รักในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่แพ้คนไทย “คนูลท์ โคลเซ่” ฝรั่งหัวใจไทย 100 %

เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่ผู้ชายคนนี้แสดงความรักที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้วยการเป่าทรัมเป็ต ถวายพระพรทุกวันที่ 5 ธันวาคม และในทุกครั้ง ทุกที่ เมื่อมีโอกาส เพื่อให้ทุกคนรับรู้และได้ยินเสียงที่เปล่ง ออกมาจากหัวใจเขาว่า ‘ผมรักในหลวง’

ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือนวัง “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ต้นแบบความสุขที่ยั่งยืน

ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือน…พระตำหนักจิตรลดาฯ พระราชวังของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นไม่เหมือนวังอื่นๆ ซึ่งหรูหราอลังการด้วยสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม เพราะที่นี่มีเพียงสิ่งปลูกสร้างเรียบง่าย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยแนวทางสู่ความสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งพระองค์ท่านทรงวางไว้ให้เราหมดแล้ว “ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือนพระตำหนักจิตรลดาฯที่เต็มไปด้วยบ่อเลี้ยงปลาและไร่นาทดลอง อีกทั้งผองโคนม ผสมด้วยโรงสี และโรงงานหลากหลาย จึงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ในประเทศไทยไม่มีช่องว่างระหว่างเกษตรกรและพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำงานอย่างหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินด้วยพระองค์เอง” เบื้องต้นคือคำกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลของพลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2523 เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นไม่เหมือนวังอื่นๆ ซึ่งหรูหราอลังการด้วยสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม เพราะที่นี่มีเพียงสิ่งปลูกสร้างเรียบง่าย เน้นประโยชน์ใช้สอย มีทุ่งนา โรงงาน และโรงเรือนมากมาย แต่กลับดึงดูดผู้คนจํานวนมากจากทั่วประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้เข้ามาเยี่ยมชมทุกปี ทุกคนต่างมาเพื่อดูว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงทําสิ่งใดเพื่อประชาชนคนไทยบ้าง แล้วจะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านได้ทรงวางแนวทางสู่ความสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ให้เราหมดแล้ว สถานที่ในเขตพระราชฐาน พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตแห่งนี้ เป็นจุดกำเนิดของโครงการทั้งสิ้นกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดําริ แล้วทรงใช้ที่ประทับส่วนพระองค์เพื่อศึกษาทดลองโครงการต่างๆตามแนวพระราชดําริด้วยพระองค์เอง เพื่อหาแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางการเกษตรให้แก่ประชาชน โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดําเนินงานทั้งสิ้น จึงเป็นที่มาของชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกป่าและทำนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 โดยเริ่มจากในบริเวณสวนจิตรลดา เพราะไม่ไกลจากพระตำหนักสักเท่าไหร่ เวลาที่ทอดพระเนตรจะทรงเห็นได้ชัด แล้วยังมีพระราชดําริว่าการที่ชาวนาปลูกข้าวได้เพียงครั้งเดียวต่อปีนั้นไม่เพียงพอต่อการบริโภค จําต้องพัฒนาสายพันธุ์ข้าวซึ่งโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง […]

“นั่นลูกศิษย์เรา” พระสุรเสียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ สุดประทับใจในชีวิตสายดนตรี

เป็นเรื่องราวที่ดีที่ควรค่าแก่การบอกต่อ เพราะ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มิได้ทรงสอนแค่การเล่นดนตรี แต่ทรงสอนการใช้ชีวิต เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงหน้าที่ของตัวเองและมีสติอยู่เสมอ

เผยมุมโรแมนติกในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรักพระราชินี ‘เหมือนเคย’ มิเปลี่ยนตั้งแต่แรกเจอ

เรื่องราวความรักระหว่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินี หรือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นเรื่องราวที่คนไทยได้ฟังเมื่อใด หรือฟังซ้ำเกินหนึ่งครั้งก็ยังคงซาบซึ้ง ประทับใจมิเคยเปลี่ยน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้ หน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างไร?

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้น บรรดานักหนังสือพิมพ์อเมริกันได้กราบทูลถามถึง “หน้าที่พระเจ้าแผ่นดินของพระองค์เป็นอย่างไร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสตอบด้วยพระปรีชาว่า

จากต่างด้าวสู่เศรษฐีพ่อค้าผ้ารายใหญ่ชาวอินเดีย มีวันนี้ได้เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ที่ทำกิน

ไม่ใช่แค่การเป็นที่พึ่งพิงให้กับคนไทยเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังมีพระกรุณาไปถึงคนต่างชาติต่างถิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย เหมือนอย่างกับครอบครัวของคุณสาธิต เซกัล นายกสมาคมนักธุรกิจอินเดีย – ไทย ชาวอินเดียที่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ มีรายได้จนสามารถลืมตาอ้างปากอยู่สุขสบายจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแพรวก็ได้นำบทสัมภาษณ์ของเขามาเผยแพร่ให้คนไทยได้อ่านกันด้วยค่ะ

“ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” ช่างซ่อมนาฬิกาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไว้พระทัยในฝีมือที่สุด

หากคุณเคยไปเดินเล่นย่านท่าพระจันทร์ คุณก็อาจสังเกตเห็นร้านนาฬิการ้านหนึ่งขึ้นป้าย “ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” และเหนือป้ายนั้นคือตราครุฑขนาดใหญ่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี่คือร้านของช่างซ่อมนาฬิกาที่ถวายงานให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ท่านไว้พระทัยในฝีมือที่สุด และวันนี้เราก็มีเรื่องราวของช่างซ่อมนาฬิกาผู้นี้มาฝากกันด้วย

เบื้องหลังพระปรีชาสามารถด้านชลประทาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงงานหนักเพื่อชีวิตร่มเย็นของพสกนิกรไทย

กว่าโครงการด้านเกษตรและชลประทานต่างๆ จากพระราชดำริของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จะสำเร็จออกมาเพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขแบบนี้ ไม่ได้สะดวกสบายเลย นายทวี เต็มญารศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญฯ กรมชลประทาน ได้เผยเรื่องราวและพระบรมฉายาลักษณ์ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานอย่างหนักเพื่อพวกเราชาวไทย

เปิดพระราชนิพนธ์แรก ฉบับเต็ม… เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์

พระราชนิพนธ์  ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์” เป็นพระราชนิพนธ์แรกที่พระราชทานแก่วงวรรณคดี อันเป็นบันทึกความทรงจำหลังจากที่ทรง “รับ” คำกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นสืบสันตติวงศ์ไอศวรรย์สมบัติแล้ว จำต้องเสด็จฯกลับไปทรงศึกษาต่อ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ นับถึงวันนี้พระราชนิพนธ์ฉบับนี้มีอายุครบ ๗๐ ปีเต็มบริบูรณ์แล้ว ถือเป็นงานทรงคุณค่าสูงสุดอีกองค์หนึ่งที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้แก่ปวงชนชาวไทย ในการนี้แพรวขอน้อมอัญเชิญมาเผยแพร่อีกครั้งอย่างครบถ้วนทุกถ้อยความและสะกดตามต้นฉบับ เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์ “วงวรรณคดี” ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ถนัดมาลงในหนังสือนี้นานมาแล้ว อันที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่ใช่นักประพันธ์ เมื่ออยู่โรงเรียน เรียงความและแต่งเรื่องก็ทำไม่ได้ดีนัก อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าก็ปรารถนาที่จะสนองความต้องการของ “วงวรรณคดี” อยู่บ้าง และเนื่องด้วยไม่สามารถที่จะเขียนเรื่องที่ข้าพเจ้ารู้บ้าง เช่น ดนตรี ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือกฎหมาย ฯลฯ ได้ เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ดีพอ ฉะนั้นจึงตกลงใจส่งบันทึกประจำวันที่เขียนไว้ก่อนและระหว่างวันเดินทางจากสยามสู่สวิทเซอร์แลนด์มาให้ และในโอกาสนี้ จึงขอขอบใจเป็นการส่วนตัวต่อทุกๆ คนที่มาถวายความจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของข้าพเจ้า ณ พระมหาปราสาท ตลอดจนความปรารถนาดีที่มีต่อตัวข้าพเจ้าเอง กับขอขอบใจเหล่าทหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการด้วยความจงรักภักดีต่อเราทั้งสองด้วย วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ อีกสามวันเท่านั้น เราก็จะต้องจากไปแล้ว ฉะนั้นจึงตั้งใจจะไปนมัสการพระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชด้วย. เมื่อไปถึงวัดบวรนิเวศน์วิหารตอนบ่ายวันนี้ มีประชาชนผู้รู้ว่าข้าพเจ้าจะมา […]

keyboard_arrow_up