"อาหารทะเล" ยังสามารถกินได้อยู่หรือไม่

โควิด-19 แพร่ระบาดเร็วแบบนี้แล้ว “อาหารทะเล” ยังสามารถกินได้อยู่หรือไม่

Alternative Textaccount_circle
"อาหารทะเล" ยังสามารถกินได้อยู่หรือไม่
"อาหารทะเล" ยังสามารถกินได้อยู่หรือไม่
หลายคนกังวลหลังจากสถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดที่สมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารทะเลขนาดใหญ่ ทำให้รู้สึกหวั่นเสี่ยงไม่กล้าทานอาหารทะเลกันนัก ซึ่งทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้พูดถึงเรื่องโควิด-19 กับ อาหารทะเล ไว้ว่า
อาหารทะเลโดยมากจะต้องทำความเย็นหรือแช่แข็งเพื่อให้คงคุณภาพได้ดี ถ้าชาวประมง ผู้ขาย มีการติดเชื้อโควิด-19 โอกาสที่จะเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเลและไวรัสคงชีวิตอยู่ได้นาน จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะตรวจพบไวรัสในอาหารทะเลแช่เย็น เช่นการตรวจพบในปลาแซลมอน กุ้งนำเข้าในประเทศจีน
"อาหารทะเล"

โควิด-19 แพร่ระบาดเร็วแบบนี้แล้ว “อาหารทะเล” ยังสามารถกินได้อยู่หรือไม่

การติดต่อของโรคโควิด-19 ผ่านทางอาหารทะเล มีการตั้งข้อสงสัยในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม อาหารทะเลสามารถบริโภคได้ถ้าปรุงสุก ความร้อนสามารถทำลายไวรัสได้อย่างแน่นอน โควิด-19 สามารถทำลายด้วยความร้อน 56 องศานานครึ่งชั่วโมง และถ้าความร้อนสูงขึ้นระยะเวลาก็จะสั้นลง โดยทั่วไปแล้วถ้าความร้อนสูงกว่า 85 องศา ก็จะมั่นใจในการทำลายไวรัสได้ และถ้าต้มให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาไวรัสจะถูกทำลายทันที
"อาหารทะเล" ปรุงสุก
ในช่วงที่มีการระบาดของโรค จึงไม่ควรรับประทานอาหารทะเลดิบหรือไม่สุก สิ่งที่จะต้องคำนึงคือการจับต้องกับอาหารทะเล ที่แช่เย็นมา จะต้องล้างมือให้สะอาด และชำระล้างอาหารทะเล โดยใช้น้ำสะอาดให้มีปริมาณมากพอ และจะต้องทำความสะอาดมือด้วยสบู่  ถ้าเป็นไปได้ควรใส่ถุงมือและล้างถุงมือ หรือใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทุกครั้งต้องล้างมือก่อนจับต้องใบหน้า
"อาหารทะเล" ปรุงสุก
ในระบบนำส่งอาหารทะเล ก็จะต้องมีมาตรการควบคุมดูแลเรื่องความสะอาด ตลอดเส้นทางอุตสาหกรรมอาหารทะเล โรงงาน จะต้องหมั่นตรวจดูคนงาน และอาจจำเป็นต้องสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการของโรค
อาหารทะเลยังคงรับประทานได้ตามปกติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะปลาทะเล แต่ขั้นตอนตั้งแต่ผลิตหรือจับมาจากชาวประมง จำหน่าย การเตรียมมาทำอาหาร ทุกขั้นตอนให้คำนึงเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย ในการจับต้องกับอาหารทะเลแช่เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

ข้อมูลจากเพจ FB : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
ภาพ : Pexels
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กรมอนามัย ย้ำ 10 แหล่งเสี่ยงโควิด การ์ดอย่าตก ลดการระบาดแพร่กระจายโรค

วัคซีนแค่ตัวช่วยเสริม! องค์การอนามัยโลก ยอมรับ จนท.WHO 65 ราย ติดโควิด-19

โควิด-19 ติดต่อโรคจาก ฝอยละออง หรือ ทางอากาศ กันแน่??

Praew Recommend

keyboard_arrow_up