‘โรคเบาหวาน’ กับ ‘โรคปริทันต์’ ความสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงกระตุ้นความรุนแรงของโรค

กรมการแพทย์ โดยสถาบันทันตกรรม ชี้ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบ กระตุ้นความรุนแรงของโรค และส่งผลให้อีกโรคหนึ่งรุนแรงตามไปด้วย ควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากควบคู่กัน โรคเบาหวาน กับ โรคปริทันต์ (โรคเหงือก) มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน จากการที่ปกติแล้วในร่างกายจะมีฮอร์โมนชื่อว่า “อินซูลิน” คอยทำหน้าที่จับน้ำตาลในกระแสเลือดไปเป็นพลังงานให้แก่เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ส่วนโรคปริทันต์อักเสบ สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งระบบ ซึ่งการอักเสบนั้นก็จะไปรบกวนขบวนการควบคุมระดับน้ำตาลดังกล่าว ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง จะมีผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้ออินซูลินในคนปกติ และหากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มของโรคเบาหวานก็จะส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากขึ้น รวมถึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้มากขึ้นอีกด้วย โรคปริทันต์ (โรคเหงือก) กับโรคเบาหวาน สัมพันธ์และมีผลต่อกัน เพราะในทางกลับกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วยเบาหวาน ก็ส่งผลต่อสภาวะโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นกัน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดนั้น สามารถจับกับโปรตีนบางชนิดได้ถาวร ทำให้กระตุ้นการทำลายและยับยั้งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้โรคปริทันต์อักเสบมีความรุนแรงขึ้น โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบถึง 4.2 เท่า หรืออาจกล่าวได้ว่า ความรุนแรงของโรคหนึ่งส่งผลให้อีกโรคหนึ่งรุนแรงตามไปด้วย ซึ่งควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากควบคู่กัน และเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาเป็นอย่างดี เพราะสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแล และเป็นประตูนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย โรคปริทันต์อักเสบ หรือ โรครำมะนาด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ ผลิตสารทำลายเนื้อเยื่อและกระดูกที่รองรับฟัน อีกทั้งแบคทีเรียเหล่านี้ยังก่อให้เกิดแผลในบริเวณพื้นผิวกว้างได้ถึง 5-20 ตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็นช่องทางให้แบคทีเรียและสารอักเสบต่างๆ เข้าไปสู่กระแสเลือดได้ และอาจเป็นสาเหตุการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย […]

ทำไมคนทำงานหนักเกินไปถึงเสี่ยงเป็น ‘โรคเบาหวาน’

การเกิด โรคเบาหวาน ในมนุษย์เงินเดือนอยู่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก ทั้งการกินของหวานๆ ขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมน้ำหนัก และหากป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ก่อนที่จะสายเกินไป ควรเริ่มใส่ใจในการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น โรคเบาหวาน ความเสี่ยงของคนทำงานหนักเกินไป เป็นห่วงคนทำงานหนักเกินไป เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน สาเหตุที่เห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมการกินอาหารของหวาน ของมัน ของทอด โดยเฉพาะเมื่อทำงานหนัก เกิดความเครียดร่างกายต้องการของหวานเติมเต็ม เพราะว่าสามารถบรรเทาความเครียดได้ ของหวานที่มีน้ำตาลสูงจะสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ที่จะหลั่งออกมาในเวลารู้สึกเครียด เมื่อคุณเครียดมากจึงทานมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นแถมยังทำลายสุขภาพเป็นอย่างมาก โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อันเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ 2. เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวการณ์ดื้ออินซูลิน 3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน อาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย เหนื่อย […]

9 สัญญาณเตือน ‘โรคเบาหวาน’ ภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณของน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ลดลง ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ของโรคเบาหวานยังน่าเป็นห่วง โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) ได้คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี ค.ศ. 2045 จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านคนทั่วโลก จาก 463 ล้านคนในปี ค.ศ. 2019 และเพื่อให้คนทั่วโลกเล็งเห็นถึงความอันตรายของโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติจึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันเบาหวานโลก” โดยในประเทศไทยโรคเบาหวานถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่คนไทยเป็นมากถึง 4.8 ล้านคน และในหลายรายจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยที่ผ่านมามีผู้ป่วยเพียง 35.6% เท่านั้นในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลจากผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา และมีผู้ป่วยมากกว่า 200 รายในแต่ละวันที่เสียชีวิตเพราะโรคเบาหวาน ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเตือนโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ นพ.โองการ สาระสมบัติ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และเมตาบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เบาหวานเป็นภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อาทิ ผู้ที่มีภาวะอ้วน […]

keyboard_arrow_up