‘ไข้หวัดใหญ่’ เกิดจากอะไร? ใครเสี่ยงบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันทุกสายพันธุ์

ฤดูฝนมาพร้อมๆ กับการระบาดของทั้ง ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ และบี เราจะป้องกันได้อย่างไร และเมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์ รวมไปถึงการเช็คอาการของโรค สำหรับนำไปเฝ้าระวัง สังเกตตนเองและคนรอบข้าง เพื่อเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัย และการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันอย่างเหมาะสม โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีไข้ ไอ น้ำมูก คัดจมูก จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย โดยอาการคล้ายกับไข้หวัด แต่มักจะรุนแรงกว่าและหายช้ากว่า บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จนทำให้มีอาการหอบเหนื่อยได้ การแพร่กระจายของเชื้อทางการหายใจ โดยการรับเชื้อที่ปนเปื้อนที่อยู่ในอากาศ จากการ ไอ จาม หรือพูดของผู้ที่ป่วยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่นหรือพื้นที่ปิด เช่น โรงเรียน ออฟฟิต การสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย จากมือที่สัมผัส แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 […]

ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19

จากหัวข้อด้านบนหลายคนอาจสงสัย ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น เพราะทั้งไข้หวัดใหญ่รุ่นพี่ และเพื่อนรุ่นน้องอย่างโควิด-19 เป็นโรคติดต่อจากระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงไวรัสที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อมาจากไวรัสคนละชนิดกัน สำหรับ ไข้หวัดใหญ่ เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนโควิด-19 เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่พบในปี 2019 และเป็นที่ทราบกันดีอีกว่าโรคโควิด-19 นั้น สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วภาษีความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยบางส่วนจะมากกว่าเยอะ และแน่นอนว่าการจะวินิจฉัยแยกโรคการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดออกจากกัน ลำพังการดูจากประวัติ และอาการ หากการแสดงอาการไม่เพียงพอที่บอกได้ นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมจะต้องทำการตรวจ การทดสอบโรคทุกครั้งหากมีอาการที่ชวนสงสัย โดยในวันนี้จะกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อนรุ่นพี่ซึ่งอินเทรนด์ในช่วงหน้าฝนที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทย โดย นพ.ณฐนัท ช่างเงินชญช์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวชได้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โดยรวบรวมไว้ในบทความให้ความรู้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการติดต่อ สาเหตุ อาการ กลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่รู้จักกันดี และเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากสำหรับคนไทย เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก สามารถติดต่อได้ง่าย จึงทำให้มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น ถึงแม้ไข้หวัดใหญ่จะไม่มีความรุนแรงสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง แต่ก็มีผลทำให้ไม่สบาย ไม่สามารถไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานต่ำ โรคอาจจะเกิดความรุนแรงได้ […]

แพทย์เตือน ไข้หวัดใหญ่ กำลังมา ย้ำกลุ่มเสี่ยงเร่งฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลดเสี่ยง Flurona

แพทย์เตือน ไข้หวัดใหญ่ กำลังมา ย้ำกลุ่มเสี่ยงเร่งฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลดความเสี่ยง Flurona พร้อมลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ถึง 10% นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทั่วโลกประกาศใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจทั้งหมดลดลง ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่, โรค RSV เชื้อไวรัสในเด็กเล็ก เนื่องจากมีการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ช่วงปี พศ. 2563 – 2564 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกลดลง ประมาณ 70-80 เท่า แต่เมื่อไรก็ตามที่นโยบายถอดหน้ากากอนามัยปฎิบัติมากขึ้น โรคไข้หวัดใหญ่ก็จะกลับมาอีก รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เผยว่า “สิ่งที่น่าวิตกกังวล คือ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มมีสัญญาณการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้เห็น อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป แอฟริกาใต้ จีน และอินเดีย เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 มีการเปิดประเทศกันมากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มกันมากขึ้น อีกทั้งประชาชนเริ่มมีวินัยลดลง ขณะที่ในทวีปยุโรป อย่างประเทศเดนมาร์ก ได้ออกประกาศยกเลิกมาตรการป้องกันโควิดเกือบทั้งหมด ไม่มีการกักตัว ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย โดยปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้เริ่มมีปรากฎการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ยังคงมีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก […]

ฉีดไว้ก็ดี! วัคซีนสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นเพศที่การทำงานอวัยวะในร่างกายซับซ้อน

นอกจากการรับวัคซีนตามช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัคซีนทั่วไปที่แนะนำในวัยผู้ใหญ่ เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานโรค ผู้หญิงถือเป็นอีกกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนตามความเหมาะสม เนื่องจากเพศหญิงมีการทำงานของอวัยวะในร่างกายที่ซับซ้อน โดยเฉพาะช่วงการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลถึงทารกในครรภ์อีกด้วย ซึ่ง วัคซีนสำหรับผู้หญิง แม้ผู้หญิงมากกว่า 50% จะตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่ตามหลักการแล้วผู้หญิงทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นก่อนที่จะตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรมีการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบ โดยมีวัคซีน ดังนี้ ฉีดไว้ก็ดี! วัคซีนสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นเพศที่การทำงานอวัยวะในร่างกายซับซ้อน วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรค โดยควรฉีดปีละ 1 ครั้งทุกปี วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก ผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับวัคซีนทั้ง 3 ชนิดนี้มาก่อน ควรได้รับวัคซีนเหล่านี้ทุกสิบปี วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (HAV)  โดยฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อเช็คภูมิคุ้มกันก่อน หากไม่มีภูมิ ให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม หลังจากนั้น 2 เดือนให้ทำการตรวจภูมิคุ้มกันอีกครั้ง ถ้าพบภูมิคุ้มกัน ไม่จำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 2 […]

“ผู้ใหญ่ก็ต้องฉีดวัคซีน” แม้จะเคยฉีดตอนเด็กๆ ป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา

ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าเด็ก แต่สำหรับบางโรค แม้ว่าเราจะเคย ฉีดวัคซีน แล้วตอนเด็กๆ ระดับภูมิคุ้มกันกลับค่อยๆ ลดลงจนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีโรคที่อุบัติใหม่ขึ้นอยู่เสมอ ทำให้มีการค้นพบวัคซีนใหม่ๆ ดังนั้น วัคซีนจึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้เฉพาะเด็กเล็กอีกต่อไป พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จะมาเล่าถึงวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่นะคะ ว่ามีอะไรบ้าง วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-Mumps-Rubella Vaccine : MMR) โดยปกติผู้ที่เคยฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีก เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ควรได้รับวัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญเจริญพันธุ์ควรได้รับวัคซีนชนิดนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 3 เดือนหลังฉีดวัคซีน   วัคซีนอีสุกอีใส […]

รู้หรือไม่? ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากโรค Covid-19 และ ไข้หวัดใหญ่ เป็นกลุ่มเดียวกัน

รู้หรือไม่? ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากโรค COVID-19 และ ไข้หวัดใหญ่ เป็นกลุ่มเดียวกัน Covid-19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาที่ทำให้มีไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ มากไปกว่านั้นผู้ป่วย 1 คนสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 2-4 คน มีรายงานการเสียชีวิตจากโรคประมาณ ร้อยละ 4.6 ส่วน ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจคล้ายคลึงกับโรค Covid-19 ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจมีบางรายที่มีอาการรุนแรง สาเหตุการเสียชีวิตของทั้งสองโรคนี้ มากจากภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปอดบวม ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้มากกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังนั้น องค์การอนามัยโลกภูมิภาคพื้นยุโรป จึงแนะนำและให้ความสำคัญกับการให้วัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal) ในประชากรที่เป็นกลุ่มเสียงในช่วงการระบาดของโรค Covid-19 Covid-19 กับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การแยกระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่กับ Covid-19 อาจจะทำได้ยากหากดูเพียงอาการภายนอก เพราะอาการของโรคทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ […]

โควิด-19 ยังไม่ทันซา “ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก” ก็แซงหน้าอัตราป่วยทำสถิติสูง

แม้อากาศบ้านเราจะร้อนมาก แต่ก็เริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้ว ช่วงนี้ทุกคนจึงต้องระมัดระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจจะกลับมาระบาดระลอก 2  เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อร่วมลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด เรียกตามภาษาที่เข้าใจกันว่า “การ์ดอย่าตก” แล้ว อีกทางหนึ่งก็อย่าประมาทกับโรคระบาดที่มักจะมาเยี่ยมเยียนตามฤดูกาลด้วย โรคที่ว่านี้คือ ไข้หวัดใหญ่ ที่มาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา และ ไข้เลือดออก ที่มาจากการเพาะพันธุ์ของยุงลายตัวพาหะของโรค โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ทั้ง 2 โรคสามารถติดได้พร้อมกันอีกด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ แพทย์หญิงนลินรัตน์ รักแดง กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับทั้ง 2 โรคนี้ เพื่อจะได้รู้เท่าทันและเฝ้าระวังเพื่อให้ห่างไกลจากโรคนี้กัน โรคไข้หวัดใหญ่ จัดเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาการของโรคคือ มีไข้สูง ไอ มีน้ำมูก อ่อนเพลียเฉียบพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เจ็บคอ คอแดง สามารถติดต่อกันได้จากการหายใจ ไอ และจาม  โดยประเทศไทยนั้นมีสถิติการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ค่อนข้างสูง มีข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่า เพียง […]

keyboard_arrow_up