จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

รักจะโกอินเตอร์ต้องรู้! เอกสาร + ขั้นตอน ในการ จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

Alternative Textaccount_circle
จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

เพราะความรักไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเชื้อชาติ หากคุณเกิดสปาร์คหัวใจกับชาวต่างชาติ และตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตคู่อย่างจริงจัง การ จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้เรียบร้อย เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนยังไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ แพรวเวดดิ้ง จึงรวบรวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ในการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติมาฝากกันค่ะ

รักจะโกอินเตอร์ต้องรู้! เอกสาร + ขั้นตอน ในการ จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

1. เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส

สำหรับชาวต่างชาติ

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นๆ พร้อมแปล
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ถ้ามี) (ขอ ณ สถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย สำหรับบางประเทศสามารถยื่นขอในไทยได้)
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)

สำหรับชาวไทย

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • บัตรประชาชนฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (นำฉบับจริงมาด้วย กรณีที่เราจะทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ)
  • พยาน 2 คน และบัตรประชาชนของพยาน ซึ่งพยานจะต้องเป็นบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา พี่น้อง ญาติ
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ล่ามคนไทย 1 คน เพื่อแปลภาษาให้ฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)
  • มรณบัตร (กรณีคู่สมรสเดิมเสียชีวิต)

หมายเหตุ : ระยะเวลาและเอกสารที่แจ้งข้างต้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสัญชาติของชาวต่างชาติ

2. คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส

  • อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  • ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    * สมรสกับคู่สมรสเดิม
    * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

3. จดทะเบียนสมรสที่ไหน

  • กรณีอยู่ในประเทศไทย จดทะเบียนสมรสได้ที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต
  • กรณีอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนสมรสได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ
    * ทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทยหรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ และเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ถ้าหากในอนาคตมีความจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ประเทศเกิดของสามีหรือภรรยา ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำอีก แต่ให้ติดต่อรับรองการจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้นๆ

4. ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

  • ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย
  • นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ
  • ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)
  • ไปติดต่อฝ่ายทะเบียน แล้วยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่
  • จากนั้นกรอกเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่ให้มา
  • เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เช่น ระยะเวลาที่คบหา ระยะเวลาที่อยู่กินกันมา ฝ่ายหญิงจะใช้คำนำหน้านามเป็นอะไร ใช้นามสกุลตามฝ่ายชายหรือไม่
  • ล่ามจะช่วยแปลรายละเอียดในการจดทะเบียนสมรสให้กับทั้งสองฝ่าย
  • เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะมอบเอกสารทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้กับทั้งสองฝ่าย คนละ 1 ชุด
    * คนที่วางแผนจะขอวีซ่าหรือจะกลับไปแจ้งกับประเทศว่าได้แต่งงานที่ประเทศไทยแล้ว แนะนำว่าให้ขอคัดเอกสาร คร.2 ฉบับภาษาอังกฤษด้วย สำนักงานเขตสามารถออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ได้

5. หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะเลือกได้ดังนี้

  • ใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี
  • ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงไทยที่สมรสกับสามีต่างชาติสามารถใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นชื่อรองได้
    * เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วคนไทยที่ได้ทำการเปลี่ยนนามสกุลควรรีบมาดำเนินการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ให้เรียบร้อย และทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด

ข้อมูล : www.wonderfulpackage.com

ภาพ : pixabay.com, pexels.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทะเบียนสมรส ควรจดเลยตอนแต่งงานหรือรอให้พร้อมก่อนดีนะ?

ยิ่งบ่าวสาวยิ่งต้องรู้! งานแต่งศาสนาคริสต์ มีกฎระเบียบข้อห้ามไหนให้ต้องเตรียมตัว

เตรียมตัวแต่งงานกับชาวมุสลิม และเข้าศาสนาอิสลาม ทำอย่างไร?

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up