“นอนไม่หลับ” หรือหลับไม่สนิท หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า

ใครที่มีอาการ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แล้วปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โรค “นอนไม่หลับ” หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า การนอนหลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการดำรงชีวิต ถ้าเรานอนหลับพักผ่อนได้ดีและเพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ในบางคนที่พบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น และง่วงนอนในเวลากลางวัน กรณีที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ส่วนมากมักจะเกิดในผู้หญิงและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และเกิดได้จากหลายปัจจัย จึงแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ลักษณะของบุคคล นอนหลับไม่ลึก หูไว ตื่นง่าย หรือมีความวิตกกังวลง่าย ปัจจัยกระตุ้น การเปลี่ยนงาน การเสียชีวิตของคนที่รัก หรือคนในครอบครัว การหย่าร้าง พฤติกรรมของผู้ป่วย การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆ การดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน นอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง เป็นต้น โดยตัวเองสามารถสังเกตอาการของการนอนหลับได้ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท … Continue reading “นอนไม่หลับ” หรือหลับไม่สนิท หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า