Parkinson’s Disease
‘โรคพาร์กินสัน’ มีอาการอะไรบ้าง? นอกจากมือสั่นที่ไม่ควรละเลย
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีการตายและลดจำนวนลง จึงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้า และสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งอาการที่แสดงออกมีดังนี้ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง สีหน้าไร้อารมณ์ หลังค่อม ตัวงุ้มลง ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง ท้องผูก ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ เขียนตัวหนังสือเล็กลง เป็นต้น โรคพาร์กินสัน รักษาได้โดยการกินยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการของผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง และการทรงตัว ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น และการผ่าตัด เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการกินยา การผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง เรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก หากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ควรรีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยนั่นเอง ข้อมูล : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ภาพ : Pexels […]