิธิ Queen Sofía และยังทรงเป็นประธานลูกเสือกิติมศักดิ์แห่งสเปน สำหรับพระราชกรณียกิจในต่างประเทศ พระองค์เป็นตัวแทนพระราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงานอภิเษกสมของ เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน และ เจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์ และ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับเจ้าหญิงเคท และเมื่อปี พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 […]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 25 ต.ค. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี ประตูพิมานไชยศรี เมื่อรถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ข้างพระที่นั่งราชกรัณยสภา เสด็จขึ้นทางบันไดมุขกระสันพระทีั่่นั่งพิมานรัตยา เสด็จออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผ่านพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ไปยังที่ประดิษฐานพระบรมศพ ทรงจุดเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะ กราบถวายบังคมพระบรมศพ ทรงประเคนพัดรองที่ระลึกงานออกพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แต่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระราชาคณะ และสมเด็จพระราชาคณะที่จะถวายพระธรรมเทศนา จำนวน 31 รูป แล้วทรงยืนประเคนพัดรองที่ระลึกฯ แด่พระสงฆ์สวดศราทธพรต 30 รูป บรรพชิตจีน และญวน 20 รูป ซึ่งจะเดินเข้ามารับจนหมด

เจาะข้อมูล “พระยานมาศสามลำคาน” ราชยาน ริ้วขบวนที่ 1 ใช้อัญเชิญพระบรมศพจากวัง

การอัญเชิญพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ออกจากพระบรมมหาราชวังจะเคลื่อนออกทางประตูเทวาภิรมย์ โดย พระยานมาศสามลำคาน ริ้วขบวนที่ 1 จากข้อมูลการอัญเชิญพระบรมศพจากพระมหาปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ โดยเริ่มจากริ้วขบวนที่ 1 ที่จะอัญเชิญพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จากพระบรมมหาราชวังไปสู่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ริ้วขบวนที่ 1 จะเชิญพระโกศทองใหญ่โดย พระยานมาศสามลำดวน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผ่านทางประตูเทวาภิรมย์

‘พระองค์ที’ ร่วมทำหน้าที่จิตอาสา ถวายงานเพื่อทูลกระหม่อมปู่ครั้งสุดท้าย

แม้จะสเด็จกลับมายังประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ก็ทำให้คนไทยปลื้มใจอีกครั้งเมื่อได้เห็นเจ้าชายพระองค์น้อย “พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ” หรือ “พระองค์ที” ได้มาร่วมทำหน้าที่จิตอาสา บริการประชาชนที่มาร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่๙

“ประตูเทวาภิรมย์” พระทวารเชิญพระบรมโกศ ออกจากพระบรมมหาราชวังสู่ท้องสนามหลวง

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 เป็นเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ที่หลายคนล้วนอยากจดจำและสัมผัสให้ได้มากที่สุดแม้จะเป็นเรื่องน่าเศร้ามากแค่ไหนก็ตาม วันนี้ แพรวดอทคอม จึงจะพาไปรู้จัก “ประตูเทวาภิรมย์” ซึ่งเป็นหนึ่งในประตูชั้นนอกตามกำแพงพระบรมมหาราชวังจากทั้งหมด 12 ประตู โดยแต่ละประตูได้มีการตั้งชื่อให้สอดคล้องไล่เรียงกันไป และประตูเทวาภิรมย์นี้ก็นับเป็นประตูสำคัญในพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ เนื่องจากเป็นจุดแรกที่พระบรมศพของในหลวงรัชกาลที่ 9 จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะเคลื่อนออกเพื่อมุ่งสู่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

อ.เผ่าทอง ชี้แจงเรื่องการส่งต่อดอกไม้จันทน์ไม่ใช่เรื่องผิด

ตอนนี้ในโลกออนไลน์มีกระแสมากมายเกี่ยวกับเรื่องการส่งต่อดอกไม้จันทน์มือต่อมือ การห้ามชมว่าดอกไม้จันทน์สวย และหากมีดอกไม้จันทน์อยู่ในมือห้ามยกมือขึ้นไหว้หรือรับไหว้นั้น ประเด็นเหล่านี้ ทาง อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว Paothong Thongchua โดยมีข้อความ ดังนี้ “ตั้งใจว่าจะอดใจเอาไว้พูดหลังงานถวายพระเพลิงแล้ว แต่ก็มีคนกระหน่ำส่งไลน์กับเรื่องที่ไร้เหตุผล ไร้สาระมากๆ มาให้ทุกวี่ทุกวัน วันนี้จึงต้องขอพูดถึง ข้อห้ามต่างๆนานาเกี่ยวกับดอกไม้จันทน์ ที่ตะบี้ตะบันส่งกันทั่วทั้งเมืองสักหน่อย เพราะเกิดมาก็หกสิบกว่าปีแล้ว เวลาไปงานศพตามวัด ต่างก็มีคนของวัดหรือของเจ้าภาพ หยิบดอกไม้จันทน์จากพานที่จัดเตรียมไว้ส่งให้โดยตลอด เพราะเราเป็นผู้ใหญ่ เวลาเราเดินไปที่เชิงเมรุ ก็จะมีคนหยิบดอกไม้จันทน์จากพานส่งให้ มีทั้งส่งมือต่อมือ มีทั้งส่งด้วยพานต่อมือ หรือบางครั้งเวลาจะไปงานศพก็มีญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงที่ไปร่วมงานเผาศพไม่ได้ ฝากดอกไม้จันทน์ไปร่วมเผาศพด้วย ก็รับฝากและถือขึ้นไปวางบนเมรุเสมอๆ ก็ไม่เคยมีใครว่าเลย ไม่เข้าใจว่าธรรมเนียมที่ห้ามส่งดอกไม้จันทน์ให้กัน เกิดขึ้นมาสมัยไหน และใครเป็นคนบัญญัติ และที่งงมากก็คือ การห้ามชมว่าดอกไม้จันทร์สวย ก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมเนียมที่ใครบัญญัติขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะที่บ้านของผมในสมัยเด็กๆเวลาคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายจะไปงานเผาศพก็จะสั่งบ่าวไพร่ เอาหีบไม้ที่บรรจุท่อนไม้จันทน์มาไสให้เป็นขี้กบแบบที่เป็นแผ่นวงๆ แล้วจึงนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ และเข้าช่อกับธูปเทียนไม้ระกำ เวลาบ่าวไพร่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายได้เห็น ท่านผู้ชมเชยกันว่าสวยงามดี เพราะถ้าทำไม่สวย ท่านก็สั่งให้ทำใหม่ใครจะถือของไม่สวยไม่งามไปงานศพได้  ส่วนธรรมเนียมที่มีดอกไม้จันทน์อยู่ในมือ แล้วห้ามยกมือขึ้นไหว้หรือรับไหว้ก็งงมาก เพราะตั้งแต่เกิดจนอายุหกสิบกว่าวันนี้ก็พนมมือไหว้ และพนมมือรับไหว้ ทั้งๆที่มีดอกไม้จันทน์อยู่ในมือมาโดยตลอด เพราะเวลาเดินขึ้นเมรุ ก็มักจะเจอกับแขกผู้ใหญ่และแขกเด็กกว่าที่ไปร่วมงาน ถ้าไม่ไหว้หรือรับไหว้กันตอนนั้น ก็ไม่รู้ว่าจะไปไหว้หรือรับไหว้กันตอนไหน  เพราะเมื่อเผาศพเสร็จแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้านเลย ก็เลยสงสัยว่าคงจะเป็นธรรมเนียมใหม่ที่บัญญัติขึ้นในงานพระเมรุครั้งนี้ […]

ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา รัชกาลที่ 10 รับสั่งดูแลประชาชนให้ดี

รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รับสั่งเจ้าหน้านี้ดูแลประชาชนให้ดีพร้อมพระราชทานเบาะรองนั่งให้พสกนิกรที่รอบทุ่งพระเมรุ เป็นที่ทราบว่าในตอนนี้มีประชาชนจากทุกภาคของประเทศไทยพร้อมใจเดินทางมาร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แม้ต้องรอข้ามวันข้ามคืนก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงห่วงใยประชาชนที่มาร่วมงานพระราชพิธีฯ จึงมีกระแสรับสั่งในเรื่องต่างๆผ่านพลอากาศโท ภักดี แสงชูโต ผู้ช่วยราชเลขาธิการในพระองค์ เปิดเผยว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงห่วงใยพี่ประชาชนที่จะมาร่วมพระราชพิธีฯ โดยทรงเห็นว่าอากาศร้อนแดดแรงพื้นปูน พื้นซีเมนต์ที่ประชาชนนั่งยิ่งร้อน จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดหาเบาะรองนั่ง มาปูบนพื้นตลอดแนว เพิ่อบรรเทาความรัอน และทรงฝากขอบใจ ในความจงรักภักดี ที่ประชาชนมี โดยหลั่งไหล ที่จะมาเข้าร่วมพระราชพิธีฯ จึงฝากเจ้าหน้าที่ดูแลประชาชนให้ดี อย่าดุ หรือเข้มงวด กับประชาขนมากเกินไป ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า” ขณะที่พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยเพิ่มเติมโดยกล่าวว่า“สำหรับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีประชาชนเดินทางมาร่วมพระราชพิธีทั้งในกรุงเทพฯ และตามพระเมรุมาศจำลองในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในพระราชพิธีฯ ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนเดินทางมาร่วมไม่ต่ำกว่า 250,000 กว่าคน ขอให้รัฐบาลแจ้งเจ้าหน้าที่ราชการทุกภาคส่วน ดูแลอำนวยความสะดวกประชาชนให้ดีและมากที่สุด โดยเฉพาะการเดินทางเข้ามาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย […]

กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน เสด็จฯ ถึงไทยแล้ว เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีฯ

วันนี้ (25 ตุลาคม 2560) เมื่อเวลา 11.00 น. กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏานเสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 นี้  1 โดยมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ และ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้แทนรัฐบาล คอยให้การต้อนรับ  1 1 1   ข้อมูล : ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย ภาพ :  ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย   1

๕ บทเพลงพระราชนิพนธ์ใน “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร”

“บทเพลงพระราชนิพนธ์” อีกหนึ่งในพระปรีชาสามารถของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” ทั้งนี้แพรวดอทคอมได้คัด ๕ บทเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะ ที่หลายๆ คนรู้จักมาให้ฟังกันอีกครั้ง “ลมหนาว” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๙ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๔๙๗ “สายฝน” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๔๘๙ “ชะตาชีวิต” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ และเสด็จพระราชดำเนินทรงกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ “ความฝันอันสูงสุด” เพลงพระราชนิพนะ์ลำดับที่ ๔๓ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๑๔ “ยามเย็น” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ ใน พ.ศ. 2489 นอกจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง 5 นี้แล้ว ตามพระราชประวัติที่ทราบกันดีพระองค์ทรงประพันธ์ดนตรีตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระองค์ทรงประพันธ์นั้นรวมแล้วมีจำนวนถึง 48 เพลง  ซึ่งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มีถึง 5 เพลง คือ “Echo”, “Still on mind mind”, “Old-Fashioned Melody”, […]

keyboard_arrow_up