ชานมไข่มุก

จากขนมริมทาง สู่ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มที่เป็นความภูมิใจของไต้หวัน

Alternative Textaccount_circle
ชานมไข่มุก
ชานมไข่มุก

จากขนมพื้นเมืองริมทาง “Fen Yuan” สู่ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มประจำชาติความภูมิใจของไต้หวัน

นาทีนี้หากจะพูดถึงเครื่องดื่มที่ฮิตที่สุด คงไม่มีเมนูไหนที่ตอบโจทย์ได้ดีไปกว่า ชานมไข่มุก อีกแล้ว เพราะไม่ได้ฮิตแค่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นที่นิยมใน ฮ่องกง,ญี่่ปุ่น,อเมริกาเหนือ ฯลฯ โดย Allied Analytics ได้เปิดเผยมูลค่าตลาดชาไข่มุกทั่วโลก ในปี 2560 อยู่ที่ 1,954 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (65,000 ล้านบาท) และมีแนวโน้มว่าในปี 2566 จะสูงถึง 3,214 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (100,000 ล้านบาท) ซึ่งจุดที่ทำให้โด่งดังเป็นพลุแตกก็เพราะนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไต้หวัน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ได้เลือกชานมไข่มุกมาอยู่ในแผนโปรโมทในฐานะเครื่องดื่มประจำชาติ

และหากยังพอจำกันได้ 15 ปีที่แล้ว ชาไข่มุกเคยเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะมีเมนูอื่นเข้ามาครองใจ แต่การกลับมาในครั้งนี้ร้อนแรงยิ่งกว่าเก่า เพราะมีการนำเข้าทั้งร้านแบรนด์จากต่างประเทศ แฟรนไชส์ เปิดขายกันอย่างคึกคัก ทำให้มีศึกแย่งชิงตลาดอย่างเข้มข้น ไม่แพ้รสชาติของชานมไข่มุกเลยทีเดียว

และหากใครไปเดินตลาดหรือสตรีทฟู้ดของไต้หวันคงได้เห็นร้านน้ำแข็งไส ซึ่งในหนึ่งถ้วยจะใส่ท็อปปิ้งได้หลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือไข่มุก หรือ “เฝิ่นหยวน” ซึ่งแท้จริงแล้วขนมชนิด นี่แหละ! คือส่วนประกอบหลักของ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มที่เป็นความภูมิใจของไต้หวันที่หลายคนติดใจ โดยมุกยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ”Babo”คือมุกใหญ่ กับ “Pearl”คือมุกเล็ก

https://www.instagram.com/p/BzhUgvOD5XY/

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชานมไข่มุกไต้หวันหลายเรื่อง แต่เรื่องที่โด่งดังที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของร้านชาเก่าแก่ที่ชื่อว่า “Chun Shui Tang ” โดยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์”หลินชิ่วฮุย”เปิดเผยว่าระหว่างที่นั่งประชุมกันอยู่ เธอนึกสนุกจึงนำขนม “เฝิ่นหยวน” ไปใส่ในชานม ซึ่งเธอค้นพบว่ามันเข้ากันได้ และมีสัมผัสที่น่าสนใจ จึงลองนำมาแบ่งให้ผู้ร่วมประชุมได้ทาน ก่อนตัดสินใจนำไปขายในร้าน ซึ่งหลังจากที่เปิดขายก็ได้กระแสตอบรับที่ดีมาก ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็น

อย่างไรก็ตามร้าน “Chun Shui Tang” ที่เคลมว่าเป็นต้นตำหรับแท้ๆ แต่กลับเปิดแค่ที่ไต้หวัน 12 สาขา และที่ญี่ปุ่น 7 สาขาเท่านั้น ทั้งที่จริงๆแล้วน่าจะขยายสาขาได้ทั่วโลกเหมือนกับสตาร์บัค แต่ “หลินชิ่วฮุย” ก็ปฏิเสธ โดยเธอบอกว่ามีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดเป็นจำนวนมาก แต่เธอปฏิเสธเนื่องจากเธอมองว่ามีคนเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่ชงชาได้ถูกวิธี ชาคือความภาคภูมิใจของคนในชาติ แม้ธุรกิจต้องการเงินแต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมด เธอเชื่อว่าการรักษาวัฒนธรรมและให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกับชาที่แท้จริงสิคือสิ่งที่เยี่ยมยอดมากกว่า


ภาพจาก : chunshuitang

สามารถติดตามอ่านบทความอื่นๆได้ที่นี่

 อร่อยจนต้องเลียนิ้ว จาฏ รสชาติสะท้อนวิถีชีวิตของอินเดีย

3 ร้านกินอร่อยแบบจุกๆ ข้าวมันไก่ เมนูประจำชาติสิงคโปร์

Praew Recommend

keyboard_arrow_up