เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี”

ปัญหา ระบบภายในสตรี มีความละเอียดอ่อน และส่งผลต่อความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาตกขาว หรือมีปัญหาช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ส่วนสตรีที่เคยคลอดลูกมักจะพบปัญหาระบบภายในหลังคลอด เช่น ภาวะมดลูกหย่อน และมดลูกแห้ง นอกจากนี้ปัญหาระบบภายในยังส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอีกด้วย เช่น ไข่ไม่ตก รังไข่เสื่อม ท้องยาก และมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรที่มักพบในสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี  ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี“ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ เผยว่าตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมาได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหามีบุตรยาก การเตรียมตั้งครรภ์และปัญหาระบบภายในสตรีทั้งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก และไม่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก แต่เป็นปัญหาระบบภายในที่กวนใจผู้หญิง โดยครูก้อยได้รวบรวม 10 ปัญหากวนใจเกี่ยวข้องกับระบบภายในสตรี ดังนี้ 1.ปัญหาช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่น รู้สึกเจ็บ คัน หรือ เจ็บปวดแสบเวลามีเพศสัมพันธ์ ไม่มีมูกตกไข่ ซึ่งมูกตกไข่ มีคุณสมบัติ เป็นน้ำหล่อลื่น มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ โดยในช่วงตกไข่ของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนดี หรือระบบภายในร่างกายดีจะผลิตมูกตกไข่ มีน้ำหล่อลื่นออกมา เพื่อช่วยให้สเปิร์มเคลื่อนตัวเข้าไปในโพรงมดลูกได้ง่าย และที่สำคัญมูกตกไข่ และน้ำล่อลื่นในช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นด่าง ซึ่งเป็นมิตรกับสเปิร์ม […]

“โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร?

ปกติคนเรามีไต 2 ข้างแต่กำเนิด ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดประมาณกำปั้นอยู่บริเวณบั้นเอวด้านหลัง ไตทำหน้าที่หลักในการขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ควบคุมปริมาณน้ำ ปรับสมดุลระดับเกลือแร่และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย อีกทั้ง ยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากไตทำงานผิดปกติจะนำมาซึ่งภาวะไตวายหรือโรคไตเรื้อรัง พร้อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมา “โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร? โดย น.อ. หญิง พญ. วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี อายุรแพทย์โรคไต ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง จะมาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไต ในตอน “โรคไต 101” เสริมความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค ตลอดจนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” โรคไตเรื้อรังเกิดจากอะไร? โรคไตเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก 3 อันดับแรกมักเกิดจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตอักเสบ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและทวีป ซึ่งสำหรับประเทศไทย สาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การใช้ยาสมุนไพร การกินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบเองติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการติดกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสชาติเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดปัญหาไตเสื่อมและกลายเป็นโรคไตเรื้อรังในที่สุด จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง? หากเริ่มสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกติ เช่น สามารถขับปัสสาวะได้น้อยลง ทำให้มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการตัวบวม เช่น บริเวณหลังเท้า เมื่อใส่รองเท้าประเภทแตะคีบแล้วมีรอยชัด เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเสียคั่งในร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ จะรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และนอนไม่หลับ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว อาจหมายถึงสภาพของไตนั้นเข้าขั้นวิกฤติ โรคไตเรื้อรังสามารถรักษาได้หรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไร? ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะอวัยวะได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วและจะเสื่อมลงจนถึงระยะที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายวิธีในการชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมความดัน คุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคุมอาหาร เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือมีความเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดลดอักเสบเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะทำให้ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้ารับการบำบัดทดแทนไตออกไปได้ สำหรับคนทั่วไป วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังคือควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มมากเกินไป ห้ามซื้อยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดแล้ว บุหรี่ยังทำให้เกิดโรคไตวายได้อีกเช่นกัน ที่สำคัญคือห้ามกลั้นปัสสาวะ เพราะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดการติดเชื้อบ่อยและส่งผลต่อไต ทำให้ไตเสื่อมและไตวายขึ้นมาได้ นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ด้วยวิธีการตรวจเลือดเพื่อหาค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) และการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาว่ามีค่าโปรตีนรั่วหรือไม่ ซึ่งมีเพียง 2 วิธีนี้เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยและคัดกรองความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ สามารถติดตาม “คุยเรื่องไต ไขความจริง” และข้อมูลข่าวสารได้ทางเพจ Facebook สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย – The Nephrology Society of Thailand  ภาพ Cover : Pexels บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“มะเร็งเต้านม” ป้องกันได้ไหม มีวัคซีนหรือไม่ และเทคนิคตัดเต้าแบบใหม่ดีอย่างไร?

คำถามยอดนิยมตลอดกาลเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม คือ ป้องกันได้ไหม? มีวัคซีนไหม? ตรวจคัดกรองเรื่อยๆ เหมือนรอให้เป็นแล้วค่อยรักษา? อยากมีวิธีป้องกันมากกว่า? ประโยคเหล่านี้เป็นคำถามจากคนไข้ที่มักได้ยินเป็นประจำ ซึ่งสามารถให้คำตอบสั้นๆ คือป้องกันได้ แต่ต้องอธิบายยาววว บทความนี้จะช่วยตอบทุกประเด็นและคลายทุกข้อสงสัย “มะเร็งเต้านม” มากกว่ารักษาคือการป้องกัน ก่อนอื่นขอปูพื้นความรู้เล็กน้อยก่อนว่ามะเร็งเต้านมอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามการตอบสนองต่อฮอร์โมน ได้แก่ Hormone Receptor Positive และ Hormone Receptor Negative ซึ่งส่วนใหญ่ของมะเร็งเต้านมเป็นชนิด Receptor Positive ฉะนั้น จึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมควรลดลง ซึ่งจากงานวิจัยก็พบว่าข้อสันนิษฐานเป็นความจริง และสามารถนำมาใช้แนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันได้จริง (Recommendation Guideline) โดยมี 2 วิธี คือ 1. ใช้ยาทานต้านฮอร์โมน เรียกวิธีนี้ว่า Chemoprevention (แต่ไม่ใช่ยาเคมี) ยาที่ใช้ก็คือ ยาต้านที่เคยนำมาใช้ในการรักษานั่นเอง อาทิ Tamoxifen, Raloxifene และ Aromatase Inhibitor 2. การผ่าตัด เพื่อลดการตอบสนอง ด้วยการตัดรังไข่ที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนออกทั้ง 2 ข้าง โดยทั้ง 2 วิธีนี้พบว่าให้ผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้ 60-70% เฉพาะชนิด Hormone Receptor Positive ฉะนั้น จึงต้องเริ่มกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันมะเร็งเต้านมได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งคำตอบก็ง่ายมากคือ ไม่มีเต้านมซะก็สิ้นเรื่อง ยังไม่ต้องวิจัยก็เดาผลได้ว่าน่าจะจริง และน่าจะเป็นการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเกิน 90% และผลการวิจัยก็เป็นเช่นนั้น โดยในช่วงแรกจะเป็นการผ่าตัดเต้านมแบบเรียบๆ ทั้ง 2 ข้าง หรือ Prophylactic Bilateral Simple Mastectomy ซึ่งมีจำนวนเคสที่ทำไม่มาก (ก็แน่ล่ะ ผู้หญิงคนไหนจะอยากทำ) ต่อมาได้พัฒนา “เทคนิคการตัดเต้าแบบใหม่ พร้อมกับการเสริมสร้างหน้าอกขึ้นมาใหม่” ในการผ่าตัดคราวเดียวกัน โดยการผ่าตัดนี้จะเก็บรูปลักษณ์ภายนอกของเต้านมไว้ทั้งหมด […]

“ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” เกิดเชื้อนี้ได้อย่างไรในผู้ชาย

ไวรัสมะเร็งปากมดลูก เป็นชื่อที่คุ้นหูมาหลายปี เพราะมากกว่า 90%ของมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสตัวร้ายนี้เสมอ ปี 2017 ที่ผ่านมา มีรายงานจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยยอดชายรักชาย ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ โดยมีการตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV) ร่วมด้วยถึง 85% ซึ่งเชื้อ HPV ในเพศชายนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับที่มะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิงนั่นเอง เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้ “ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” ในผู้ชาย ผู้ชายสามารถรับเชื้อนี้ได้อย่างไรไวรัส HPV นั้นมักจะพบจากการมีเพศสัมพันธ์ (ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนัก) รวมทั้งการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในปัจจุบันไวรัส HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จุดกำเนิดเริ่มต้นของเพศที่แพร่เชื้อนั้น จึงพบได้ทั้งสองเพศ ดังนั้น การรณรงค์ให้หญิงเป็นฝ่ายวิ่งหาวัคซีนป้องกันแต่เพียงเพศเดียวอาจดูไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก เพศชายที่มีความเสี่ยง เช่น […]

keyboard_arrow_up