10 ‘โรคจิตเวช’ ที่พบบ่อย มีอาการต่างกันอย่างไร? ควรหมั่นสังเกต พร้อมแนวทางรักษา

ปัจจุบันคนไทยที่ป่วยด้วย โรคจิตเวช มีไม่น้อย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วยและบางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยการสังเกตอาการคนรอบข้างรวมถึงตัวเองเกี่ยวกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนรักษาก่อนอาการรุนแรง และนี่คือ 10 โรคจิตเวช สำคัญที่ควรรู้ เพื่อให้ได้ลองสังเกตตนเอง รวมถึงการสังเกตคนรอบข้างว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยหรือไม่ จะได้รับมือและรับการรักษาที่ถูกต้อง 1. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder)เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่ายเป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ ความรู้สึกไร้ค่าเป็นภาระ พฤติกรรมการกินอาหารและการนอนเปลี่ยนไป เหนื่อยเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน บางรายอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง 2. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)อาการที่เด่นชัด คือ กังวลหรือคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ หยุดความคิดที่เกิดขึ้นไม่ได้จนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดตึงต้นคอ ใจสั่น อ่อนเพลีย นอนหลับได้ยาก มีอาการอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งโรควิตกกังวลสามารถแบ่งประเภทได้ เช่น […]

keyboard_arrow_up