โรคฝีดาษลิง
วิธีป้องกันและข้อควรระวัง ‘โรคฝีดาษลิง’ ที่กำลังแพร่ระบาด
‘โรคฝีดาษลิง’ หรือเอ็มพอกซ์ (Mpox) มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกและมีการประกาศจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติในขณะนี้ นับเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงในวงการสาธารณสุข สำหรับประเทศไทยมีการพบผู้ป่วยฝีดาษลิงครั้งแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 และมีการพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่เป็น เคลด 1 ครั้งแรกในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษลิง โดยมีข้อมูลผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงสะสมถึงวันที่ 6 กันยายน 2567 ระบุว่ามียอดผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 835 คน แบ่งเป็นเพศชาย 814 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 97 และเพศหญิงจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 2.51 นอกจากนี้ พบผู้ติดเชื้ออยู่ในกลุ่มช่วงอายุ 30 – 39 ปีมากที่สุด โดยเมื่อแบ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อตามสัญชาติ พบว่าเป็นคนไทยจำนวน 749 คน ทั้งนี้ จังหวัดที่มียอดผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 466 คน1 และเพื่อให้ทุกคนเฝ้าระวัง มีความตระหนักแต่ไม่ควรตื่นตระหนก เพราะตัวโรคไม่ได้ติดต่อจากการหายใจ และสถานการณ์ปัจจุบันในไทยยังไม่ถือว่าเป็นการระบาดรุนแรง ศ. พญ.ศศิโสภิณ […]
แพทย์ผิวหนังชี้ความแตกต่าง “โรคฝีดาษลิง” กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ความแตกต่างของ โรคฝีดาษลิง กับโรคติดเชื้อจากไวรัสอื่นๆ ที่พบรอยโรคเป็นตุ่มน้ำ และที่มีอาการใกล้เคียงกัน พร้อมอธิบายถึงการอาการแสดงการผิวหนัง การรักษา ฯลฯ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันต่อสถานการณ์โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ แพทย์ผิวหนังชี้ความแตกต่าง “โรคฝีดาษลิง” กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ฝีดาษลิง (monkey pox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ ซึ่งมีอาการแสดงในมนุษย์คล้ายคลึงกับฝีดาษหรือไข้ทรพิษ โดยโรคมีรายงานอุบัติการณ์เกิดการระบาดในประเทศแถบทวีปแอฟริกา เนื่องในปัจจุบันมีการเดินทางข้ามทวีป ทำให้มีการเกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงส่วนอื่นของโลก เช่น ยุโรป และอเมริกา ฝีดาษลิง มีการรายงานครั้งแรกในมนุษย์ในปี 1970 อาการของโรคฝีดาษลิง พบว่ามีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต นำมาก่อนตามด้วยอาการแสดงทางผิวหนัง ได้แก่ แผลในปากตามด้วย ผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ ที่อาจมีรอยบุ๋มเล็กๆ ตรงกลาง และต่อมากลายเป็นตุ่มหนองแล้ว จึงจะตกสะเก็ดโดยที่รอยโรค มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กันจำนวนรอยโรค อาจมีได้ตั้งแต่ 2 – 3 ตุ่ม จนถึงมากกว่า […]