โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมแนะวิธีป้องกันผิวจากแดดที่แผดเผา

ปีนี้อากาศร้อนไม่ธรรมดา ล่าสุด กรมอุตุฯ เตือนประเทศไทยร้อนจัด อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 42 องศา แนะเลี่ยงทำงานกลางแจ้งนานๆ ซึ่งแพทย์ผิวหนังก็ชี้เพิ่มเติมว่าต้องระวัง โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมแนะนำการดูแลและป้องกันผิวจากแสงแดดแบบเบื้องต้นที่ถูกวิธี หมั่นสังเกตตนเองหากมีความผิดปกติทางผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งพอเข้าสู่ช่วงเดือนเมษายนทีไร ประเทศไทยก็ยิ่งอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ปีนี้พุ่งถึง 42 องศา ทำให้เราอาจต้องพบเจอกับโรคผิวหนังที่อาจมากับอากาศร้อนและแสงแดด ดังนั้น ควรดูแลผิวพรรณ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงและที่ไม่ได้ป้องกัน สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดดโดยตรง เช่น หมวก ร่ม และการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอทั้งใบหน้าและลำตัว ในปริมาณที่เพียงพอ คือ ประมาณสองข้อนิ้ว ทาออกแดดก่อนสามสิบนาที เเละหมั่นทาซ้ำบ่อยๆ ทุกสองชั่วโมง หากมีผื่นหรือความผิดปกติใดๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ซึ่งโรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักด้านล่างนี้ หากมีอาการ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ข้อมูล: สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ภาพ: Pexels

6 โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน พร้อมวิธีป้องกันด้วยตัวเองเบื้องต้น

ช่วงนี้ฝนตกแทบทุกวัน หน้าฝนเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้ง หลายคนยังต้องเดินทางไปทำงานนอกบ้าน อาจต้องโดนฝน ลุยน้ำ เสื้อผ้าเปียก ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังตามมาได้ง่าย ซึ่ง โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝนคือ โรคน้ำกัดเท้า โรคกลาก และเกลื้อน โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงกัดต่อย โรคเท้าเหม็น และสิวเห่อ หมั่นสังเกตตนเองอยู่เสมอหากมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง 6 โรคผิวหนัง ยอดฮิต ที่มากับหน้าฝน คือ 1. โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot)  โรคผิวหนังที่เกิดกับเท้า และซอกนิ้วเท้า มีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes  ซึ่งก็คือเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคกลากนั่นเอง ความอับชื้นของถุงเท้ารองเท้า จากการลุยฝนลุยน้ำ มีส่วนทำให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดี และหรืออาจติดจากสิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อนี้อยู่ก็ได้ และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ การดูแลรักษา สามารถให้ยาทาฆ่าเชื้อราภายนอก หรือพิจารณาให้ยากิน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งความกว้างของพื้นที่ติดเชื้อ และภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วยเองด้วย 2. โรคกลาก (Dermatophytosis) และเกลื้อน ( Tinea Versicolor) คือ โรคผิวหนังติดเชื้อรา […]

keyboard_arrow_up