อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ‘โรคความจำเสื่อม’

ล่าสุดที่มีข่าวเรื่อง Bruce Willis เป็นโรคความจำเสื่อม Frontotemporal Dementia ซึ่งชื่ออาจจะไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินว่า โรคสมองเสื่อม คือ อัลไซเมอร์ (Alzheimer) ซึ่ง นพ.ชยานุชิต ชยางศุ แพทย์อายุรศาสตร์ประสาทวิทยา ได้อธิบายความรู้ในเรื่องของ PM 2.5 กับโรคความจำเสื่อม เอาไว้ว่า อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ‘โรคความจำเสื่อม’ Frontotemporal Dementia (FTD) คืออะไร?ก่อนอื่นอยากให้รู้จักคำว่า Dementia ก่อน คำนี้แปลว่าสมองเสื่อม ซึ่งจริงๆ แล้วโรคสมองเสื่อมมีหลายชนิด ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ Alzheimer นั่นเอง ส่วนกรณี Bruce Willis นั้นก็เป็นโรคสมองเสื่อมอีกชนิดที่มีอาการแตกต่างไปจาก Alzheimer ชื่อเรียกจึงแตกต่างกัน โดย Frontotemporal Dementia จะพบได้ในคนอายุน้อยกว่า อายุเฉลี่ย 40-65 ปี มีอาการได้หลากหลายตั้งแต่บางคนจะมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียว อารมณ์เกรี้ยวกราด พูดคำหยาบ ด่าทอ โดยอาจจะเป็นจากนิสัยเดิมของผู้ป่วยอยู่แล้ว […]

วิธีป้องกันตัวจาก ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มลพิษร้ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมหาศาล

ช่วงที่เปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวสู่ฤดูร้อน บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมเป็นระลอกๆ มีผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นมาก พญ.พวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม ได้อธิบายผลกะทบของ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 เอาไว้อย่างละเอียด เพื่อให้นำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที  ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนก่อให้เกิดอันตราย เพราะสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารอื่นๆ เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก แทรกซึมเข้าไปในถุงลมปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งผ่านทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูกเข้าไปยังสมองโดยตรง วิธีป้องกันตัวจาก ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มลพิษร้ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมหาศาล PM 2.5 ผลต่อสมอง กระตุ้นไมเกรน ฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งมลพิษในอากาศชนิดอื่นๆ สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนอย่างรุนแรงขึ้นมาได้ ภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ หลังจากที่ฝุ่นจิ๋วเข้าไปยังสมองจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่างๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติและกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง (β-amyloid, α-synuclein, tau protein) ที่มีลักษณะคล้ายกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน รวมทั้งทำให้สมองมีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติอีกด้วย […]

keyboard_arrow_up