HPV
เช็คลิสต์ 5 เรื่องที่ควรระวัง สำหรับสาววัย 30 อัพ เพราะสุขภาพไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
สาวๆ ยุคใหม่ที่มักจะออกมาทำงานนอกบ้าน รับผิดชอบชีวิตตัวเอง ไม่ได้ดูแลแค่งานบ้านเหมือนในสมัยก่อนๆ หลายครั้งอาจจะวุ่นวายอยู่กับภารกิจรายวันจนละเลยเรื่องของสุขภาพกันไป ทำให้บ่อยครั้งกว่าจะรู้ว่ามีอาการป่วยก็ลุกลามรุนแรงจนรักษากันยาก ลองมาเช็คกันค่ะว่าสาวๆ โดยเฉพาะสาวๆ ที่เริ่มเข้าสู่วัยเลข 3 ควรจะมีแนวทางการตรวจเช็คสุขภาพกันอย่างไรบ้าง มีโรคอะไรบ้างที่ควรระวังและตรวจดูกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะสำหรับหลายๆ โรค หากตรวจพบได้เร็ว ก็อาจจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า และมีโอกาสหายขาดได้ค่ะ เช็คลิสต์สุขภาพ 5 เรื่องที่ควรระวัง ตรวจเลือด-ตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐาน ทั้งการตรวจ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อดูความผิดปกติของค่าต่างๆ ทั้งเป็นข้อบ่งชี้ของอาการของโรคหลายๆ โรค ทั้ง ธาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย ภาวะดีซ่าน โรคที่เกี่ยวกับตับ โรคที่เกี่ยวกับไต ไขมันในเลือด เบาหวาน ไทรอยด์ รวมถึงโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส การตรวจความผิดปกติของเต้านม หรือการตรวจมะเร็งเต้านม เพื่อหาความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม เพราะการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีการเกี่ยวข้องกับสารเคมีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในอาหารซึ่งมักจะมีฮอร์โมนในปริมาณที่สูง ไม่ว่าจะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของหมู หรือ ไก่ รวมถึงการใช้ยาในสัตว์ต่างๆ เมื่อได้รับสารเคมี และฮอร์โมนเหล่านี้เข้าไปในร่างกายแล้ว ก็อาจส่งผล ไปกระตุ้นเซลล์ให้เติบโตผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ สาวๆ […]
ฉีดไว้ก็ดี! วัคซีนสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นเพศที่การทำงานอวัยวะในร่างกายซับซ้อน
นอกจากการรับวัคซีนตามช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัคซีนทั่วไปที่แนะนำในวัยผู้ใหญ่ เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานโรค ผู้หญิงถือเป็นอีกกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนตามความเหมาะสม เนื่องจากเพศหญิงมีการทำงานของอวัยวะในร่างกายที่ซับซ้อน โดยเฉพาะช่วงการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลถึงทารกในครรภ์อีกด้วย ซึ่ง วัคซีนสำหรับผู้หญิง แม้ผู้หญิงมากกว่า 50% จะตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่ตามหลักการแล้วผู้หญิงทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นก่อนที่จะตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรมีการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบ โดยมีวัคซีน ดังนี้ ฉีดไว้ก็ดี! วัคซีนสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นเพศที่การทำงานอวัยวะในร่างกายซับซ้อน วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรค โดยควรฉีดปีละ 1 ครั้งทุกปี วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก ผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับวัคซีนทั้ง 3 ชนิดนี้มาก่อน ควรได้รับวัคซีนเหล่านี้ทุกสิบปี วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (HAV) โดยฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อเช็คภูมิคุ้มกันก่อน หากไม่มีภูมิ ให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม หลังจากนั้น 2 เดือนให้ทำการตรวจภูมิคุ้มกันอีกครั้ง ถ้าพบภูมิคุ้มกัน ไม่จำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 2 […]
ปลุกพลังนิวเจน! ชวนป้องกันมะเร็งจากเชื้อ HPV เชื้อก่อมะเร็งที่ติดได้ทั้งชาย – หญิง
ไวรัส HPV สาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูก และยังเป็นตัวการก่อมะเร็งหลายชนิด ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ขอบอกเลยว่าโรคมะเร็งไม่ได้อยู่ห่างไกลจากชีวิตคนไทย เพราะรู้ไหมว่าในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกพบบ่อยเป็นอันดับ 2 และมีหญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยถึงวันละ 14 คน ทำให้คนรุ่นใหม่ทั้งชาย – หญิงออกมารณรงค์เรื่อง “NO HPV” ในโลกโซเชียลกันอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้วัยรุ่นทั้งชายและหญิงหันมาดูแลตัวเอง โดยการฉีดวัคซีน HPV เพราะนอกจากจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศ มะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย อีกทั้งในปัจจุบันหลายๆ ประเทศ ได้บรรจุวัคซีน HPV ให้เป็นวัคซีนพื้นฐาน เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง ซึ่งในประเทศไทยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีน HPV ฟรีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้ หลายคนอาจคิดว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องไกลตัว หรือเขินอายที่จะไปฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยจากสถิติพบว่าผู้หญิงและผู้ชายในวัยผู้ใหญ่ มีโอกาสติดเชื้อ HPV 80-90% และเกือบ 100% ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย นอกจากเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้ด้วย และเมื่อติดเชื้อแล้ว จะไม่ปรากฏอาการ ซึ่งเชื้อ HPV […]
มะเร็งปากมดลูกครองแชมป์คร่าชีวิตหญิงไทย
“มะเร็งปากมดลูก” เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในผู้หญิงไทย ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในประเทศไทยประมาณ 10,000 คนต่อปี หรือ วันละ 27 ราย