เปิดเวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนขององค์กรชั้นนำ แก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม

Alternative Textaccount_circle

ตามที่ บริษัท ซีเอซี จำกัด (C asean) จัดงาน Thailand Corporate Sustainability Symposium เวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนขององค์กรชั้นนำเพื่อ แก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 27-28 มีนาคม 2562 ณ C ASEAN อาคาร CW Tower ถนนรัชดาภิเษก โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์ชั้นนำของเมืองไทย อาทิ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มาร่วมเสวนาให้ความรู้เผยแพร่แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ปี 2030

ซึ่งในงานเสวนาครั้งนี้ว่าด้วยเรื่องที่ต้องการเน้นในงานด้านความยั่งยืน ณ ตอนนี้ความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ ซึ่งแน่นอนมุมของความยั่งยืนส่วนบุคคลย่อมแตกต่างจากบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะลูกค้า ซัพพลายเออร์ หรือแม้กระทั่งพนักงานของบริษัทเอง ในวันนี้เราอยู่กับ CEO จาก 3 บริษัทใหญ่ ที่แม้จะอยู่ในธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือทุกบริษัทให้ความสำคัญและลงทุนอย่างจริงจังในเรื่องธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ซึ่งดีเทลแต่ละโครงการที่แต่ละท่านนำมาพูดก็คือ

แก้ปัญหาสังคม
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี

● ThaiBev เรื่องที่น่าสนใจอย่างมากคือความพยายามผลักดันด้านความร่วมมือ โดยรูปแบบที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ประชารัฐ และ C asean ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคม โดยคุณฐาปน พูดถึงรูปแบบความร่วมมือดังกล่าวและความเกี่ยวโยงกับงานด้านความยั่งยืน

แก้ปัญหาสังคม
คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ

● Banpu สำหรับบ้านปูเอง วิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับ Business Model โดยคุณชนินทร์ พูดถึงเรื่องนี้และยกตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนแปลง

แก้ปัญหาสังคม
คุณศุภชัย เจียรวนนท์

● CP สำหรับการทำธุรกิจข้ามชาติ แน่นอนความแตกต่างในด้านทรัพยากรบุคคลย่อมส่งผลต่อรูปแบบการทำงานเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์หลักที่องค์กรต้องการ โดยคุณศุภชัยพูดเรื่องความท้าทายซึ่งมีผลโดยตรงกับงานด้านความยั่งยืน รวมไปถึงรูปแบบการจัดการ

และจากสิ่งที่ทุกท่านได้พูดไป เห็นได้ชัดว่างานด้านความยั่งยืนเป็นงานที่มีการลงทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นกำลังเงิน กำลังคน เวลา รวมไปถึงทรัพยากรอื่นๆ ของบริษัท แล้วก็ไม่ใช่ว่าสิ่งที่ลงทุนไปจะเห็นผลตอบแทนในเวลาอันรวดเร็ว

ซึ่งในช่วงบ่ายได้พูดถึง rationale หรือ แนวคิดด้านการลงทุนที่แต่ละบริษัททำไปเพื่ออะไรและองค์กรจะได้อะไรจากโครงการด้านความยั่งยืน สิ่งที่องค์กรได้เรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร มีกระทบกับโครงสร้างองค์หรือไม่ มีการต่อต้านหรือมีการจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร และผลลัพธ์จากความเปลี่ยนแปลงนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งการเสวนาครั้งนี้ สรุปคำถามหลักๆ 5 เรื่องเลยคือ

1. อะไรเป็นข้อโดดเด่นของการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยังยืนขององค์กรของท่าน
2. การทุ่มเททางานด้านนี้ต้องมีการลงทุนมหาศาล ทั้งด้านกำลังเงิน กำลังคน เวลา รวมถึง ทรัพยากรอื่นๆ มีแนวคิดว่าบริษัททุ่มเทให้กับงานด้านนี้ เพราะอะไร และมุ่งหวังผลอะไร
3. จากการผลักดันเรื่องการพัฒนาอย่างยังยื่นมาหลายปี องค์กรของท่านได้เรียนรู้ หรือมีความเปลียนแปลงอะไรเกิดขึนบ้าง
4. การตอบรับของตลาด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ นักลงทุน หรือ stakeholders กลุ่มอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้างต่อการผลักดันด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
5. ปี 2030 เป็นปีที่สหประชาชาติได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นปีที่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยังยืนหรือ UNSDGs จะเห็นผลสัมฤทธิในหลายๆด้าน องค์กรของท่านเองมีแนวทาง ในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไปในอนาคตอย่างไร และมีเป้าหมายอะไรทีเป็นรูปธรรมหรือไม่ อย่างไร

พระพรหมบัณฑิต

นอกจากนี้ ในเสวนาครั้งนี้ยังมี พระพรหมบัณฑิต มาร่วมให้ความรู้ด้วย เกี่ยวกับศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งท่านพระครูได้เดินทางไปบรรยายเรื่องนี้ในงานระดับนานาชาติ หลายครั้ง เช่น
– เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ปัจจุบันครั้งที่จัดที่เวียตนามเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
– เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย บรรยายเรื่อง International Recognition of the Day of Vesak
(วิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ) ในกิจกรรมวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากล สหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
– ล่าสุดบรรยายเรื่อง “Interreligious Partnership for a Sustainable World (ความร่วมมือระหว่างศาสนาเพื่อโลกที่พัฒนาอย่างยั่งยืน)” ณ ห้องประชุมซินนอดใหม่ นครรัฐวาติกัน

โดยขอสรุปเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน ตามหลักคิดสำคัญในเรื่องนี้ขององค์กรสหประชาชาติก็คือว่า การพัฒนาไม่ควรตั้งเป้าหมายไว้ที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาทางเศรษฐกิจจนเจริญเติบโตมากกลับเป็นผลร้าย เพราะมันนำไปสู่การทำลายสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ผลของการพัฒนาไม่ยั่งยืน ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องรวมเป้าหมายหลักสามประประการเข้าด้วยกัน คือ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ, การพัฒนาด้านสังคม และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

คุณโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจต่อเนื่อง

ซึ่งการพัฒนาทั้งสามด้านนี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจนไม่สามารถแยกจากกันได้ นั่นหมายความว่า การพัฒนาเศรษฐกิจต้องส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติไว้ เพื่อส่งมอบให้อนุชนคนรุ่นต่อไป เมื่อทำอย่างนี้ได้จึงถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ สำหรับงานวันที่สองยังเปิดเวทีให้กับตัวแทนจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จริงของแต่ละองค์กร เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางให้กับองค์กรอื่นๆ ต่อไป ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำ เช่น Mitr Phol Group, Tesco Lotus, Airports of Thailand PCL (AOT), True Corporation, Siam Commercial Bank (SCB), Sodexo Thailand, SCG รวมถึงยังมีการเวิร์คช็อปเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างใกล้ชิดและลงลึกในรายละเอียดอีกด้วย


 

ภาพ : จตุพล กล้าศึก

Praew Recommend

keyboard_arrow_up