ป้องกันไว้ก่อนเกิด ‘ภาวะตาบอดกลางคืน’ เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

ภาวะตาบอดกลางคืน (Night Blindness) คือภาวะตาบอดกลางคืนจะพบปัญหาการมองเห็นในที่มืดซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาจทำให้การขับรถในเวลากลางคืนมีความลำบากในการมองเส้นทางและอาจเกิดอันตรายได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือ เมื่อมีปัญหาทางการมองเห็น ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะปัญหาในการมองเห็นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ และอาจมีโรคร่วมแทรกซ้อนได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโรคที่รักษาได้ถ้าพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการ เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา รวมทั้งอาการตาบอดกลางคืน หรือการมองเห็นในที่มืด ซึ่งการดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำให้ถูกต้อง ครบถ้วนเสมอ พบแพทย์ตามนัด และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไป ภาวะตาบอดกลางคืนหรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด แสงสลัว จะพบว่าผู้ป่วยจะมีความลำบากในการทำกิจวัตรในที่แสงมืดหรือสลัว หรือต้องใช้เวลาปรับตัวในการเข้าในที่มืดนานกว่าปกติ ลักษณะอาการผู้ที่มีอาการตาบอดกลางคืน จะพบปัญหาการมองในสถานที่ที่มีแสงสลัว หรือที่มีแสงสว่างน้อย โดยมักจะเกิดอาการขณะที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการมองจากที่ที่มีแสงสว่างมาก ไปยังที่แสงสลัว เช่น การเดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในตัวอาคารการเข้าชมภาพยนตร์หรือ การขับรถตอนกลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ อาการตาบอดกลางคืนถือเป็นอาการสำคัญของโรคที่อาจทำให้มีความเสี่ยงเรื่องการขับรถในเวลากลางคืน ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ตาบอดกลางคืน (Night blindness) ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่มองเห็นไม่ชัดในที่แสงสลัว หรือในเวลากลางคืน พบได้ในโรคของจอตาหลายโรค กล่าวคือ ในคนปกติภายในจอตาจะมีเซลล์รับรู้การเห็น (Photoreceptor cells) 2 […]

keyboard_arrow_up