โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ผิวมัน ขนดก สิวเยอะผิดปกติ เกิดจาก ‘โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ’ หรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ผู้หญิงที่มีสิวขึ้นเยอะกว่าปกติ และรักษาหายยาก พร้อมทั้งมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย อาทิ หน้ามัน, ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ, กินจุ, น้ำหนักตัวเยอะ, ขนดก แม้ว่าพันธุกรรมในครอบครัวไม่มีขนมากนัก อาจเป็นอาการของ โรคถุงน้ำในรังไข่ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เป็นความผิดปกติที่เกิดมี ถุงน้ำในรังไข่ หรือถุงน้ำเล็กๆ มากมายกระจายอยู่ในรังไข่ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “ซีสต์ในรังไข่” พบมากถึง 1 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ 2

ผิวมัน ขนดก สิวเยอะผิดปกติ เกิดจาก ‘โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ’ หรือไม่?

สาเหตุถุงน้ำในรังไข่ รังไข่มีหน้าที่เป็นแหล่งผลิตไข่ ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจน ควบคุมลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น มีหน้าอก สะโพกผาย และมีประจำเดือน เป็นต้น และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำหน้าที่กระตุ้นมดลูกให้เตรียมรับไข่ เพื่อให้พร้อมรับการฝังตัวของรกเมื่อตั้งครรภ์ หรือหากไม่เกิดการตั้งครรภ์จะกลายเป็นประจำเดือน

อาการของโรคถุงน้ําในรังไข่หลายใบที่พบได้ทั่วไป บางรายอาจแสดงอาการออกมาชัดเจน แต่บางรายก็แทบไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็น อีกทั้งอาการของโรคไม่รุนแรง ส่วนมากไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ หลายคนจึงมองข้ามสุขภาพของตัวเองไป แต่กลับมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว ความผิดปกติจะเพิ่มมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

อาการที่สามารถสังเกตว่าเป็นโรค ถุงน้ำหลายใบในรังไข่ จากภายนอกได้เด่นชัด เช่น

  • มีประจำเดือนผิดปกติ
  • มีบุตรยาก
โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ 1

ในบางรายอาจแสดงออกด้วยอาการผิวมัน

  • มีสิวบนใบหน้าและตามลำตัวมากกว่าผู้หญิงทั่วไป
  • มีขนขึ้นดกที่แขน ขา ลำตัว และบริเวณขาหนีบ
  • อาจมีปื้นสีเข้มเกิดขึ้นตรงลำคอ ข้อพับ แขนและขา

ซึ่งมีผลต่อความสวยงามและรูปลักษณ์ จนกระทบต่อจิตใจและความมั่นใจในตนเองในที่สุด

ถุงน้ำรังไข่ กับฮอร์โมนอินซูลิน

ถุงน้ำรังไข่ กับฮอร์โมนอินซูลิน สำหรับความผิดปกติภายในที่ไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ อาทิ เยื่อบุมดลูกหนาตัว จนอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก และเนื่องจากรังไข่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมน เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นเกิดภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย

โดยพบว่าผู้ที่เป็นโรคถุงน้ําในรังไข่หลายใบ มากกว่าร้อยละ 50 มีระดับฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ทั้งนี้ยังมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีความเสี่ยงระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ยังกระทบต่อ ระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย คนไข้บางรายจึงพบว่ามีภาวะอ้วนร่วมด้วย

นอกจากจากนี้ความสมดุลของฮอร์โมนยังมีผลต่ออารมณ์และจิตใจด้วย โดยอาจมีอาการซึมเศร้าหรือมีความกังวลมากกว่าคนปกติทั่วไป ในคนไข้บางรายที่มีภาวะอ้วน อาจเกิดการหยุดหายใจเป็นระยะสั้นๆ ช่วงนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิท อารมณ์หงุดหงิดในช่วงกลางวันและส่งผลต่อการทำงาน หากมีอาการดังกล่าวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อวางแผนดูแลด้านอารมณ์และจิตใจไปพร้อมกับการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย

ถุงน้ำในรังไข่ กับการตั้งครรภ์

แม้โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ จะมีอาการแสดงออกทางภายนอกหลายอย่าง แต่ก็มีบางรายที่ไม่มีอาการเด่นชัด ผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่ประจำเดือนหายไปครั้งละนานๆ หรือมาแบบกะปริดกะปรอย ผิวมัน มีสิวหรือขนขึ้นบริเวณใบหน้าหรือตามตัวมากผิดปกติ น้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ เนื่องจากโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ เป็นโรคที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่จากการสังเกตของแพทย์ที่ทำการรักษาในปัจจุบัน เชื่อว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น และมักได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

สำหรับผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ในขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองและบุตรในครรภ์ อีกทั้งยังความเสี่ยงแท้งบุตร ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรืออาจคลอดก่อนกำหนด

การดูแลตัวเองในเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคถุงน้ําในรังไข่หลายใบ คือ

  • การลดความอ้วน ด้วยการควบคุมอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดความเครียด

หากน้ำหนักตัวลดลงจะทำให้ฮอร์โมนกลับมาทำงานได้ดีขึ้น จากนั้นก็เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้รับประทานยาต่อเนื่อง พร้อมนัดตรวจอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หายขาดจากโรคและมีสุขภาพที่ดีตลอดไป


ข้อมูล : นต.พญ.ณัฐยา รัชตะวรรณ สูตินรีแพทย์ ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
ภาพ : Pexels , istock

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up