‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? และมีลักษณะอาการอย่างไรจึงควรพบแพทย์เร็วที่สุด

เนื่องจากในเดือนนี้ (ทุกวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี) เป็นวันเท้าปุกโลก (World club foot day) และหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้หรือสงสัยว่า ‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? เท้าปุก (clubfoot) เป็นโรคที่เท้ามีลักษณะงุ้มเข้า บิดตะแคง และเขย่ง เป็นความผิดปกติของเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคเป็นแต่กำเนิด ถ้ารักษาเร็วจะได้ผลดีโดยไม่ต้องผ่าตัด การรักษาทำได้โดยการดัดเท้าและใส่เฝือกต่อเนื่อง หากการใส่เฝือกไม่ได้ผล จึงพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เมื่อรักษาหาย เด็กจะวิ่งเล่นได้ดีสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้ของโรคเท้าปุก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ ได้แก่ กรรมพันธุ์ ลูกคนแรก พัฒนาการเท้าผิดปกติในครรภ์ และโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อเจริญเติบโตของเท้า เป็นต้น ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เช่น การดัดเท้าใส่เฝือกให้เท้าตรงก่อน ใส่รองเท้าเฉพาะ จะทำให้รูปเท้าโตปกติ และการรักษาระยะต่อมาง่ายยิ่งขึ้น ในบางรายสามารถตรวจพบได้จากการอัลตร้าซาวด์ในช่วงที่มีการฝากครรภ์ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับการรักษาเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว แต่โดยทั่วไปโรคนี้อาศัยความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกเด็ก ก็สามารถให้การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายเด็กหลังจากคลอดออกมาแล้วโดยไม่ได้ทำให้การรักษาช้าเกินไป ปกติจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีของเท้าเพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้ นอกจากการตรวจส่วนเท้าที่มีความผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายระบบอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุร่วมที่อาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบประสาทกล้ามเนื้อ เป็นต้น เท้าปุกแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทแรก เป็นเท้าปุกเทียมพบตั้งแต่แรกเกิด เท้าจะมีลักษณะผิดปกติดังกล่าวข้างต้นทุกประการ […]

keyboard_arrow_up