วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ที่ส่งผลยีนส์กลายพันธุ์ก่อ โรคมะเร็งปอด

‘มะเร็ง’ ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และด้วยมลพิษทางอากาศ รวมถึงฝุ่นควันต่างๆ โดยเฉพาะมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ PM2.5 ซึ่งเป็นสาเหตุกระตุ้นที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปอด ในกลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่ ปัญหาดังกล่าวที่เรื้อรังมานานจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับหลายๆ คน วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ที่ส่งผลยีนส์กลายพันธุ์ก่อ โรคมะเร็งปอด จากรายงานของคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละมากกว่าแสนรายซึ่งมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเฉียดหลักแสนรายด้วยเช่นกัน ซึ่งมะเร็งปอดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย (เป็นอันดับ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับและถุงน้ำดี และเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง) โดยในปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือคิดเป็น 40 คนต่อวัน ทั้งนี้ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีปัจจัยในชีวิตประจำวันหลายด้านที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด ได้แก่ การสูบบุหรี่หรือการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ การทำงานที่มีการสัมผัสกับแร่ใยหินในรูปแบบต่างๆ และการส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์ เป็นต้น ขณะที่สาเหตุอื่นๆ เช่น มลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ก็กำลังทวีความรุนแรงและกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) แม้ว่าวิกฤตฝุ่นละออง PM2.5 จะได้รับการยกระดับการแก้ปัญหาเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังและเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ตลอดหลายปีมานี้ เราได้เห็นนักคิด นักวิชาการ รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากที่ออกมาให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง PM2.5 ตลอดจนเตือนภัย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แต่เนื่องจากปัญหาดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ดังนั้นประชนชนจึงควรมีข้อมูลความรู้ในการเตรียมตัวและวางแผนเพื่อดูแลตนเองควบคู่ไปด้วยกัน โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ถือเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว […]

keyboard_arrow_up