ความผิดปกติหลัง "ฉีดฟิลเลอร์"

4 วิธีสังเกตภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติหลัง “ฉีดฟิลเลอร์”

Alternative Textaccount_circle
ความผิดปกติหลัง "ฉีดฟิลเลอร์"
ความผิดปกติหลัง "ฉีดฟิลเลอร์"

หลายคนนิยม ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) หรือสารเติมเต็มเข้าสู่ผิวหนัง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผิวริ้วรอยร่องลึกบริเวณต่างๆ ของใบหน้า แต่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังก่อนฉีด และปฏิบัติตามข้อแนะนำก่อนและหลังการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อลดโอกาสเกิดความผิดปกติหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อน

4 ข้อควรรู้ก่อน “ฉีดฟิลเลอร์” และ 4 วิธีสังเกตภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติหลังฉีด

การฉีดฟิลเลอร์ใช้สำหรับเติมเต็ม เพื่อแก้ปัญหาผิวริ้วรอยร่องลึกบริเวณต่างๆ ของใบหน้า โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ชนิดชั่วคราว และชนิดกึ่งถาวร

ชนิดชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นสารกลุ่มไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ (HA) ในการฉีดครั้งหนึ่งจะอยู่ได้นานประมาณ 1 – 2 ปี ส่วนชนิดกึ่งถาวร ในการฉีดครั้งหนึ่งอาจอยู่ได้ยาวนานเป็น 10 ปี

โดยส่วนใหญ่แพทย์จะไม่ค่อยแนะนำชนิดกึ่งถาวร เนื่องจากมักไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติเหมือนกลุ่มไฮยาลูรอนิค แอซิด เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทำให้การรักษาค่อนข้างยาก ดังนั้น ข้อควรปฏิบัติหรือสิ่งที่ควรทราบก่อนการฉีดฟิลเลอร์

  1. ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
  2. หากมีโรคประจำตัว มียาหรือวิตามินที่ต้องรับประทานประจำควรแจ้งแพทย์ก่อนทำการรักษาทุกครั้ง
  3. ควรเลือกยี่ห้อและชนิดของฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบข้อมูลจากบรรจุภัณฑ์ได้
  4. ควรตรวจสอบสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐานและมีใบอนุญาตถูกต้อง

การฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน ฉีดไม่ถูกตำแหน่ง หรือการเลือกใช้ตัวของผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดการไหลของฟิลเลอร์ ผิวหนังบิดเบี้ยวหรือบวมหนาผิดรูป และมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้

ความผิดปกติหลัง "ฉีดฟิลเลอร์" 1

วิธีการสังเกตภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติหลังการฉีดฟิลเลอร์

  1. สีผิวบริเวณตำแหน่งที่ทำการรักษาผิดปกติ เช่น ซีด หรือแดงคล้ำ
  2. มีอาการปวด บวม แดงหรือช้ำมากกว่าปกติ
  3. มีอาการชา
  4. มีอาการบวม แดง กดเจ็บ หรือทีหนอง ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อหรืออักเสบที่ผิวหนัง

หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยทันที และหลังฉีดฟิลเลอร์เสร็จ ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดและความร้อน ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ ควรงดการทำหัตถการบริเวณใบหน้า เช่น นวดหน้า หรือการใช้เครื่องมือที่อาจมีความร้อน รวมถึงหมั่นสังเกตความผิดปกติบริเวณใบหน้าโดยเฉพาะตำแหน่งที่ทำการรักษา ทั้งนี้ ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ หากต้องการคำแนะนำในการดูแลรักษาผิวพรรณที่ถูกวิธีแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง


ข้อมูล : กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จะได้ไม่งง! ฉีด “ฟิลเลอร์” แตกต่างจากการฉีด “โบท็อกซ์” อย่างไร? และข้อควรระวัง

เช็คลิสต์ 3 ข้อ ดูแลผิวแบบเข้าใจผิด พาลทำให้ผิวเป็นสิว มีริ้วรอย และดูแก่เกินวัย

สวยใสไม่เยิ้ม! 5 ทริคดูแล ผิวเนียนสวย สุขภาพดี ไร้สิว-จุดด่างดำ-ความมัน

วิธีแก้ปัญหาคราบขาวจาก ครีมกันแดด ผู้ร้ายทำลายผิวสวยเวลาต้องออกแดด

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up