'ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม' เสี่ยงเป็น 'โรคกระดูกพรุน'

ปรับพฤติกรรมอย่างไรเลี่ยง ‘ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม’ ต้นเหตุเสี่ยง ‘โรคกระดูกพรุน’

Alternative Textaccount_circle
'ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม' เสี่ยงเป็น 'โรคกระดูกพรุน'
'ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม' เสี่ยงเป็น 'โรคกระดูกพรุน'

ปัญหาเรื่อง ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม นับเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน ถึง 90% ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากที่ร่างกายขาดแคลเซียมส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้เปราะหักง่าย เนื่องจากสาเหตุร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ต่อทุกเพศทุกวัย

นอกจากนี้ข้อมูลยังพบว่าคนไทยอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 50% โดยพบในเพศหญิงถึง 35% มากกว่าเพศชายถึง 20% และยังพบด้วยว่าคนไทยมีแนวโน้มว่าอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะลดลงทุกปี ปัจจุบันภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหาร หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป นับเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่ถดถอยลงเรื่อยๆ  

สาเหตุของภาวะร่างกายขาดแคลเซียม
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเทียบกับแร่ธาตุชนิดอื่น แคลเซียมอยู่ในร่างกายเราถึง 98% ในส่วนของกระดูก มีผลต่อการสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง ไปจนถึงระบบประสาทที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของคนเรา และที่สำคัญร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้เอง ต้องมีการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเข้าไปให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ไม่ใช่แค่เด็กหรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องการแคลเซียม สำหรับคนทั่วไป ร่างกายต้องการแคลเซียมในปริมาณเฉลี่ยที่ 1,000 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาใช้ทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปในแต่ละวัน เราสามารถเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมได้จาก ข้าวโอ๊ต คะน้า บล็อกโคลี่ กุ้งแห้ง เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมตามที่ร่างกายต้องการ หากแต่ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันส่งผลให้เราไม่สามารถกินอาหารหลักที่ได้ปริมาณแคลเซียมครบตามที่ร่างกายต้องการ

สำหรับหญิงที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการปริมาณแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป ปริมาณเฉลี่ยที่ต้องการ 1,500 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อให้ทารกสามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างตั้งแต่ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ และฟันในทารก อีกทั้งยังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของเซลล์ ที่ควบคุมระบบการทำงานของหัวใจ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดในร่างกายของทารก รวมถึงหัวใจและระบบประสาทของทารกก็ใช้แคลเซียมด้วย อีกทั้งยังเสริมสร้างสติปัญญาของทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก ทารกจะดึงแคลเซียมสะสมของคุณแม่ไปใช้ ส่งผลให้แคลเซียมสะสมของคุณแม่น้อยลง อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

วิธีการที่ดีที่สุด คือ การกินอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลายครบ 5 หมู่  และกินแคลเซียมเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละช่วงวัย แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตและข้อจำกัดของแต่ละบุคคลทำให้การเลือกกินอาหารไม่หลากหลายและเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายได้สารอาหารไม่ครบถ้วน รวมไปถึงในบางคนมีอาการแพ้อาหารบางชนิด จึงมีความจำเป็นต้องหาวิธีการชดเชยแร่ธาตุที่ขาดไปมาทดแทน  

การกินอาหารที่มีโซเดียมสูง ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมและส่งเสริมให้มีการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ดังนั้น การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียมที่ร่างกายต้องการจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก และเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปในแต่ละวัน การเลือกกินแคลเซียมเสริมควบคู่กับวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้แคลเซียมยังสำคัญกับเด็กในวัยเจริญเติบโต เด็กที่มีภาวะร่างกายไม่สูง หรือร่างกายหยุดพัฒนา นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และอาจส่งผลต่อความมั่นใจกับเด็กในวัยนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อต้องพบปะผู้คน หรือ พบปะเด็กในช่วงวัยเดียวกันที่สูงกว่า ปัจจุบันผู้ปกครองจึงให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูบุตรหลาน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีโอกาสสูงอย่างต่อเนื่อง

เด็กแต่ละช่วงวัยมีความต้องการแคลเซียมในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เด็กอายุไม่เกิน 3 ปี ต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 200 – 700 มิลลิกรัม และ เด็กที่มีอายุ 3-10 ปี ต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 600 – 800 มิลลิกรัม ในวัยรุ่นที่ร่างกายกำลังเติบโตร่างเต็มที่นั้น ร่างกายมีความต้องการแคลเซียมถึงวันละ 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ การใช้ชีวิตประจำวันในเด็ก เช่น การวิ่ง หรือ การกระโดด ทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสียแคลเซียมไปได้ การกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็จะช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ทั้งนี้ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะโกรทฮอร์โมน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของความสูงในเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต 

ปัจจุบันมีตัวช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกายที่อยู่ในรูป Organic Salt นั่นก็คือ Calcium Glycerophosphate ที่เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายเรามีความคุ้นเคย ซึ่งทำให้สามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า มากกว่า Calcium Carbonate ถึง 4 เท่า และสามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้

ทำไม “Calcium Glycerophosphate”  จึงเป็นนวัตกรรมที่ล้ำหน้าและมีประสิทธิภาพได้ถึงเพียงนั้น? เพราะว่า Calcium Glycerophosphate มีความสามารถในการละลายที่ดีมากทั้งในกระเพาะอาหารและในลำไส้เล็ก เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นแบบ Chelate’s complex structure ซึ่งมีความแข็งแรงและช่วยให้แคลเซียมไม่แตกตัวในกระเพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรดและสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กที่มีสภาพเป็นด่างได้จนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด แตกต่างจากแคลเซียมในรูปแบบอื่นๆ ที่มักจะเกิดการแตกตัวในกระเพาะอาหารและจะตกตะกอนในลำไส้เล็กทำให้เกิดการดูดซึมที่น้อยกว่า

นอกจากนี้ยังพบว่า Calcium Glycerophosphate ยังสามารถถูกดูดซึมเข้ากระดูกได้ดี เนื่องจากสัดส่วนของแคลเซียม เท่ากับ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับในกระดูก และร่างกายสามารขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ไม่มีปัญหาตกค้างของแคลเซียม ที่อาจทำให้เกิดนิ่วหรือกระดูกงอกได้ เพราะว่าเป็น Calcium Organic ที่ดูดซึมได้ดี 


ขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์ สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันอี เบฟเวอเรจ (Yanhee Calcium Water)

ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up