ฝ่าด่านความอ้วนจากพันธุกรรม ปรับพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์
ความอ้วนจากพันธุกรรม

ฝ่าด่านความอ้วนจากพันธุกรรม ปรับพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์

Alternative Textaccount_circle
ความอ้วนจากพันธุกรรม
ความอ้วนจากพันธุกรรม

ฝ่าด่าน ความอ้วนจากพันธุกรรม ปรับพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์

วิวัฒนาการทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตรการแพทย์และจีโนมิกส์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายการก่อโรคต่างๆ ที่เป็นผลมาจากยีนและโครโมโซมในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าปัจจัยที่ควบคุมสุขภาพและความอ้วน มีผลมาจากทั้งพันธุกรรม ประวัติครอบครัว พฤติกรรมการกิน การดำรงชีวิต รวมถึงการรับสารกระตุ้นจากภายนอกเช่น ยา หรือ ฮอร์โมนต่างๆ

พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ จิณณ์ เวลเนส คลินิก โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เล่าถึงปัญหาความอ้วนเป็นปัญหาที่มีสาเหตุร่วมจากหลายปัจจัย และยังก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ในหลายอวัยวะ เช่น หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต ตับ ดังนั้น การประเมินปัญหาและการดูแลรักษาจึงต้องครอบคลุมตั้งแต่ระดับพันธุกรรม การกินอาหาร การออกกำลังกาย การเผาผลาญพลังงาน อาทิเช่น ถ้าบุคคลนั้นมีประวัติครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้องมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือมีโรคที่เป็นความผิดปกติของการใช้พลังงานของร่างกายในครอบครัวหลายคน เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เก๊าท์ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบแตกตัน หรือมีคนในครอบครัวเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ คนกลุ่มนี้ควรจะเข้ามารับคำแนะนำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น การควบคุมน้ำหนัก การกินอาหารที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การออกกำลังกายที่เพียงพอ รวมถึงการปรับพื้นฐานสภาพจิตใจให้แข็งแกร่งพร้อมต่อสู้กับความเครียดในสังคมปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาความอ้วนและความผิดปกติด้านการเผาผลาญสารอาหารบางชนิด เป็นผลจากระดับยีนเป็นตัวหลักเด่นเหนือสิ่งแวดล้อม เช่น ยีนควบคุมความอิ่มเสียไป หรือยีนที่ควบคุมการสร้างไขมันในร่างกายผิดปกติ เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะต้องเข้มข้นในการปรับพฤติกรรมเพื่อต่อสู้กับพันธุกรรม รวมถึงอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยา ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

ความอ้วนจากพันธุกรรม

สู้พันธุกรรมด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดำรงชีวิต?

รศ.ดร.นพ. โอบจุฬ ตราชู แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์และเวชพันธุศาสตร์ ศูนย์จิณณ์ เวลเนส คลินิก โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เล่าเพิ่มเติมว่า หลายคนถอดใจเรื่องความอ้วน เนื่องจากเห็นคนในตระกูลอ้วนมาตั้งแต่รุ่นก่อนๆ หรือหลายคนเครียดว่าพยายามลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่ลง การพบแพทย์ที่สามารถดูแลอย่างองค์รวมและบูรณาการร่วมกับศาสตร์ต่างๆ จะวางแผนการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การประเมินทางด้านพันธุกรรม โภชนาการ กายภาพบำบัด และฟื้นฟูสภาพจิตใจ การเลือกอาหารให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงมีข้อมูลที่สำคัญทางการแพทย์อย่างครบถ้วนในการวางแผน

จะรู้ได้อย่างไร ว่าตัวเรามียีนที่เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง 

การสืบประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณพ่อ คุณแม่ ก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงได้ส่วนหนึ่ง แต่หลายครั้งที่พบคนไข้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทั้งที่คนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นโรคดังกล่าว เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิต และอาหารบางชนิดมีผลต่อการทำงานของยีนที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรคที่แฝงมากับยีนทางพันธุกรรมได้

จึงควรไปตรวจสุขภาพยีน ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถตรวจวิเคราะห์ยีนได้อย่างละเอียด และหากพบว่ามีความเสี่ยง ก็จะมีการพูดคุยเพื่อรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ก็ต้องวางแผนการคัดกรองมะเร็งเพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ หรือเป็นคู่สมรสที่เสี่ยงต่อการเกิดลูกมีโรคพันธุกรรมผิดปกติ เช่น ปัญญาอ่อน ตาบอด หูหนวก ก็สามารถวางแผนเลือกวิธีการมีบุตรด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีพันธุกรรมผิดปกติต่อการเผาผลาญไขมันหรือน้ำตาล ก็ต้องพูดคุยทางเลือกการรักษา และปรับการรับประทานให้ทานอาหารที่มีโภชนาการที่ถูกต้อง ฝึกออกกำลังกายให้เพียงพอเหมาะสม จะลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและความทุพพลภาพได้


ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตามใจปากจนเผละ! ถึงเวลากู้หุ้นพังตามสูตรทั้ง 7 ข้อ ฟิตหุ่นย้วยให้เฟิร์มเพอร์เฟ็ค

หุ่นเซี้ยะสุขภาพดีได้ แค่ปรับนิสัยกินหนัก-กินตามใจอยาก ให้อยู่หมัดตามทริคนี้

Optimal Health Level อีกหนึ่งตัวเลือกของผู้บริโภคบนวิถี New Normal เพื่อสุขภาพ

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up