ไทรอยด์

ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

Alternative Textaccount_circle
ไทรอยด์
ไทรอยด์

แม้ภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากผิดปกติ บ่อยครั้งจะเกิดจากโภชนาการและการปฏิบัติตัว แต่หลายครั้งปัญหาดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินได้ด้วย นอกจากนี้ ภาวะ ไทรอยด์ ทำงานผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณแรกของมะเร็งต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญอย่างมาก 

ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก 

ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ภาวะพร่องไทรอยด์ และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน 

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

1) ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือ ไทรอยด์ต่ำ อาการเป็นอย่างไร 
ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หมายถึงภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น  

หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด สับสน หัวใจวาย มีภาวะไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  

ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน จากกรรมพันธุ์ หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์  เป็นต้น 

  • การเผาผลาญของร่างกายลดลง  
  • น้ำหนักขึ้น  
  • ขี้หนาว  
  • เฉื่อยชา  
  • เหนื่อยง่าย  
  • ท้องผูก  
  • ปวดตัว  
  • ผิวแห้งและหยาบ  
  • ความต้องการทางเพศลดลง  
  • ประจำเดือนผิดปกติ  

หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด สับสน หัวใจวาย มีภาวะไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  

ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน จากกรรมพันธุ์ หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์  เป็นต้น 

2) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร 
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) คือภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น  

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย  
  • มือสั่น  
  • น้ำหนักลด  
  • อยากอาหาร  
  • ท้องเสีย  
  • ผิวหนังบาง อุ่นและชื้น  
  • ประจำเดือนผิดปกติ  
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก  
  • นอนไม่หลับ  
  • ผมร่วง  
  • ตาโปน  
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์   

ไทรอยด์ 01

ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร

ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย หากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยจนเกินไปก็อาจทำให้การเผาผลาญของร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดการสะสมพลังงานในร่างกายมากขึ้น  

ไทรอยด์ อ้วน : ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของน้ำและเกลือแร่ซึ่งก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์จะมีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้ แม้มีภาวะพร่องไทรอยด์เพียงเล็กน้อย และหากมีอาการมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ถึง 5-15 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

ไทรอยด์ ผอม : ส่วนในผู้ที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะผอมเกินไป น้ำหนักไม่ขึ้นแม้จะพยายามกินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วร่วมด้วย 

การป้องกันภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ

กินอาหารที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอสามารถป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีนได้ และการลดหรืองดสูบบุหรี่จะช่วยลดการเกิดโรคจากไทรอยด์ได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีที่แน่นอนที่ช่วยป้องกันโรคจากไทรอยด์ได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรรับการตรวจติดตามเป็นระยะ และผู้ที่มีอาการของภาวะไทรอยด์ผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 

การรักษาภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ สามารถรักษาได้โดย

  1. การใช้ยา สามารถรักษาได้ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะไทรอยด์เกิน โดยการใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ มีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์และปรับยาเป็นประจำ ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือปรับยาเองอย่างเด็ดขาด 
  2. การกลืนแร่รังสีไอโอดีน เป็นการรักษาภาวะไทรอยด์เกินอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และอาจก่อให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์เรื้อรังจากการที่เซลล์ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายได้ 
  3. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มาก เกิดภาวะผิดปกติจากฮอร์โมนไทรอยด์ที่ผิดปกติมาก การรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากรักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ 

การผ่าตัดไทรอยด์ มีทั้งการผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบไร้แผล

  • การผ่าตัดแบบเปิด (Conventional Thyroidectomy) คือการผ่าตัดและนำต่อมไทรอยด์ออกจากแผลผ่าตัดที่ด้านหน้าลำคอ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลาย แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน และตัดก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่รวมถึงต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกไปจนหมด แต่ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นที่ด้านหน้าลำคอ อาจส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจได้ นอกจากนี้ อาจเกิดผลข้างเคียงต่อเส้นประสาทกล่องเสียงจึงมีผลต่อการพูดได้ 
  • การผ่าตัดแบบไร้แผล (Scarless Thyroidectomy) พัฒนามาจากการผ่าตัดไทรอยด์แบบแผลเล็กทางรักแร้ แต่วิธีนี้ทำการผ่าตัดได้ยากเพราะระยะทางจากรักแร้และไทรอยด์มีระยะทางไกล และหากจำเป็นต้องผ่าตัดทั้งสองข้างก็จำเป็นต้องผ่าตัดจากรักแร้ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดแผลเป็นบริเวณรักแร้ ทำให้ผู้ป่วยไม่มั่นใจเวลาต้องใส่เสื้อไม่มีแขน จึงมีการพัฒนาการผ่าตัดวิธีการใหม่โดยการผ่าตัดผ่านกล้องทางช่องปาก ทำให้ไม่มีแผลเป็นที่สามารถมองเห็นได้ แผลหายเร็ว ไม่เกิดพังผืด เสียเลือดน้อย ไม่กระทบต่อกล่องเสียงของผู้ป่วย ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว  

อย่างไรก็ตาม วิธีการผ่าตัดแบบไร้แผลก็มีข้อจำกัด โดยไม่แนะนำในผู้ที่ขนาดก้อนใหญ่เกิน 6 ซม. ขึ้นไป ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าไม่ใช่มะเร็ง ผู้ป่วยไม่เคยผ่าตัดบริเวณคอหรือคางและไม่เคยรับการฉายแสงบริเวณคอมาก่อน และการทำงานของต่อมไทรอยด์ไม่ผิดปกติก่อนการผ่าตัด  

ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ สามารถส่งผลกระทบถึงน้ำหนักตัวและระบบอื่นๆ ของร่างกายได้ การปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญและจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้


ข้อมูล : นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผลเป็น รพ. สมิติเวช สุขุมวิท และ รพ. สมิติเวช ศรีนครินทร์

ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up