แพรวา

เพื่อนและหน้ากากอนามัยมีสิทธิ์ติดเชื้อไหม? นายแพทย์โสภณ อธิบายกรณี แพรวา

Alternative Textaccount_circle
แพรวา
แพรวา

นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) ตอบข้อซักถามกรณี แพรวา ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์ ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ ทำหน้ากากอนามัย มีสิทธิ์ติดเชื้อหรือไม่

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (20 มี.ค. 2563) นักร้องและนักแสดงสาววัย 24 ปี แพรวา ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์ เจ้าของเพลงดัง “รักติดไซเรน” ได้เปิดเผยผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวว่าเธอติดชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) ในเวลาต่อมาก็ได้มีการเปิดเผยว่า ก่อนที่เธอจะทราบว่าติดเชื้อนั้นเธอได้พบเพื่อนๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นในงานประกาศรางวัล The Guitar Mag Awards 2020 รวมถึงการร่วมกิจกรรมทำหน้ากากผ้าให้พนักงาน ขสมก. ที่อาคาร Gmm เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งกิจกรรมหลังนี้ทำให้หลายคนเป็นกังวลว่าหน้ากากผ้าที่ทำนั้นจะติดเชื้อหรือไม่

แพรวา

ล่าสุดวันที่ 21 มี.ค. 2563 นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในงานแถลงรายงานประจำวันของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยระบุว่า เนื่องจากประวัติเจ็บป่วยและสัมผัสจะต้องมีรายละเอียด ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน คนที่อยู่ในที่เกิดเหตุเดียวกัน พูดคุยกันในระยะ 1 เมตร อย่างน้อย 5 นาที อันนี้เสี่ยงสูงแน่ๆ

แพรวา

นักข่าวถามว่า แพรวาได้มาร่วมกิจกรรมในช่วงเวลาประมาณ 11 .00 น. ทางต้นสังกัดจึงให้คนที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกักตัว แต่คนที่มาร่วมกิจกรรมหลัง 13.30 น. ไม่ต้องกักตัว หลายคนกังวลว่าคนกลุ่มหลังจะมีความเสี่ยงไหม? ในเรื่องนี้นายแพทย์โสภณกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มหลังที่มาได้จับอุปกรณ์ด้วยหรือเปล่า อันนี้เรียกว่าการสัมผัสผ่าน ต้องไปดูว่าในเวลานั้นมีเรื่องของน้ำมูกน้ำลายที่เกี่ยวข้องไหม ถ้าเป็นการสัมผัสสิ่งของที่ไม่ได้ร่วมกันโดยตรง ความเสี่ยงก็จะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเพื่อความปลอดภัยให้คอยสังเกตอาการเรื่อยๆ จะดีกว่า

แพรวา ณิชาภัทร

นายแพทย์โสภณยังได้อธิบายเกี่ยวกับการกักตัว และการสังเกตอาการไว้ด้วย โดยระบุว่า ทั้งสองอย่างมีความหมายต่างกัน ถ้าคนที่สัมผัสกับผู้ป่วยใกล้ชิดคงต้องกักตัว ไม่ต้องทำอะไรเลย จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มขึ้น เพราะเชื้อไม่ได้เกิดทันที มันมีระยะฟักตัวของโรค แต่สำหรับผู้ที่สัมผัสผ่านก็คือให้สังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ไปสุงสิงกับคนอื่น เพราะถือว่าเสี่ยงต่ำ

อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีแพรวานั้นตอนนี้อยู่ในกลุ่มที่ต้องรอผลสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้ข้อมูลเข้ามาเร็วมากเมื่อมีผลแล็บบวก แต่การรวบรวมข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการป่วยกับปัจจัยเสี่ยงต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง และหลักการที่สำคัญคือ เมื่อพบผู้ป่วยเราต้องระบุผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือสัมผัสใกล้ชิดอยู่ในระยะ 1 เมตร เช่น การพูดคุยกันอย่างน้อย 5 นาที จะขึ้นบัญชีรายชื่อไว้ แต่หากผู้ป่วยจะช่วยลิสต์รายชื่อผู้เกี่ยวข้องมาได้ก็จะทำให้การสวบสวนโรคเร็วขึ้น รวมถึงแจ้งผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้เริ่มกักตัวเอง อยู่ที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อต่อ

แต่ไม่ใช่ว่าผู้สัมผัสจะได้รับเชื้อทุกคน ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นว่าจากการตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 100 คน จะมีแค่ 2 คนที่ได้รับเชื้อ นั่นแปลว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดคนป่วยจะยังปลอดภัยอยู่ แต่ต้องป้องกันไว้ก่อน


ภาพจาก : IG @nichaphatc

Praew Recommend

keyboard_arrow_up