เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าเชื้อชาติและวัฒนธรรม

เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม

Alternative Textaccount_circle
เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าเชื้อชาติและวัฒนธรรม
เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าเชื้อชาติและวัฒนธรรม

เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ไม่น่าเชื่อว่าทรงผมเพียงทรงเดียวจะมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อประเด็นด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมได้ขนาดนี้ ซึ่งอันที่จริง สีผิว รูปร่าง รสนิยม ทัศนคติ อะไรก็สามารถเป็นประเด็นดราม่าได้หมดหากเกิดจากการกระทำแบบไม่รู้ถึงตื้นลึกหนาบาง ไม่เว้นแม้แต่ทรงผม โดยเฉพาะ “ทรงผมเดรดร็อค (Dreadlocks)” เนื่องจากเป็นมากกว่าทรงผมธรรมดา แต่ผมทรงนี้ดันเป็นสัญลักษณ์ที่แฝงไปด้วยความละเอียดอ่อนมากมายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ผมเดรดล็อคของ Justin Bieber

เหตุผลที่ Justin Bieber ทำผมทรงเดรดล็อค แล้วเจอดราม่าด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ล่าสุดที่หนุ่มติสท์ Justin Bieber นักร้องซูเปอร์สตาร์ได้เปลี่ยนลุคใหม่สุดเซอร์หันมาทำผม “ทรงผมเดรดร็อค (Dreadlocks)” ก็หนีไม่พ้นโดนดราม่าตกเป็นเป้าวิจารณ์ทันทีว่า “จัสตินฉกฉวยวัฒนธรรมของคนผิวสีและนำประเด็นเรื่อง Black Lives Matter มาโปรโมตผลงานของตัวเองโดยไม่สนใจที่มารากลึกสักเท่าไรนัก” ซ้ำยังมีขุดไปถึงคำบรรยายใต้โพสต์เก่าอันหนึ่งของจัสตินเมื่อปี 2016 ว่า “การเป็นคนแปลกประหลาดมันสนุก ถ้าคุณไม่แปลกผมก็ไม่ชอบคุณ” ซึ่งคำบรรยายใต้โพสต์เมื่อหลายปีก่อนเพียงอันเดียว เหมือนเชื้อไฟที่สุมเพิ่มดราม่าให้นำมาโจมตีหนุ่มจัสตินได้ เพราะหลายคนเชื่อว่าจัสตินทำผมทรงนี้ เพราะความแปลกประหลาด และมันสนุกที่เขาจะเลือกทำผมทรงนี้!!!

แต่เหรียญย่อมมีสองด้าน ความคิดเห็นก็ย่อมสีสองฝั่ง เมื่อมีอีกกลุ่มคนหันมาปกป้องจัสตินว่า นี่มันยุคไหนแล้ว! โลกหมุนไว วัฒนธรรมลื่นไหลเกินกว่าจะเป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างเดียวเท่านั้น การดำรงอยู่ของบางสิ่งบางอย่างต้องพัฒนาไปพร้อมกับการหยิบวัฒนธรรมมาผลิตซ้ำหรือดัดแปลงของกลุ่มคนนอกสังคมต้นฉบับวัฒนธรรมบ้าง การสร้างจุดยืนให้ผลผลิตทางวัฒนธรรมแข็งแกร่งขึ้นเป็นสิ่งดี แต่บางครั้งก็อาจต้องยืดหยุ่นด้วยเช่นกัน

ผมเดรดล็อคของ Justin Bieber

ซึ่งก่อนหน้านี้ ในกรณีเดียวกันก็เคยเกิดประเด็นดราม่า “ทรงผมเดรดร็อค (Dreadlocks)” ที่หลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์คนผิวสีนั้น ถูกถกเถียงกันมาเรื่อยๆ ไม่เคยขาด ทั้งวงการแฟชั่นและวงการเพลง อาทิเช่น

ในงานนิวยอร์กแฟชั่นวีคปี 2016 แฟชั่นโชว์ของแบรนด์ Marc Jacobs ถูกคนบางกลุ่มโจมตีอย่างหนักว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติเมื่อดีไซเนอร์ให้นางแบบผิวขาวทำผมทรงเดรดร็อคสีสันสดใส

ซึ่งดีไซน์เนอร์ก็ออกมาโต้กลับอย่างเดือดผ่านอินสตราแกรมว่า “สำหรับพวกดราม่าเรื่องทรงผมและสีผม อยากรู้นักทำไมไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์ผู้หญิงผิวสีที่ไปยืดผมให้ตรงบ้างล่ะ เสียใจจริงๆ ที่หลายคนเป็นพวกจิตใจคับแคบ แรงบันดาลใจที่ไม่ว่าจะได้มาจากที่ไหนมันเป็นสิ่งที่สวยงามทั้งนั้น” แต่ประโยคดังกล่าว กลับกระพือให้ดราม่าหนักขึ้น จน Marc Jacobs ต้องออกมาขอโทษทีหลังถึงการพูดไม่คิด

ผมเดรดล็อคของ Justin Bieber

ทางด้านฝั่งวงการบันเทิงเกาหลีก็หนีไม่พ้นกระแสดราม่า “ทรงผมเดรดร็อค (Dreadlocks)” เช่นกันเมื่อ Jackson วง GOT7 ทำผมทรงเดรดร็อคในโฆษณา Pepsi ของประเทศจีน และก็ถูกโจมตีว่าฉวยโอกาสใช้วัฒนธรรม ซึ่งเขาก็ออกมาโต้กลับว่า

“ไร้สาระ ผมไม่คิดว่าผมจะเป็นคนเดียวที่ทำแบบนี้ คนที่เกลียดยังไงก็เกลียดวันยังค่ำ ผมเคราพรักทุกชนชาติ แต่ถ้าคุณคิดว่านี่เป็นการไม่เคารพกันและดูถูกในเรื่องชนชาติล่ะก็ ผมก็ต้องขอโทษด้วยครับ ผมตัดสินใจทำเรื่องนี้เพราะผมรักวัฒนธรรมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพลง ผู้คน ภูมิหลังหรืออะไรก็ตามแต่ ผมเคารพทุกอย่างด้วยใจของผมจริงๆครับ ทั้งหมดมันเป็นการเข้าใจผิดกันครับ”

หลังจากนั้นไม่นานทรงผมเดรดร็อคลุคใหม่ของหนุ่ม Kai วง Exo ในมิวสิควีดิโอ Ko Ko Bop ก็โดนประเด็นดราม่าแบบเดียวกันกับแจ็คสัน แต่เขาก็ไม่ได้ออกมาพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีเพียงแฟนๆ ที่ออกมาโต้แย้งแทน

และยังไม่นับรวมในอีกหลายวงการ เช่น วงการกีฬา ที่โดนดราม่านี้เช่นกัน

ผมเดรดล็อคของ Justin Bieber

และด้วยประเด็นดราม่าเหล่านี้ หลายคนจึงตระหนักว่า ทรงผมเดรดร็อค เปรียบดั่งสัญลักษณ์หนึ่งอันผูกกับศักดิ์ศรีของคนผิวสีไว้ ดังนั้นเมื่อคนขาวทำทรงผมนี้ที่เกิดจากวัฒนธรรมของคนผิวสี จึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนผิวสีล้วนถูกตั้งแง่ด้วยทัศนคติเหยียดหยามจากตราประทับที่สังคมยัดเยียดให้ ไม่ว่าจะสีผิวหรือทรงผมอันมาจากวัฒนธรรมของพวกเขานั้นต่างก็เคยถูกแสดงท่าทีต่อต้าน รวมถึงสร้างกฎระเบียบห้ามในสิ่งเหล่านั้นมาก่อน แต่กลับกันเมื่อคนผิวขาวหยิบจับสิ่งนั้นมาแสดงออกทางแฟชั่นบ้าง กลับได้รับเสียงยกย่องชื่นชมว่าเป็นผู้นำเทรนด์ จึงดูเหมือนเป็นการเอาเปรียบฉกฉวยวัฒนธรรมดีๆ ที่เขาภูมิใจมาใช้ แต่กลับไม่เคยเป็นปากเป็นเสียงให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เขาเผชิญเลย


ภาพ IG : justinbieber
ข้อมูลประกอบ : www.themacho.co/2018/dreadlock/

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘เจ้าชายวิลเลียม’ ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ถูกยกให้เป็น หนุ่มหัวล้านที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก

เคล็ดลับเมคอัพสาวฝรั่งเศส Jeanne Damas เผยผิวจุดไม่เพอร์เฟ็กต์บ้างให้ดูเป็นธรรมชาติ

Ma Rainey’s Black Bottom คว้ารางวัลออสการ์ สาขาแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม

Praew Recommend

keyboard_arrow_up