เป๊ก-ผลิตโชค เข้ารับการ ฉีดวัคซีนซิโนแวค ป้องกันโรคโควิด-19

ศิลปินขวัญใจวัยรุ่น เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร เข้ารับการ ฉีดวัคซีนซิโนแวค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ พร้อมเชิญชวนคนไทยฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 16 พ.ค. 64 ศิลปินขวัญใจวัยรุ่น เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร และ พิธีกรข่าวช่อง ONE31 จั๊ด – ธีมะ กาญจนไพริน เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 โดยรับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ผ่านมามีศิลปินคนดังที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ หญิงลี ศรีจุมพล เข้ารับการฉีดวัคซีน ที่โรงพยาบาลนาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นตัวอย่างให้ประชาชนทุกคน และในฐานะคนไทยต้องช่วยชาติด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ศิลปิน เข้ารับการ ฉีดวัคซีนซิโนแวค ป้องกันโรคโควิด-19 โดย เป๊ก – ผลิตโชค อายนบุตร เปิดเผยว่า “ ผมขอขอบคุณราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มแรกของผมวันนี้ และอยากเชิญชวนคนไทย ทุกๆ คนฉีดวัคซีนกันเยอะๆ นะครับ การฉีดวัคซีนไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำเพื่อประเทศของเรา สำหรับผมเองก็มีโรคประจำตัวอยู่เช่นกัน และได้ปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าไม่มีผลกระทบ และไม่เป็นอันตราย […]

ตอบคำถามคาใจ! วัคซีนโควิด-19 “ฉีดดี” หรือ “ไม่ฉีดดี” ข้อไหนเวิร์คกว่า

…ติดรึยัง ติดรึยัง… อยู่บ้านมาได้สิบสี่วัน ติดรึยัง ติดรึยัง ตรวจวัดไข้วันละพันครั้ง ติดรึยัง ติดรึยัง อยากตรวจโรคแต่ไม่มีตังค์… เพลงของ Noth Getsunova อาจจะแทงใจใครหลายๆ คน โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่มันกลับมาอีกแล้ว และนักวิชาการบางคนประเมินว่าการแพร่ระบาดละลอกใหม่นี้จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากกว่าปีที่แล้วหลายเท่า โควิด-19 แม้ ณ วันนี้ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วในหลายๆ พื้นที่ เปิดให้ลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเสี่ยง แต่ก็ยังคงคำถามคาใจสำหรับใครหลายคนเกี่ยวกับโควิด-19 อาทิ ฉีดวัคซีนดีไหม? ฉีดแล้วยังจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยอีกหรือเปล่า? ร่างกายเราสามารถรักษาโควิด-19 ได้เองหรือไม่? ทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไหม? รายการ Rama Variety ของ RAMA CHANNEL ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี รายการที่นำเสนอเรื่องน่ารู้หลากหลายมุมมองเกี่ยวกับสุขภาพ พาไปหาคำตอบจาก ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยท่านได้ไขข้อข้องใจ ดังนี้ Q วัคซีนโควิด-19 สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากเพียงใด? ต้องบอกว่าบางทีวัคซีนโควิด-19 อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปอธิบายถึงการแพร่กระจายของโควิด-19 ก่อน โควิด-19 เกิดจากไวรัส ซึ่งเชื้อแพร่กระจายได้ง่ายผ่านทางละอองน้ำมูก ละอองน้ำลาย โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ 2 ทาง การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ […]

จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ สุนัขดมกลิ่น บ่งชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการได้

สุนัขเป็นสัตว์ที่สามารถฝึกให้ดมกลิ่นระเบิด ยาเสพติด เพื่อติดตามร่องรอยของคนร้าย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้มีการศึกษาเพื่อวินิจฉัยผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้การดมกลิ่นของสุนัข การบ่งชี้ผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยกลิ่นเหงื่อ เหงื่อที่ออกมาจากต่อมเหงื่อภายในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อโควิด-19 จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อจะเกิดปฏิกิริยาต่อการเพิ่มไวรัสขึ้นทำให้สุนัขสามารถบ่งชี้กลิ่นที่แตกต่างกันได้ ขั้นตอนการตรวจโควิด-19 ด้วย สุนัขดมกลิ่น การดมกลิ่นจากเหงื่อที่ใต้วงแขนของผู้ติดเชื้อ ตัวอย่างเหงื่อจะถูกเก็บด้วยวิธีการใช้แผ่นแปะที่ใต้วงแขนประมาณ 20 นาที เพื่อให้ได้เหงื่อ 75 มิลลิกรัม การเก็บตัวอย่างเหงื่อจะปฏิบัติโดยแพทย์หรือพยาบาลโดยไม่มีการปะปนของกลิ่นจากผู้เก็บตัวอย่าง ผู้เก็บตัวอย่างต้องผ่านการฝึกฝน และสวมชุดป้องกันตามมาตรฐาน สุนัขจะดมกลิ่นจากตัวอย่างเหงื่อ เพื่อบ่งชี้การติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อโควิด-19 ตัวอย่างการตรวจโควิด-19 ด้วยสุนัขดมกลิ่น การใช้สุนัขดมกลิ่น 6 ตัว ดมกลิ่นผู้ติดเชื้อโควิด- 19 ที่มีอาการ จำนวน 95 ราย แล:ผู้ที่ไม่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 82 ราย สุนัขสามารถแยกแยะกลิ่นได้ด้วยอัตราความถูกต้อง 76-100% ต่อสุนัขแต่ละตัว ซึ่งพบว่ามีความแม่นยำโดยรวมถึง 85-100% และสามารถบ่งชี้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อโควิด-19 ได้ถูกต้อง 92-99% คำแนะนำจากแพทย์ การนำสุนัขมาฝึกในการดมกลิ่น ได้ผ่านการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยได้รับรองว่าสุนัขจะไม่ติดเชื้อโควิด-19 และไม่มีผลทางด้านลบต่อสวัสดิภาพของสุนัข ซึ่งหากจะขยายผลในพื้นที่ใหญ่ขึ้นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ที่มา […]

ทำยังไง? เมื่อเจอเคสฉีด วัคซีนต้าน Covid-19 แล้วเกิดผลข้างเคียงกระทบ ฟิลเลอร์

หลังจากที่ วัคซีนต้าน Covid-19 ได้รับอนุญาตให้ใช้กรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนที่แล้ว ดูเหมือนว่าจะอาจเกิดผลข้างเคียงสำหรับผู้ที่มีสารเติมเต็ม (Fillers) ใบหน้าเพื่อความงาม ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เกี่ยวข้อง (VRBPAC) ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีรายงานมี 2 รายที่มีสารเติมเต็มผิวหนังมีอาการบวมที่ใบหน้าหลังจากได้รับ วัคซีนต้าน Covid-19 ของ Moderna โดยทั้ง 2 ราย ที่เกิดผลข้างเคียงนี้ รายแรกได้ไปฉีดฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มมาเมื่อ 6 เดือนก่อน และอีกรายได้ไปฉีดฟิลเลอร์มาเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะเข้ารับการฉีด วัคซีนต้าน Covid-19 ของ Moderna Dr.Samuel Lin ยังย้ำอีกว่า “การฉีด วัคซีนต้าน Covid-19 นั้นสำคัญกว่าการดูดีด้วยฟิลเลอร์ที่ใบหน้า” Dr. Samuel Lin แพทยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งและรองศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมที่ Havard Medical School เผยว่า “ผู้หญิงทั้ง 2 รายนี้ได้รับการรักษา หายเป็นปกติดีแล้ว และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มีความรุนแรงมาก ทั้ง 2 […]

วัคซีนป้องกันโควิด-19 คือความหวังที่มนุษยชาติจะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม

ว่าด้วยเรื่อง วัคซีนป้องกันโควิด-19 คือความหวังที่มนุษยชาติจะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม จากเพจ นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ ว่าตอนนี้ในหลายประเทศที่เจริญแล้ว เริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้ประชาชนของตนเอง หลังจากที่วัคซีนผ่านการทดสอบในคนแล้วเพราะ มีความปลอดภัย ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงระยะสั้น มีประสิทธิภาพป้องกันไม่ให้ป่วยจากโรคโควิด 70-90% ต้องใช้เวลาหลังการฉีดเข็มวัคซีนเข็มที่ 2 ถึงจะมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ และขณะนี้ยังไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานเท่าไร แต่ขอย้ำว่าวัคซีนลดการเจ็บป่วย แต่ไม่ทราบว่าลดการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ลดการติดเชื้อ คนที่ได้รับวัคซีนเมื่อรับเชื้อ ก็อาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยถึงจะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม คนในประเทศที่เจริญแล้วสามารถเข้าถึง (access) วัคซีนทุกคน แต่ก็มีบางคนไม่ยอมไปฉีด (vaccine hesitancy) วัคซีนเพราะ บางวัคซีนใช้เทคโนโลยีใหม่ ไม่เคยใช้มาก่อน กังวลกับผลข้างเคียงระยะยาว วัคซีนนี้ใช้ส่วนประกอบของเชื้อไวรัส เชื้อบรรพบุรุษ (ancestor) ตั้งแต่เริ่มระบาดใหม่ๆ ไม่แน่ใจว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพกับเชื้อลูกหลานเหลนที่ปัจจุบันกลายพันธุ์ไปมากแล้ว บางคนคิดว่าตัวเองอยู่ในวัยหนุ่มสาว อายุยังน้อย ถึงติดเชื้อก็ไม่เป็นไร วัคซีนนี้ยังไม่มีการทดสอบในเด็กต่ำกว่าอายุ 12 ปี ต้องใช้ขนาดเท่าไหร่ ฉีดกี่ครั้ง ประสิทธิภาพเหมือนผู้ใหญ่หรือไม่ สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยกว่าจะได้วัคซีน ต้องรอประเทศที่ร่ำรวยสั่งยาให้คนของประเทศเขาครบทุกคนก่อน จำนวนวัคซีนที่ได้กลางปีนี้คาดว่า มีเพียงพอสำหรับคนไทยร้อยละ 20 เท่านั้น ระยะแรกจะให้วัคซีนกับกลุ่มเสี่ยงสูงสุดก่อน ได้แก่ […]

keyboard_arrow_up