แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม (LAAB แอสตร้าเซนเนก้า) ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโควิด-19 ที่ญี่ปุ่น ประเทศแรกในโลก

ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม AZD7442 (ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีสองชนิดได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) หรือ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 และการรักษาโควิด-19 แบบมีอาการ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติยานี้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการรักษา แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม (LAAB แอสตร้าเซนเนก้า) ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโควิด-19 ที่ญี่ปุ่น ประเทศแรกในโลก กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น (MHLW) ได้อนุมัติใช้ยา LAAB ในกรณีฉุกเฉินสําหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่แนะนําให้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 และผู้ที่อาจมีการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยผู้รับยา LAAB เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อจะต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อในขณะรับยา หรือเพิ่งสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในด้านการรักษา ยา LAAB ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รุนแรงซึ่งไม่ต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ คาซึฮิโระ ทาเทดะ แห่งภาควิชาจุลชีววิทยาและโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยโทโฮ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า “โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในวงกว้าง ประชากรในประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ยา LAAB จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่จําเป็นยิ่งในการป้องกันในระยะยาวแก่ผู้ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ไม่เพียงพอหลังการฉีดวัคซีน และจะช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 และลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อได้” ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ อิตารุ มัตสึมูระ […]

แพทย์แนะ “3 วิธีระบายเสมหะ” ด้วยตนเองในผู้ป่วยโควิด-19

แพทย์ชี้เสมหะ คือ สิ่งข้นเหนียวเหมือนเมือกที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนมักจะมีอาการหายใจมีเสียงครืดคราด หรือรู้สึกว่ามีเสมหะในทางเดินหายใจ หรือไอแบบมีเสมหะอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้การหายใจเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้น จึงจำเป็นมากที่ผู้ป่วยต้องกำจัดเสมหะเหล่านี้ออกจากทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น แพทย์แนะ “3 วิธีระบายเสมหะ” ด้วยตนเองในผู้ป่วยโควิด-19 วิธีที่ 1 การไอเพื่อระบายเสมหะ ทำในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว ด้วยวิธีดังนี้ นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจเข้า – ออกปกติ 3-5 ครั้ง หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออก กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที พร้อมกับเกร็งเนื้อหน้าท้อง ให้อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม พร้อมไอออกแรงๆ และยาวจนสุดลมหายใจออก พักด้วยการหายใจเข้า – ออก ปกติ 3-5 ครั้ง วิธีที่ 2 การระบายเสมหะด้วยวิธีถอนหายใจออกแรง ทำในกรณีที่มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด สามารถทำได้ดังนี้ นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจ […]

ไม่รุนเเรงเเต่ทั่วถึง “ได๋ ไดอาน่า” เตือนโควิด-19 รอบนี้หลบวัคซีนเก่ง กำชับรับมือ 5 ข้อ

แม้จะดูเหมือนผ่านพ้นการระบาดรุนแรงครั้งใหญ่มาได้ แต่ก็ยังสามารถพบการติดเชื้อ โควิด-19 เป็นระลอกเล็กๆ และเรื่อยๆ เนื่องจากโรคโควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวไม่ได้หายไปไหน ฉะนั้น ป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวเหมือนที่ผ่านมาไว้ก่อน ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่รุนเเรงเเต่ทั่วถึง “ได๋ ไดอาน่า” เตือนโควิด-19 รอบนี้หลบวัคซีนเก่ง กำชับรับมือ 5 ข้อ โดยล่าสุด พิธีกรสาวที่ผันตัวมาเป็นอาสากำลังหลักในช่วงโควิด-19 อย่าง “ได๋ – ไดอาน่า จงจินตนาการ” ก็โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Diana Chung ระบุว่า “โควิดรอบนี้ทั่วถึงมากกกกกติดกันเยอะมากๆ 4-5 วันเเล้ว ที่ส่งยากันหัวหมุน #เตือนเเล้วนะ ระลอกนี้จากการสังเกตุผู้ติดเชื้อจะมีอาการมากกว่าช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม ซึ่งจะมีอาการเหนื่อย นอนซมไข้สูง 39 องศา หนาวเเต่เหงื่อออก เริ่มจากคอเเห้งๆ คันคอ จากนั้น จะเริ่มเจ็บคอ กลืนน้ำลายเหมือนมีดบาดมีเสลท เเละเสียงเปลี่ยน สำคัญที่สุดคือ ติดรอบวงแบบไม่ปราณีกันเลย แม้จะฉีดวัคซีน 4 เข็มก็ติด (น่าจะหลบเก่ง) ระลอกก่อนๆ จะเห็นว่าอยู่กัน […]

รู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมที่ช่วยป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเปราะบาง

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า LAAB หรือยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมกันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังมีข้อสงสัยต่างๆ เช่น เหมาะกับใคร ใช้งานอย่างไร รวมไปถึงมีความสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ และออกฤทธิ์ยาวนานแค่ไหน ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมคำตอบสำหรับทุกคำถามไว้ที่นี่ และพร้อมจะพาไปทำความรู้จัก LAAB ให้มากขึ้น รู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมที่ช่วยป้องกันโควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบาง 1. LAAB ย่อมาจาก Long-acting Antibody หรือ ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ซึ่งสามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสสายพันธ์ย่อยโอมิครอน BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3, BA.4 และ BA.5 ได้ รวมไปถึงยังสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แบบมีอาการได้อีกด้วย 2. LAAB สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป (น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม) ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคร่วมต่างๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 3. สำหรับการใช้งาน LAAB เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 150 มิลลิกรัม โดยมีผลวิจัยสนับสนุนว่าการฉีดยาครั้งเดียวสามารถให้การป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้อย่างน้อย 6 เดือน 4. ปัจจุบัน LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รวมถึงสหภาพยุโรป และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลกสำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 5. หากมีคำถามว่าบุคคลทั่วไปสามารถรับยา LAAB ได้หรือไม่ คงต้องตอบว่าเบื้องต้นยา LAAB นั้นได้รับ การขึ้นทะเบียนให้ใช้ในกลุ่มประชากรที่เปราะบาง มีความเสี่ยงสูง และมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงประชากรที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ก่อน 6. เมื่อไม่นานมานี้ แอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์จากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง […]

ทำไม “วัคซีนเข็มกระตุ้น” จึงเป็นทางออกสำคัญในการกระตุ้นภูมิป้องกันโควิด-19

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ จนคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบให้ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มลดลง รวมถึงรัฐมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และเตรียมความพร้อมเข้าสู่โรคประจำถิ่น (Endemic) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนไม่น้อยและยังมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 หลายสิบคนทุกวัน ทำไม “วัคซีนเข็มกระตุ้น” จึงเป็นทางออกสำคัญในการกระตุ้นภูมิป้องกันโควิด-19 ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนควรทำคือการปกป้องตนเองและคนรอบตัว โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากวัคซีนจะมีผลช่วยป้องกันทั้งการติดเชื้อและที่สำคัญ ช่วยลดความรุนแรงของโรค เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระดับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตจากโควิด-19 ไวรัสกลายพันธุ์…ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ในส่วนของโปรตีนหนาม ส่งผลให้ไวรัสเหล่านี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเชื้อไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ยังไม่นับรวมสายพันธุ์ BA.3, BA.4 และ BA.5 ที่กำลังระบาดในต่างประเทศขณะนี้ ที่อาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่อการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์หลังจากการรับวัคซีน 2 เข็มแรกลดลง  ดังนั้นถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกแล้ว ก็มีความจำเป็นต้องเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะหากไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงมีโรคประจำตัวก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจากโควิด-19 ได้ แม้ว่าจะมีผลการวิจัยออกมาให้เห็นแล้วว่าการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ที่มีแนวโน้มต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงการเสียชีวิตได้ และมีการรณรงค์จากทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น แต่รายงานสรุปผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนการได้รับวัคซีนสะสมรวม 138,697,935 โดสแบ่งเป็น  จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 คิดเป็น 81.7% ของประชากร จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 คิดเป็น 76.1% ของประชากร ส่วนผู้ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 คิดเป็น 41.6% ของจำนวนประชาชนทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งหมายความว่ายังมีประชากรไทยอีกเกือบ 60% ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เลือกวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ต้องพิจารณาอย่างไร? การเลือกวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 สามารถพิจารณาตามคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยการฉีดเข็มกระตุ้นนั้น มีข้อมูลการศึกษาที่บ่งบอกถึงประสิทธิผล (Vaccine Effectiveness) ที่ดีใกล้เคียงกันในทุกสูตร โดยประสิทธิผลของวัคซีน จะเป็นการดูผลการป้องกันของวัคซีนในชีวิตจริงที่มีการใช้มาอย่างมากมายในประชากรวงกว้าง ทั้งในการป้องกันการติดเชื้อ ลดโอกาสในการเกิดโรครุนแรง รวมถึงการเสียชีวิตจากโควิด-19 จุดสิ้นสุดของวิกฤตโรคระบาด จุดสิ้นสุดในทีนี้ไม่ได้หมายความว่า โควิด-19 จะหายไป ทว่ามันอาจจะกลายเป็น “โรคประจำถิ่น” (Endemic) ที่ยังคงระบาดในพื้นที่ต่างๆ แต่สามารถควบคุมไม่ให้แพร่เป็นวงกว้างได้ […]

Evusheld ช่วยลดความเสี่ยงติดโควิด-19 หรือเสียชีวิต จากผลทดลองระยะที่ 3 TACKLE

ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก แสดงให้เห็นว่า Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า (เดิมชื่อ AZD7442 ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) โดยการรักษาด้วย Evusheld ในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น Evusheld ช่วยลดความเสี่ยงติดโควิด-19 หรือเสียชีวิต จากผลทดลองระยะที่ 3 TACKLE ข้อมูลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine การทดลองแท็คเคิลดำเนินการศึกษาผู้ร่วมโครงการที่เป็นผู้ป่วยนอกโรคโควิด-19 ซึ่งมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน นอกจากนั้น 90% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโรคประจำตัวและภาวะต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือเป็นผู้สูงอายุ ฮิวจ์ มอนต์โกโมรี ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเวชบำบัดผู้ป่วยหนัก มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และหัวหน้าทีมวิจัยของโครงการแท็คเคิล กล่าวว่า “ถึงแม้การใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะประสบผลสำเร็จในวงกว้าง แต่ยังมีประชากรจำนวนมากที่ยังมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรครุนแรง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นวิธีการอื่นๆ จึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการดำเนินของโรค และลดภาระของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การทดลองแท็คเคิลแสดงให้เห็นว่าการฉีด Evusheld เข้ากล้ามเนื้อหนึ่งโดสสามารถป้องกันการดำเนินของโรคโควิด-19 ไปสู่ขั้นรุนแรงได้ ซึ่งการได้รับยาเร็วขึ้นจะส่งผลดีต่อการรักษามากขึ้น” เซอร์ เมเน […]

keyboard_arrow_up