‘กัญชาทางการแพทย์’ รักษาโรคผิวหนังและเวชสำอาง แบบไหนที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ให้ความรู้เรื่องคุณสมบัติของ ‘กัญชาทางการแพทย์‘ ที่รักษาโรคผิวหนังเกี่ยวข้องกับการอักเสบของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงินโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง สิว โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด และโรคผมร่วงบางชนิด เป็นต้น และนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเวชสำอางได้ กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis มีสารประกอบแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้ ระบบการทำงานของ Cannabinoid ในผิวหนัง มีความเกี่ยวข้องกับรักษาสภาวะสมดุลของผิวหนัง ความแข็งแรงของผิวหนัง รวมถึงการซ่อมแซมตนเองของผิวหนัง โดยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในกัญชา คือ 1. Delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) สาร THC ในกัญชามีผลต่อจิตประสาท แต่ก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร 2. Cannabidiol (CBD) สาร CBD ในกัญชามีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง 3. Terpenes (สารเทอร์ปีน) สารเทอร์ปีนในกัญชาจะให้กลิ่นและรสชาติเฉพาะของกัญชา มีคุณสมบัติช่วยในการบำบัดรักษาโรค […]

keyboard_arrow_up