ลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting อิ่มบ้าง..อดบ้าง จะผอมไหม?

Alternative Textaccount_circle

ลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting อิ่มบ้าง..อดบ้าง จะผอมไหม?

ในโลกโซเชียลมีวิธีการลดน้ำหนักออกมามากมายหลายแบบให้ทุกคนได้เลือกลองปฏิบัติ และก่อนหน้านี้ แพรวดอทคอม ก็เคยนำเสนอบทความให้สาวๆ ลองหลายวิธี ทั้งเปรียบเทียบ บอกข้อดี ข้อเสีย และรอบนี้ พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล จะมาแนะวิธี Intermittent Fasting (IF) เป็นคำเรียกรวมๆ ของการอดอาหารในรูปแบบที่อดสลับอิ่ม หรืออดเป็นช่วงๆ ซึ่งมีหลายสไตล์ตามตำราที่ต่างกันไปแต่ละเล่ม แต่ที่นิยมกันมากจะมี 2 รูปแบบ

  1. แบบที่หนึ่งคือ Alternate day fasting (ADF) คือ การอดสลับอิ่มแบบวันเว้นวัน โดยในวันอด จะได้รับอนุญาตให้ทานราว 25% ของแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการ สลับกับวันที่ให้ทานได้เต็มที่ราว 125% ของที่ร่างกายต้องการ
  2. แบบที่สองซึ่งได้รับความนิยมในไทยมากกว่าคือ Time-restricted feeding (TRF) คือการจำกัดเวลารับประทานอาหารในแต่ละวัน แบ่งเป็นช่วงเวลาที่กินได้ และช่วงเวลาที่ห้ามกิน ซึ่งแต่ละสูตรจะต่างกันไป มีตั้งแต่ 3-12 ชม.

งานวิจัยเกี่ยวกับ IF ทั้งสองสไตล์มีมาเป็นระยะ โดยพบว่า TRF จะมีภาษีดีกว่า ทั้งงานวิจัยในสัตว์และในคน โดยหลายงานวิจัยพบว่า TRF ส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก ลด %ไขมันในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และในกลุ่มที่กินแบบ TRF ร่วมกับออกกำลังสร้างกล้ามเนื้อแบบ Resistance training ร่วมด้วย จะช่วยให้มวลกล้ามเนื้อไม่หายไปกับน้ำหนัก

ดังนั้น หากอยากจะตามกระแสกินแบบ IF เพื่อลดน้ำหนักนั้น สามารถทดลองทำได้ แต่แนะนำให้กินแบบจำกัดเวลามากกว่ากินแบบอดวันอิ่มวัน อาจเริ่มจาก 12 ชม. เช่น มื้อเช้าเริ่มหลัง 6 โมงเช้า มื้อเย็นจบก่อน 6 โมงเย็น ไม่กินอะไรหลังจากนั้นจนเข้านอน แล้วค่อยๆ เพิ่มการจำกัดเวลาอดขึ้น จนกลายเป็นกินแค่ 2 มื้อเช้าเที่ยงแล้วงดมื้อเย็น เพื่อให้ร่างกายได้มีช่วง fasting ยาวๆ

มีข้อควรระวังที่หมออยากฝากไว้ 2 เรื่อง หนึ่งคือในช่วงที่กินได้ ควรจะเน้นกินแบบเฮลท์ตี้ไม่ใช่กินตามใจปาก เพราะหากกินแบบ TRF แต่มื้อที่กินนั้นจัดหนักข้าวขาหมู ชาชีส ไก่ทอดไม่ยั้ง อดอย่างไรก็ไม่ผอมและไม่ดีต่อสุขภาพ

สองคือเทคนิคนี้ไม่เหมาะกับคนเป็นโรคกระเพาะ หากจำกัดเวลากินแล้วมีอาการปวดแสบท้อง ควรกลับไปกินแบบปกติ เพราะหากอดจนมีแผลในกระเพาะขึ้น จะเสียสุขภาพมากกว่าได้

สรุปแล้ว Intermittent fasting นั้น ทดลองได้ อาจเป็นเทคนิคที่ช่วยให้บางคนลดน้ำหนักได้ แต่อย่าลืมออกกำลังกายควบคู่ และอย่าฝืนจนเสียสุขภาพค่ะ


ขอบคุณบทความดีๆ จาก : พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) รพ. สมิติเวช สุขุมวิท

ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

3 ทิปส์ดูแลสุขภาพให้สมดุล ยิ่งอากาศร้อนแบบนี้อย่าหงุดหงิดง่าย เดี๋ยวแก่เร็ว

Ketogenic Diet เข้าใจง่ายๆ ใน 4 นาที แต่วิธีนี้ไม่เหมาะกับทุกคน!!

รู้ไหมว่า..ทั้งชายและหญิงถ้าขาดฮอร์โมนจะมีอาการยังไง และควรรับมือแบบไหน

ถ้าไม่อยากแก่ไวต้องเลิกกิน 5 อาหารเร่งเหี่ยว ทำร้ายสุขภาพผิวให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย

ก่อนเรื้อรังหนัก “กรดไหลย้อน” โรคฮิตชีวิตคนเมืองป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

กินอาหารตามธาตุ ช่วยปรับสมดุลร่างกายให้ไม่เจ็บป่วย ตามหลักการแพทย์แผนไทย

สุขภาพดีไม่มีทางลัด! แชร์ 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ ดีท็อกซ์ลำไส้

5 ทิปส์ปฏิวัตินักกินสายจังค์ฟู้ดเป็นสายเฮลตี้ เพราะ You Are What You Eat! ใช้ได้เสมอ!

สุขภาพดีด้วย 5 อาหารต้านภัยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่ไม่ว่าจะหนักหรือเบาเราก็สูดดมทุกวัน!

Praew Recommend

keyboard_arrow_up