ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…จากผืนฟ้าสู่มาตุภูมิ (ตอนที่30)

หม่อมเจ้าการวิก เสด็จกลับเมืองไทยเป็นครั้งแรก หม่อมเจ้าการวิก ก็ทรงกระโดดร่มเข้าเมืองไทยอย่างปลอดภัย  โดยเป็นการเสด็จกลับเมืองไทยเป็นครั้งแรก หลังจากเสด็จไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ยังทรงเยาว์  นับเป็นเวลานานกว่าสิบปี ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมืองอย่างมากมาย เมื่อพันโท ฮัดสัน หรือ ไอ้สบู่ ที่พวกเราตั้งชื่อให้ กลับถึงอังกฤษแล้ว แทนที่จะไปเป็นที่ปรึกษาทางทหารกลับอาสามากระโดดร่มเข้าเมืองไทย เพราะว่ามีความชอบพอกับพวกเราและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เมื่อเขามาถึงเมืองไทยแล้วก็อยู่กับชาวบ้านได้ดี แม้เขาจะเป็นคนแข็งแกร่ง แต่กับท่านชิ้นแล้ว เขายอมโอนอ่อนผ่อนตามทุกอย่าง จนท่านเรียกว่า ‘ไอ้ผู้หญิงโซฟี่’ เท่าที่ผมจำได้ เขาเคยขัดท่านอยู่ครั้งหนึ่ง ตอนที่อยู่เมืองมัทราส ท่านโซฟี่ และผมเดินตามถนนไปยังที่แห่งหนึ่ง ระยะทางค่อนข้างจะไกล แต่ท่านทรงขี้เกียจเดิน และอากาศก็ร้อน ท่านจึงเรียกรถลากคันหนึ่ง โซฟี่เห็นเข้าบอกว่า “อย่าไปทรมานเขา ตัว (แขก) เล็กนิดเดียวยังต้องลากทั้งรถที่หนัก และท่านเองก็ตัวใหญ่ ท่านควรเดินไปเองดีกว่า” แต่ท่านก็ทรงขึ้นนั่งบนรถลากเฉย… ก่อนจะไปฝึกกระโดดร่ม ท่านเคี่ยวเข็ญมากทั้งผมและโซฟี่ รับสั่งว่า “ไอ้โซฟี่อยู่หน้า อั๊วอยู่กลาง ลื้ออยู่ข้างหลัง หรือใครจะอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ได้ แต่อั๊วต้องอยู่กลาง แล้วโดดพร้อมกัน” ผมก็ทูลท่านว่า “ไม่มีอะไรหรอก โดดมาปั๊บ จับกางเกงให้ดีๆ แล้วทำตัวให้ตรง อย่าถ่างขา กางแขน […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…เล่าถึงท่านชิ้น-หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ (ตอนที่29)

หม่อมเจ้าการวิก ในห้วงยามที่สงครามโลกในเอเชียใกล้จะสิ้นสุดลง หม่อมเจ้าการวิก ในห้วงยามที่สงครามโลกในเอเชียใกล้จะสิ้นสุดลง หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ  สวัสดิวัตน์ ได้เตรียมเดินเดินทางเข้ามาปฏิบัติการในเมืองไทย แต่ทางอังกฤษสงสัยว่า จะทรงได้รับการต้อนรับจากเสรีไทยในเมืองไทยหรือไม่ เพราะสถานะความเป็นเจ้าของท่าน กับผู้นำเสรีไทยในเมืองไทย ที่เคยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ.ศ.2475 ผมขอย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ในปีพ.ศ.2488 ซึ่งในปีนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นความหวังของคนทั่วโลกที่อยากจะเห็นความสงบสุขกลับคืนมาอีกครั้ง แต่กว่าจะบรรลุถึงจุดนั้นมิใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว ทรัพยากรอันมีค่ารวมถึงชีวิตของมนุษยชาติต้องถูกสังเวยในเปลวเพลิงแห่งสงครามเหลือนับคณา… เย็นวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2488 คณะซาวันนา (SAVANA) นำโดยทศ (หัวหน้าคณะ) จีริดนัย (ช่างวิทยุ) และบุญส่ง (ผู้ช่วย) ได้รับคำสั่งให้ขึ้นเครื่องบินลิเบอเรเตอร์ (B-24) เพื่อกระโดดร่มเข้าเมืองไทยที่ภูกระดึง จังหวัดเลย โดยมีเสนาะ ประโพธ และเทพ พร้อมสมาชิกเสรีไทยในประเทศจำนวนหนึ่งมารอรับ ก่อนหน้านั้น ทางอังกฤษพยายามบ่ายเบี่ยงที่จะติดต่อกับไทยหรือให้ไทยส่งคนมาติดต่อ จนตอนหลังถึงตัดสินใจเลือกหาบุคคลที่อาสาเข้ามาประเทศไทยเพื่อติดต่อกับ ‘รู้ธ’ (นายปรีดี) หลังจากที่ทราบว่า ทางอเมริกันติดต่อไทยได้แล้ว และกำลังจะส่งนายทหารอเมริกันเข้าไทย แต่ทาง S.O.E. ลอนดอนไม่ยินยอมให้กิลคริสต์ ซึ่งเคยทำงานในสถานทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯและพูดไทยได้เข้ามา เพราะระแวงว่าทหารฝรั่งในกองกำลัง 136 มีความชอบพอลำเอียงต่อคนไทยและเชื่อคนไทยง่ายๆ ปู่จุดกับกิลคริสต์จึงต้องเสียเวลาค้นหานายทหารอังกฤษที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คือต้องเป็นคนอังกฤษ มีสุขภาพดีพอจะกระโดดร่มได้ รู้จักเมืองไทยและสถานการณ์ในประเทศพอควร และต้องมีความรู้ทางทหารพอที่จะพิจารณาแผนการทางทหารในระดับสูงได้ ทั้งกับฝ่ายไทยและกองบัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…ก่อนจะถึงสันติภาพ (ตอนที่28)

หม่อมเจ้าการวิก ลักลอบเข้าเมืองไทย หม่อมเจ้าการวิก และคณะเพื่อนทหารเสรีไทยเตรียมตัวลักลอบเข้ามาปฏิบัติการในเมืองไทยผ่านเป็นไปด้วยดี เพราะได้รับความช่วยเหลือจากคณะเสรีไทยในเมืองไทย ขณะที่สถานการณ์สงครามโลกในยุโรปได้สิ้นสุดลงเมื่อเยอรมันประกาศยอมแพ้ ในราวเดือนสิงหาคม พ.ศ.2487 ปู่จุดได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ของกองกำลัง 136 ในแคนดี้ ให้ส่งพวกช้างเผือกกลุ่มที่สามเข้าประเทศไทย และทางนายปรีดีขอให้ส่งแดง คุณะดิลก เข้ามาพร้อมกับคณะที่สามนี้ด้วย ขณะนั้น แดงซึ่งได้เดินทางกลับมายังศรีลังกาเพื่อร่วมงานกับหน่วย O.S.S. ของสหรัฐฯ ปู่จุดจึงได้ติดต่อถึงกองบัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรที่แคนดี้ ขอตัวแดงมาร่วมคณะของกองกำลัง 136 ซึ่งทาง O.S.S. ตอบตกลง และแดงได้เดินทางมาฝึกกระโดดร่ม แต่เคราะห์ร้ายที่การซ้อมครั้งแรกแดงได้รับบาดเจ็บค่อนข้างหนัก ต้องนอนพักผ่อนอย่างน้อย 1 เดือน แต่คณะที่จะกระโดดร่มเข้ามาโดยใช้ชื่อรหัส‘บริลหลิก’ (BRILLIG) ประกอบด้วยกฤษณ์กับประเสริฐ ซึ่งถูกกำหนดให้ร่วมคณะกับแดงนั้นไม่สามารถที่จะเลิกได้ ทั้งสองจึงเข้าเมืองไทยมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน และให้ไทยทำหน้าที่เป็นสถานีวิทยุแห่งที่สองอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อรับข้อความที่หัวหน้าขบวนการต้องการให้ส่งถึงกองกำลัง 136 ในขั้นต่อไป หลังจากคณะบริลหลิกเข้าประเทศไทยแล้ว ปู่จุดได้เขียนแผนงานอย่างสวยหรูว่า SIAM PLAN ระบุจุดประสงค์ในการช่วยเหลือประเทศไทยในด้านการฝึกอบรม และสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในการต่อต้านญี่ปุ่น ทั้งร่วมปฏิบัติงานกับกองบัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร-ซีแอค (SOUTH EAST ASIA COMMAND-SEAC) ทางสำนักงานใหญ่ของกองกำลัง 136 ในแคนดี้ เสนอแผนนี้ต่อซีแอคอย่างภาคภูมิ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก….ยุทธการกระโดดร่มเข้าเมืองไทย (ตอนที่27)

หม่อมเจ้าการวิก เสี่ยงชีวิตกระโดดร่มเข้าเมืองไทย หม่อมเจ้าการวิก และคณะเพื่อนทหารเสรีไทยที่ฝึกซ้อมการกระโดดร่มนั้น ผ่านไปด้วยดี โดยคณะทหารเสรีไทยสายอังกฤษสองคณะแรกที่เข้ามาเมืองไทยแล้ว ได้ติดต่อกับคณะเสรีไทยในเมืองไทย ซึ่งมีผู้นำคือ นายปรีดี  พนมยงค์ ที่ใช้นามแฝงในการปฏิบัติการว่า รู้ธ !  ผมขอย้อนไปถึงเรื่องการกระโดดร่มเข้าเมืองไทยของกลุ่มช้างเผือกสองคณะแรก คือ คณะแอพพริเอชั่น 1 โดยป๋วย ประทาน และเปรม กระโดดร่มเข้าไทยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2487 (ที่ชัยนาท) และคณะแอพพริเอชั่น 2 โดยสำราญ ธนา และรจิต กระโดดเมื่อวันที่ 3 เมษายน (ที่นครสวรรค์) และกลุ่มคนจีน 4 คนที่พูดไทยได้ คือ กลุ่ม ‘แดง’ ขึ้นบกโดยเครื่องบินทะเลใกล้อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และกลุ่ม‘แดง’ อีกสี่คนกระโดดร่มลงที่นครปฐม คืนเดียวกับคณะของป๋วย ทั้งสี่คณะหายเงียบไปไม่มีการติดต่อกลับยังกองกำลัง 136 และหน่วย ISLD ก็แทงสูญสวัสดิ์กับจุ๊นเคงไป หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2487 เช่นกัน (มาทราบภายหลังว่า คณะ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…ยุทธการเพื่อสันติภาพ (ตอนที่26)

หม่อมเจ้าการวิก กับการฝึกกระโดดจากเครื่องบิน ยุทธการนี้เพื่อสันติภาพ หม่อมเจ้าการวิก กับขั้นตอนการฝึกต่อมาร่วมกับคณะเพื่อนทหารเสรีไทยคือ การฝึกการกระโดดร่มจากเครื่องบิน เนื่องจากการเดินทางเข้าเมืองไทยของดร.ป๋วยและคณะด้วยเรือดำน้ำนั้นถือว่าล้มเหลว และเสียเวลา  เมื่อผลการปฏิบัติงานพริตชาร์ด (PRITCHARD) ของกองกำลัง 136 ที่ส่งป๋วย สำราญ และประทาน เดินทางโดยเรือดำน้ำด้วยมุ่งหวังจะเข้าประเทศไทยต้องล้มเหวลง พันโท ปีเตอร์ พอยน์ตัน ผบ.กองกำลัง 136 แผนกประเทศไทย จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะส่งคณะช้างเผือกเข้าเมืองไทยทางทะเลอีก เพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลามาก คือต้องพยายามติดต่อกับขบวนการในประเทศผ่านทางจีน และรอฟังข่าวคราวแสดงการรับรู้ทางวิทยุกระจายเสียงอีก พันโท พอยน์ตันเองก็ไม่ค่อยวางใจฝ่ายจีน เพราะทราบข่าวจากท่านชิ้นว่า คุณจำกัดไม่ได้รับความสะดวกจากจีน ต่อมาทางจีนก็ส่งมรณบัตรแจ้งว่าคุณจำกัดเสียชีวิตแล้ว ส่วนคุณสงวน ตุลารักษ์ และคุณแดง คุณะดิลก ได้เดินทางจากจีนไปวอชิงตัน ดังนั้นการติดต่อของอังกฤษกับฝ่ายจีนจึงไม่อาจทำได้ง่ายนัก อีกประการหนึ่ง คณะเสรีไทยสายอเมริการุ่นแรกก็เข้าไปอยู่ที่จุงกิงแล้ว จึงคิดว่าควรปล่อยให้การปฏิบัติงานด้านประเทศจีนเป็นภาระของฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าอังกฤษ ในต้นปีพ.ศ.2487 อังกฤษส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดลิเบอเรเตอร์ หรือ B-24 ขนาด 4 เครื่องยนต์หลายลำมาอินเดีย ในสมัยนั้นถือว่าเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่มาก คนไทยเรียกว่าป้อมบินยักษ์ มีระยะบินปฏิบัติงานไกลพอที่จะบินไป-กลับระหว่างอินเดียกับไทยได้ พันโท พอยน์ตัน (พวกเราเรียกว่า ‘ปู่จุด’) […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก นายทหารเสรีไทยในอินเดีย (ตอนที่22)

หม่อมเจ้าการวิก ฝึกซ้อมรบแบบกลุ่มกองโจรที่อินเดียหนักหนากว่าการฝึกในอังกฤษนับร้อยเท่า!   หม่อมเจ้าการวิก และคณะเสรีไทยสายอังกฤษ ต้องเจอกับการฝึกปฏิบัติการแบบกองโจรในอินเดีย ซึ่งเป็นไปอย่างสมจริงสมจัง เข้มข้น  แต่บางครั้งก็มีเรื่องราวสร้างอารมณ์ขัน ลดความตรึงเครียดจากการฝึกหนัก ความเป็นอยู่ของพวกเราเหล่าทหารเสรีไทยในอินเดียนั้นดีขึ้นมาก ทำท่าจะเป็นนายฝรั่งมีทหารแขกคอยรับใช้ (BEARER) ทำความสะอาดที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม เสิร์ฟอาหาร ซักเสื้อผ้าให้ ฯลฯ แต่ก็ต้องระมัดระวังทรัพย์สินมีค่าสักหน่อย มิฉะนั้นเขาจะช่วยเก็บรักษาให้อย่างดีจนหาไม่พบ ทว่าการฝึกซ้อมรบแบบกลุ่มกองโจรที่ค่ายหนักหนากว่าการฝึกในอังกฤษนับร้อยเท่า ประสบการณ์การฝึกและเรื่องสนุกๆของพวกเรา ผมยังจำได้ดี การฝึกของพวกเราต้องหัดทำอย่างมากทั้งที่ฟังดูแล้วอาจจะไม่ยากคือ วิธีล้วงความลับจากข้าศึกและวิธีรักษาความลับของฝ่ายเราไม่ให้รั่วไหล ชาวเอเชียส่วนมาก ไม่ว่าแขก จีน หรือไทย มักชำนาญในการล้วงความลับ แต่บกพร่องในการเก็บความลับ อาจเป็นเพราะชาวตะวันออกไม่ถือว่านิสัยอยากรู้อยากเห็นนั้นเป็นการเสียมารยาท (ผิดกับฝรั่ง) แล้วการที่คนไทยชอบอยากรู้อยากเห็น และหละหลวมทำให้หลายเรื่องที่ควรเป็นความลับในเมืองไทย กลับมีผู้รู้เห็นและบอกเล่ากันอย่างฮือฮาไม่น้อย ทำให้พันโทพอยน์ตัน (POINTON) ผู้บังคับบัญชากองกำลัง 136 แผนกประเทศไทย ซึ่งรู้ถึงจุดอ่อนข้อนี้ของคนไทยเป็นอย่างดี จ้ำจี้จ้ำไชพวกเราหนักหนาในเรื่องนี้ แม้แต่ตัวผมก็ประสบมาด้วยตนเองเมื่อตอนที่กระโดดร่มเข้าเมืองไทย ซึ่งผมจะเล่าต่อไป คืนหนึ่ง ครูฝึกสั่งให้พวกเราฝึกปฏิบัติการเป็นโจรปล้นและซุ่มโจมตี เขาให้เลือกวันเวลาว่าจะโจมตีใคร ที่ไหน แล้วทำแผนไปเสนอ เมื่อเขาพิจารณาแล้วก็อนุญาต และย้ำว่าจะทำพลาดพลั้งไม่ได้ เพราะอาจเป็นอันตรายที่ร้ายแรง พวกเราเลือกคืนวันเสาร์เวลาประมาณสี่ทุ่มครึ่ง ณ จุดที่ห่างจากทะเลสาบหน้าค่ายไม่มากเพราะกะว่าพวกครูฝึกจะพาบรรดาทหารหญิงที่เป็นฝ่ายธุรการ […]

keyboard_arrow_up