Work From Home ปั่นงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม

บางสายงานสามารถทำงานออนไลน์ได้ที่บ้านในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด ถือว่ายังโชคดีที่มีงานทำ แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างอื่นมาแทนที่ ด้วยโลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัวแล้ว เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกต่อยอดและพัฒนาเป็นอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของแต่ละอาชีพ สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์  การทำงานหรือทำธุรกิจในปัจจุบัน สามารถทำที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีอุปกรณ์สื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย ไม่ติดความจำเจ แต่บางครั้งถ้าไม่ได้ทันระวังหรือติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้จนไม่สนใจคนรอบข้างหรือครอบครัว อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคออฟฟิศซินโดรม โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น Work From Home ปั่นงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เสี่ยง จอประสาทตาเสื่อม ปัจจุบันพบว่า อุปกรณ์หลายชนิดที่เราใช้กัน เป็นแหล่งกำเนิดแสงสีฟ้า ที่อาจมีผลกระทบต่อดวงตา แสงฟ้าในชีวิตประจำวันนั้น มาจากอะไรได้บ้าง ดวงอาทิตย์ มีปริมาณของแสงที่มีความเข้มมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเฉพาะจากหลอด LED จอคอมพิวเตอร์ จอโน๊ตบุ๊ค จอโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต แสงสีฟ้า ที่ควรระวัง แสงสีฟ้าที่เจอนั้นมี 2 ประเภท ได้แก่ […]

รู้หรือไม่? แสงไม่จ้าก็ทำร้ายดวงตาได้ จึงควรพักสายตาด้วยกฎ 20-20-20

รู้หรือไม่? แสงไม่จ้าก็ทำร้ายดวงตาได้ จึงควรพักสายตาด้วยกฎ 20-20-20 รายงานการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 ประชากรกว่าครึ่งโลกหรือคิดเป็นจำนวนกว่า 50 ล้านคนจะมีปัญหาภาวะสายตาสั้น! จึงขอแนะเคล็ดลับการเลือกเลนส์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน เพราะดวงตาถูกออกแบบมาเพื่อรับ “แสง” และสร้างการมองเห็นของมนุษย์ ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับสภาพแสงหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ แสงหลอดไฟในอาคาร หรือแม้แต่ช่วงแสงสีน้ำเงินอมม่วงที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตาเมื่อเราจ้องมองอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะแสงสีน้ำเงินที่ในปัจจุบันมีการตื่นตัวกันอย่างกว้างขวาง เพราะงานศึกษาหลายชิ้นระบุว่าผู้คนกว่า 68% มีอาการอ่อนล้าทางสายตา เพราะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน และมีความเสี่ยงต่อภาวะจอประสามตาเสื่อมจากแสงสีน้ำเงินอมม่วง อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดกระบอกตา และบางรายอาจมีอาการมองเห็นภาพเบลอร่วมด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงนั้น แสงธรรมชาติ แสงหลอดไฟ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดก็สามารถทำร้ายดวงตาเราได้มากเช่นกัน โดยแสงธรรมชาติจะมาพร้อมกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นอันตรายกับดวงตาเราและเป็นหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเร่งการเสื่อมอายุของเลนส์ตาที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจก โดยเฉพาะดวงตาของเด็กเล็กยิ่งมีความไวต่อรังสียูวีมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า แม้การออกไปรับแสงธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายในการสังเคราะห์วิตามินดีเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก แต่ดวงตาก็จำเป็นต้องได้รับการปกป้องด้วยเช่นกัน วิธีการปกป้องดวงตาที่ต้องท้าแสงในกิจกรรมรูปแบบต่างๆ   กิจกรรมในพื้นที่ร่ม เมื่ออยู่ในอาคาร สิ่งที่พึงระวังคือแสงสีน้ำเงินอมม่วงจากการทำงานหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน จึงควรเลือกเลนส์แว่นตาที่สามารถปกป้องดวงตาจาก “แสงร้าย” เลือกกรองเฉพาะช่วงแสงสีน้ำเงินอมม่วงจากอุปกรณ์ดิจิทัลและหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นอันตราย ในขณะที่ให้ “แสงดี” สีน้ำเงินอมเขียวที่ช่วยปรับอารมณ์ และทำให้ร่างกายตื่นตัว แอคทีฟ ผ่านเข้าสู่ดวงตาได้ […]

เลนส์ตัดแสงสีฟ้า จำเป็นหรือไม่ เพราะแสงสีฟ้ามีอยู่ทุกที่ ทั้งกลางแจ้งและในร่ม

เวลาไปตัดแว่น นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยวัดค่าสายตา เลือกแว่นให้เข้ากับใบหน้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะพบกับคำถามที่ว่า “จะใส่เลนส์ตัดแสงด้วยไหมค่ะ หรือจะเพิ่ม เลนส์ตัดแสงสีฟ้า ด้วยไหมค่ะ”? แล้วแสงสีฟ้าคืออะไร มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องเพิ่มออฟชั่นนี้ด้วย คุณชนิตา ตันเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแว่นตาจาก Chic Optical ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าแสงสว่างหรือแสง UV นั้น ช่วยทำให้เรามองเห็นได้ดีขึ้น ซึ่งถ้าปริมาณความสว่างไม่พอ จะส่งผลทำให้เรามองเห็นชัดได้น้อยลง ที่มาของแสงนอกจากดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติแล้ว พวกแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็สามารถให้แสงสว่างได้เหมือนกัน เช่นหลอดไฟ LED หน้าจอมือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ จอ TV  จอโน๊ตบุค
 จอแทบเล็ต 
แม้สิ่งเหล่านี้มีผลดีให้ความสว่างกับเราได้ แต่รู้ไหมคะว่าในความสว่างนั้นยังมีความอันตรายจาก แสง UV ซ่อนอยู่โดยเฉพาะ ที่เราเรียกว่า “แสงสีฟ้า” แสงสีฟ้าคือแสงที่เรามองเห็นอยู่ทุกๆ วัน ถือเป็นหนึ่งในสามของแสงขาวจากแสง UV สามารถมองเห็นได้และมีพลังงานสูง หรืออธิบายได้ดังนี้ว่า
แสงทั้งหมดมี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง […]

keyboard_arrow_up