ศรีริต้า ออกกำลังกาย

“ศรีริต้า” ท้องโต 8 เดือนแล้ว ยังออกกำลังกายได้หรือไม่ ปลอดภัยไหม มีคำตอบ!

Alternative Textaccount_circle
ศรีริต้า ออกกำลังกาย
ศรีริต้า ออกกำลังกาย

ว่าที่คุณแม่ ศรีริต้า เจนเซ่น ณรงค์เดช ยังคงเป็นคุณแม่ที่สวยสตรอง และแซ่บไม่ต่างจากคุณแม่คนดังในวงการบันเทิงคนอื่นๆ ที่เมื่อตั้งครรภ์ก็ยังไม่ละทิ้งความมีวินัยในการออกกำลังกาย เพื่อดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่าศรีริต้านั้นออกกำลังกายเป็นประจำกับคุณสามีที่ดูแลอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ

ล่าสุด อายุครรภ์ของริต้าก็ป่องโตถึง 8 แล้ว แต่ก็ยังคงออกกำลังกาย และเล่นโยคะอยู่ โดยเจ้าตัวได้โพสต์คลิปวิดีโอขณะกำลังเล่นโยคะพร้อมลูกชายในครรภ์ และเขียนแคปชั่นไว้ว่า “ตอนนี้ริต้าท้อง 8 เดือน โยคะช่วยริต้ามากๆ ทำให้ร่างกายสมดุล มีสมาธิ ได้อยู่กับร่างกายเเละลมหายใจตัวเอง ยืดเหยียดร่างกาย เลือดไหลเวียนดีบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีเเรง
คุณแม่สามารถฝึกโยคะได้เหมือนคนปรกติ เช่น โยคะโฟลว์เหมือนในคลิป (ด้านล่าง) นี้ค่ะ แค่มีข้อห้ามบางอย่างในการฝึก เช่น งดการกระโดด ลดการกระแทก การบิดท้อง งด sit up ค่ะ เเละควรมีครูฝึกให้คําเเนะนํา @lullabyspabangkok”

“ศรีริต้า” ท้องโต 8 เดือนแล้ว ยังออกกำลังกายได้หรือไม่ ปลอดภัยไหม มีคำตอบ!

นอกจากโยคะแล้ว ริต้ายังออกกำลังแบบเข้ายิมอยู่เป็นประจำ โดยจะเล่นถือเวทเทรนนิ่งบริหารร่างกาย ข้างละ 4 กิโล โดยปัจจุบันคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย เนื่องจากพบว่าการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ มีประโยชน์และมีความปลอดภัย สามารถเริ่มทำได้ในทั้งผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนหรือออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งการออกกำลังกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องสุขภาพร่างกายของคุณแม่โดยตรงแล้ว แต่ยังช่วยลดหรือป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ช่วยป้องกันน้ำหนักขึ้นมากเกินระหว่างตั้งครรภ์
  • ช่วยป้องกันภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • ช่วยลดอาการปวดหลัง
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ด
  • ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าหรือทำให้อาการความเครียดดีขึ้น
  • ช่วยคงสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยป้องกันระยะการพักฟื้นและการดูแลหลังคลอดที่ฟื้นตัวนานเกินไป
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอที่ระดับปานกลาง โดย ช่วงแรกเริ่มจาก 15 นาที/วัน น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จากนั้นค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย จนได้ประมาน 20-30 นาที/วัน 3-5 วัน/สัปดาห์ (โดยรวมประมาน 150 นาที/สัปดาห์) เทียบเท่ากับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไป ผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนควรเริ่มที่ความหนักระดับเบาก่อน

รูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายรูปแบบแอโรบิคแรงกระแทกต่ำ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ (Hydrotherapy) ปั่นจักรยานแบบขี่อยู่กับที่ เต้นแอโรบิค เดินหรือแอโรบิคในน้ำ (Aquatic Treadmill Exercise) โยคะยืดกล้ามเนื้อท่าง่ายๆ สำหรับคนท้อง หากต้องการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น ยกเวท ดัมเบล วิ่ง หรือวิ่งเหยาะๆ ควรเป็นผู้ที่เคยออกกาลังกายชนิดนี้มาก่อนเป็นประจำ และควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ดูแล นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อรอบๆ ร่วมด้วยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด

การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ระดับหนักหรือมีแรงปะทะสูง เช่น ชกมวย บาสเก็ตบอล ฟุตบอล เป็นต้น กีฬาเฉพาะบางจำพวกหรือผาดโผน เช่น ดำน้าลึก กระโดดหน้าผา รวมทั้งการออกกำลังกายในที่ร้อนจัด เช่น โยคะร้อน บ่อหรืออ่างน้าร้อน เป็นต้น เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิของมารดาสูงเกินไปจนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้

ศรีริต้า ออกกำลังกาย

ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้เรื่อยๆ ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามระยะใกล้คลอด ถ้าไม่มีข้อห้ามในการออกกำลัง หรือข้อห้ามภายใต้ คำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ ควรได้รับคำแนะนำหรือปรึกษาสูตินรีแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูก่อน

ข้อห้ามในการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • มีโรคหัวใจหรือปอดอย่างรุนแรง
  • มีภาวะปากมดลูกหลวม
  • มีตั้งครรภ์แฝดหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • มีเลือดออกปากช่องคลอดในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ หรือมีเลือดออกจากปากช่องคลอดใดๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะรกเกาะต่ำหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์
  • มีถุงน้ำคร่ำแตก
  • มีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • มีภาวะซีดรุนแรง
  • มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  • มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไทยรอยด์ที่รุนแรงและควบคุมไม่ได้

ศรีริต้า ออกกำลังกายศรีริต้า ออกกำลังกาย ศรีริต้า ออกกำลังกาย ศรีริต้า ออกกำลังกายศรีริต้า ตั้งครรภ์ ศรีริต้า ตั้งครรภ์


ภาพ IG : sriritajensen
ข้อมูลประกอบ : bangkokhospital

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 เหตุผลที่ต้องเล่น โยคะ พร้อมเทียบความต่างจากการออกกำลังกายทั่วไป

สวยไม่เคยแผ่ว! “โย ยศวดี” ดูแลตัวเองดี ถึงวัยเลข 4 แต่ออร่าความเซ็กซี่ทวีคูณ

คุณมัมไม่อ่อนโยน! “พลอย เฌอมาลย์” เซ็กซี่ในลุคผิวแทน หุ่นเฟิร์มกล้ามท้องแน่น

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up