อ้วน

จะอ้วนหรือไม่อ้วนอยู่ที่ “ปาก” กับ 8 ข้ออ้าง ตามใจปาก ที่คนชอบกินควรรู้ทัน!

Alternative Textaccount_circle
อ้วน
อ้วน

ใครที่น้ำหนักเยอะ อ้วน เคยคิดหรือไม่ว่าเรากินอาหารเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอาหารมื้อหลักๆ ที่เรากินนะ แต่นับทั้งหมดทั้งขนมหวานเอย ไอศกรีมเอย ที่กินไปเพราะอะไร ซึ่งเมื่อลองหาเหตุผลในการกินว่าทำไมคนถึงกินโน่นกินนี่ก็พบว่า จริงๆ มีเหตุผลที่จะกินหรือไม่กิน และจะอ้วนหรือไม่อ้วนอยู่ที่ “ปาก” กับ 8 ข้ออ้าง ที่คนชอบกินควรรู้ทัน!

  1. หิว
  2. อร่อย
  3. อยากชิม
  4. ไม่มีอะไรทำ
  5. เข้าสังคม
  6. เผลอ
  7. เสียดาย
  8. ต้องการสารอาหาร 

ซึ่งเท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็คือ 8 ข้อด้านบนนี้ หากใครนึกได้มากกว่านี้แจ้งกันมาได้นะคะ ว่าแต่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมถึงต้องแจกแจงเหตุผลในการกินอาหาร เพราะถ้าเราไม่ถามตัวเองว่ากินทำไม บางครั้งเราจะ “เผลอ” กินแบบเหตุผลข้อที่ 6 ได้

มีการศึกษาโดยการเอาข้าวโพดคั่วมาแจกให้คนที่ชมภาพยนตร์ โดยไม่ให้ทราบว่าเป็นการทดลองข้าวโพดคั่ว แบ่งเป็นกล่องกลาง และใหญ่ ก็พบว่ามีรสชาติจืดชืดมาก จนบางคนบอกว่าเหมือนกินเม็ดโฟมกันกระแทก แต่ปรากฏว่ามีผู้ชมภาพยนตร์ก็ยังกินข้าวโพดคั่ว ขณะที่เพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์โดยผู้ที่ได้รับกล่องใหญ่กินมากกว่ากล่องกลางถึง 173 แคลอรี่ หรือเท่ากับการล้วงมือหยิบข้าวโพดกว่า 21 ครั้ง กินมากกว่าผู้ที่ได้กล่องเล็กถึง 53% โดยเมื่อสอบถามถึงปริมาณที่กินผู้ที่ได้รับข้าวโพดคั่วกล่องใหญ่ไม่เชื่อว่าตนเองกินข้าวโพดคั่วมากกว่าคนที่ได้ข้าวโพดคั่วกล่องเล็ก จากหนังสือ mindless Eating, Dr. Brian Wansink,  ผู้ที่ได้รับฉายาว่า Sherlockholm of foods

และเพื่อไม่ให้เรากินแบบไร้สติเหมือนที่หนังสือเรื่อง Mindless Eating ทำงานวิจัยไว้ทุกครั้งที่กินเหล้าจนต้องถามตัวเองว่าเรากินเพื่ออะไรและเมื่อทราบเหตุผลแล้ว สิ่งที่เราควรทำคือดังนี้

1. ถ้าเรากินเพราะหิว

เวลากินให้ถามตัวเองว่าเราหายหิวหรือยัง เพราะบางครั้งเราบอกว่าเราหิวข้าวเราก็กินข้าวเพื่อให้หายหิวข้าว แต่เวลาเราเริ่มกินอาหารเราอาจจะหายหิวไปแล้วแต่ก็ยังกินต่อไปจนอิ่มแทบพุงแตก การกินอาหารไม่ให้อ้วนต้องกินแบบสาวปารีส ทำไมสาวฝรั่งเศสจึงไม่อ้วนแม้จะกินชีส ขนมปังไวน์ ฯลฯ

มีการทำแบบสอบถามให้ชาวปารีส และชาวชิคาโก 282 คน ตอบคำถามว่าพวกเขาจะหยุดกินเมื่อไหร่ ชาวปารีสตอบว่าพวกเขาจะหยุดกินเมื่อไม่รู้สึกหิว แต่ชาวชิคาโกจะหยุดกินเมื่ออาหารหมด เพราะฉะนั้นเวลาเรากินแต่ละคำให้เราสังเกตว่าความหิวยังอยู่หรือไม่ มันน้อยลงหรือเปล่า แต่ละคำที่เรากินมีผลต่อความหิวอย่างไรบ้าง

มีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรระวังคือ ความหิวลวง บางครั้งเรานึกว่าเราหิว แต่จริงๆ เราไม่ได้หิว และจำไว้ว่า เราไม่จำเป็นต้องกินทุกครั้งที่เราหิว เพราะมันอาจจะหิวไม่จริง  บางทีเรากินข้าวกลางวันตั้งเยอะ พอผ่านไปแค่ 2-3 ชั่วโมง เรารู้สึกหิวอีกแล้ว มันเป็นไปได้อย่างไร เราต้องคิดว่า บางครั้งที่เรารู้สึกหิว กระเพาะมันอาจจะบอกเราว่ามันรู้สึกทรมานจากการกินอาหารมากไปก็ได้ บางคนหิววันละ 5-6 ครั้ง และก็กินทุกครั้งที่หิว ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคนเรา เพราะฉะนั้นเราต้องจับให้ได้ว่า อันไหนคือหิวจริง อันไหนคือหิวลวง

2.ถ้าเรากินเพราะความอร่อย

หากกินเพราะความอร่อย คำแรกที่กินให้ถามว่าอร่อยหรือไม่ ถ้าไม่อร่อยก็เลิกกิน อย่าไปเสียดาย เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งเราเริ่มรู้สึกว่า ความอร่อยไม่คุ้มค่ากับการที่เราต้องเอาแคลอรี่ขนาดนี้เข้าไปในตัวเรา ซึ่งเราจะใช้วิธีกินเพื่อนความอร่อยแต่เพียงพอดีเท่านั้น ไม่กินในปริมาณที่มากเกินไป

3. กินเพราะอยากชิม

อาจจะมีหลายครั้งที่เราเห็นอะไรใหม่ๆ อาจจะดูน่ากิน หรือดูสีสันสวยงาม หรือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ เช่น เวลาที่เราไปต่างประเทศ เราจะรู้สึกอยากชิมอาหารนั้น เพื่อจะได้มีประสบการณ์ว่ามันเป็นอย่างไร และอร่อยหรือไม่ ถ้าเรากินเพราะอยากชิม ก็ให้เรารู้ว่าเรากินเพราะอยากชิม หากเราชิมแล้วรู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อยมากแบบที่คิด เราก็ไม่จำเป็นต้องกินให้หมด สามารถหยุดกินได้ทันที เมื่อเรารู้รสชาติแล้ว

อ้วน

4. กินเพราะไม่มีอะไรทำ

หลายครั้งเราไม่มีอะไรทำ เราเลยกิน เช่น เวลาที่เราไปเดินห้างสรรพสินค้า เดินไปเดินมา ไม่รู้จะทำอะไร แวะร้านกาแฟดีกว่า พอเราเข้าร้านกาแฟ ก็เลยต้องกินน้ำกาแฟ โกโก้ ขนมเค้กตามเรื่องตามราว หรืออยู่บ้านว่างๆ ไม่มีอะไรทำ ก็กินแก้เซ็ง ซึ่งจริงๆ แล้วเราควรวางแผนจัดการกับเวลาว่างของเราให้ดี เพราะถ้าไม่มีแผน เราก็จะทำเรื่องเดิมๆ อย่างเช่น การกินวนไป แต่ถ้าขณะที่คุณนั่งเฉย คุณรู้สึกมีความสุขกับลมหายใจเข้าออก หรือคุณรับรู้อยู่กับความรู้สึกและความคิดของคุณ หากเปลี่ยนจากใช้เวลาว่างมา อ่านหนังสือ หรือเดินจงกรมนั่งสมาธิ เช่น  เดินครึ่งชั่วโมง นั่งครึ่งชั่วโมง เวลาว่างของคุณก็จะน้อยลงไปอีก 1 ชั่วโมง แล้วคุณก็จะมีเวลาในการทำลายสุขภาพน้อยลง ผลที่ได้คือ คุณมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีสุขภาพกายที่ดีขึ้น และมีเงินเหลือมากขึ้น เพราะไม่ต้องเอาไปซื้ออาหาร มีหุ่นที่ดีขึ้นอีกด้วย

5. กินเพราะเข้าสังคม

บางครั้งเราอาจรู้สึกว่า เวลามีงานอะไรที่มีเลี้ยงอาหารถ้าเราไม่กินอาหารเลยจะดูแปลกประหลาด และดูไม่สุภาพ ความเป็นจริงก็อาจจะเป็นเช่นนั้นได้ แต่ส่วนใหญ่คนจะไม่ค่อยสนใจเราเท่าไหร่ หรือแค่ถามเป็นมารยาทว่าไม่กินอะไรเหรอ ในกรณีที่นั่งร่วมโต๊ะกันอาจเห็นได้ชัด และอาจดูแปลกประหลาดหากเราไม่กิน วิธีก็คือให้หาอะไรมาไว้ในจาน แล้วอย่ากินหมด ชวนคนนู้นคนนี้คุย เมื่อมีของในจาน คนก็จะไม่ค่อยคะยั้นคะยอให้เรากินสักเท่าไหร่ หรืออาจจะตักทุกรายการ แต่กินให้ช้าๆ ค่อยๆ กิน กินรายการละเล็กๆ หรือถ้ารู้ว่าหลีกเลี่ยงยาก เราก็วางแผนการกินมื้ออื่นในวันนั้นให้น้อยๆ เพื่อปริมาณอาหารที่เรากินในวันนั้นจะได้ไม่มากเกินไป

6. กินเพราะเผลอ

อันนี้หลายคนน่าจะเป็นบ่อย แต่ทำด้วยการตั้งสติ แล้วก็ถามตัวเองตามบทความนี้แหละครับ ว่ากินแต่ละคำเพราะอะไร เราก็จะไม่เผลอกันโดยไม่ได้รับประโยชน์อันใด

อ้วน

7. กินเพราะเสียดาย

ลองถามตัวเองว่า หากกินเพราะต้องกินให้หมดนั้น คิดว่าจะทำให้คุณอ้วนขึ้นหรือผอมลง แน่นอนว่าทุกคนคงรู้คำตอบดีอยู่แล้ว ว่าการกินข้าวหรือกินอะไรก็ตามที่ต้องกินให้หมด มันจะทำให้เราอ้วนขึ้น เพราะเรากินเยอะขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น หากเราต้องการจะผอม เราต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองใหม่ คือ อย่าไปเสียดายของที่เราอิ่มแล้ว เราก็จะไม่อ้วน

8. กินเพราะต้องการสารอาหาร

หากกินเพราะสาเหตุนี้ ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่คุณจะเป็นคนระวังอยู่แล้ว ว่าคุณอยากได้สารอาหารอะไร แต่หลายครั้งที่เรานึกถึงสารอาหารเป็นมื้อๆ แทนที่จะนึกถึงสารอาหารทั้งวัน เช่น บางมื้อคุณอาจจะอยากกินแค่ขนมก็เป็นได้ แต่คุณกินสเต๊กไปด้วย เพราะคุณคิดว่าเดี๋ยวไม่มีโปรตีน ทั้งๆ ที่มื้อก่อนหน้าก็กินไข่ไปแล้วสองฟอง ซึ่งจริงๆ แล้วเราอยู่ในยุคที่การขาดสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน หรือไขมัน น่าจะเกิดขึ้นยาก สารอาหารที่เราน่าจะขาดคงเป็นพวกแร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งถ้าคุณจะกิน เพราะกลัวแร่ธาตุและวิตามิน ไม่ค่อยน่าห่วง เพราะสารอาหารพวกนี้จะอยู่ในผักและผลไม้ ซึ่งไม่ค่อยอ้วน แต่ถ้าคุณกินเพราะกลัวขาดคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เลิกกินเพราะเหตุนี้ได้เลย เพราะโอกาสคงน้อยที่คุณจะขาดสารอาหารเหล่านั้น เนื่องจากอาหารในปัจจุบันเป็นอาหารประเภทที่อุดมไปด้วยสารอาหารทั้งสามอยู่แล้ว แต่คุณอาจจะได้สารอาหารไม่ครบในบางมื้อ แต่ถ้าโดยรวมแล้ว คุณได้รับเพียงพอในแต่ละวัน หรือหลายๆ วัน ก็ไม่น่าจะเป็นไร


อ้างอิง : หนังสือ Thing Slim คิดแบบคนผอม ผู้เขียน ชาตรี เตชะสมบูรณากิจ จัดจำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด

ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อร่อยแบบ 0 แคลอรี่ด้วย วิธี ลดน้ำหนัก ง่ายๆ ที่ไม่ใช่กินเข้าไปแล้วคายออกมา!

ท่องให้ขึ้นใจ! “คาถาหุ่นดี” สำหรับคนที่ต้องการ ไดเอท รูปร่าง แต่ไม่อยากอดอาหาร

ลองทำ 25 ข้อ เปลี่ยนพุงพลุ้ยเป็นหุ่นเพรียว แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การกินอยู่

โครงหน้าชัดเหมือนตอนสาวๆ “ตั๊ก บงกช” สวยเรียบหรูในเมคอัพโทนนู้ดนัวๆ

หุ่นเป๊ะเหมือนตอนเข้าวงการใหม่ๆ “ตั๊ก บงกช” ฟิตหุ่นจนเซี๊ยะ กล้ามหน้าท้องแน่น

เคยผอมแห้งสู่หุ่นสุดแซ่บชวนฝัน “แอน มนัสนันท์” เทรนเนอร์สาวผู้เลิฟชานมไข่มุก

หยุดตามใจปาก! บล็อกเกอร์สาวแชร์สูตรลดนน. 10 โลเปลี่ยนไซส์ L ไป S

หุ่นดีมาก “ชญาณิศา ชมชื่นดี” นักกระโดดค้ำสาวทีมชาติไทย กล้ามท้องฟิตเปรี๊ยะจนน่าอิจฉา

อยากหุ่นดีอย่าขี้เกียจ! “ออร์แกน” แนะเทคนิคเฟิร์มเฉพาะส่วน ไม่เอาแบบผอมเกินไป

“ตั๊ก บงกช” ย้ำกินตามกรุ๊ปเลือด และแนะลองแปะเมล็ดผักกาด ลดความอยากอาหาร!!

โครงหน้าชัดเหมือนตอนสาวๆ “ตั๊ก บงกช” สวยเรียบหรูในเมคอัพโทนนู้ดนัวๆ

หุ่นเป๊ะเหมือนตอนเข้าวงการใหม่ๆ “ตั๊ก บงกช” ฟิตหุ่นจนเซี๊ยะ กล้ามหน้าท้องแน่น

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up