ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง

เรื่องสุขภาพประมาทไม่ได้! แพทย์เตือนคนรุ่นใหม่ ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง

Alternative Textaccount_circle
ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง
ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง

อย่างที่เห็นกันตามข่าวอยู่ทุกวัน ทั้งนักกีฬา นักวิ่ง ที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี จู่ๆ ก็เสียชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว นักเดินทางชาวไทยที่ชื่นชอบการเดินป่า ปีนเขาที่พากันไปเสียชีวิตกันที่เทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล หรือคุณหมอที่ยังหนุ่มยังแน่นตรวจพบโรคร้ายในร่างกาย ตำรวจหนุ่มกล้ามโต หรือแม้แต่เทรนเนอร์ฟิตเนสที่ชอบ ออกกำลังกาย เป็นประจำเองก็ตาม แม้จะดูแลสุขภาพร่างกายมากขนาดไหน ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในร่างกายมีโรคร้ายอะไรซ่อนอยู่ 

แพทย์เตือนคนรุ่นใหม่ ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง

ออกกำลังกาย ต้องรู้ถึงขีดจำกัดร่างกายตัวเอง 1

ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเกิดโรคระบาดแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จนทำให้คนหันมาให้ความสนใจ Healthcare and Wellness อย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะโรคภัยเหล่านี้หากรู้ตัวก่อนก็สามารถป้องกันได้

แต่ทว่าหนึ่งในโรคที่คนเสียชีวิตมากจนน่าตกใจ ก็คือ NCDs โรคติดต่อไม่เรื้อรัง ไม่ร้ายแรง แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ปฏิบัติซ้ำๆ มาเป็นเวลานาน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งก็อาจจะมาจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเยอะ การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีรสเค็มมากๆ และอาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือกรรมพันธุ์  ซึ่งบางทีปัจจัยเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกัน บางคนก็อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวเร่ง ทำให้เกิดอาการของโรคได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งบางทีปัจจัยเหล่านี้ก็จะมีผลต่อการเร่งให้เกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน 

คุณหมอแอร์นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ กล่าวว่า “บางคนใช้ชีวิตแบบมีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งหลายอย่าง ก็จะเกิดโรค พบอาการของโรคเร็วขึ้น บางครั้งบางคนก็มาเจอตอนที่อายุมากแล้ว แน่นอนว่าต่อให้ร่างกายแข็งแรงแค่ไหน แต่พฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่ปฏิบัติซ้ำๆ ก็จะมีความเกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด ดังนั้น เราจึงต้องดูแลร่างกายตัวเองควบคู่กันไปด้วย

แม้จะเป็นคนที่อายุน้อยแล้วไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ก็ยังจากไปก่อนวัยอันควร ก็เพราะว่ามีระดับไขมันในเลือดสูง มีประวัติครอบครัว มีโอกาสที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้โดยไม่รู้ตัว ประวัติกรรมพันธุ์ต้องระมัดระวังให้ดีๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด เป็นเพราะไม่รู้ตัวมาก่อน การใช้ชีวิตจึงขาดการระมัดระวัง การดูแลเอาใจใส่ใจในสุขภาพ การควบคุมอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

การเกิดโรคหัวใจนั้น แม้ว่าจะออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถเกิดโรคหัวใจได้ โดยสาเหตุหลักๆ มาจากการสูบบุหรี่, ไขมันในเลือดสูง และปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ถ้าหากมีคนในครอบครัว มีประวัติกรรมพันธุ์ พ่อแม่เคยเป็นโรคหัวใจ เคยต้องทำบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ตอนที่ยังอายุไม่เยอะมาก ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี โดยสามารถรีเช็คตัวเองได้จากอาการ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้ว่าจะออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ จากที่เคยออกกำลังกายได้สบายๆ ก็กลายเป็นต้องพักบ่อยๆ  นั่นแปลว่าเริ่มมีสัญญาณเตือนมาแล้ว และต่อมาอาการเตือนที่รุนแรงขึ้นคือ อาการเจ็บหน้าอก นั่นแปลว่าเส้นเลือดหัวใจเริ่มมีอการตีบตัน จะเริ่มเจ็บที่บริเวณกลางหน้าอก ร้าวไปจนถึงบริเวณไหล่ อาการเจ็บจะมีความสัมพันธ์กับการออกแรง ให้สงสัยได้เลยว่านี่เป็นอาการเริ่มต้นของเส้นเลือดหัวใจตีบ สุดท้ายคืออาการเวียนหัว หน้ามืด จะเป็นลม ใจสั่น นี่คืออาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เมื่อเรามีอาการใดอาการหนึ่งของทั้งสามอาการนี้ เราต้องรีบเช็คร่างกายดูว่า โรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ในร่างกายของเรา กำลังแสดงอาการอยู่ไหม ต้องอย่าละเลย การป้องกันที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับคนทั่วไปที่สุขภาพโดยรวมดี เมื่ออายุสักประมาณ 35 ปี ก็ควรจะเริ่มตรวจสุขภาพแบบลงละเอียดได้แล้ว ตรวจเช็คสุขภาพให้ชัดเจน ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ค่าไต ค่าตับ คลื่นหัวใจ การ X-Ray ปอดและหัวใจก็ควรทำ

ในร่างกายของเราอาจมีโรคอะไรที่ซ่อนอยู่ ตรวจเช็คให้ดี มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิต บางคนคิดว่าตัวเองเป็นนักกีฬาร่างกายแข็งแรง ละเลยการตรวจสุขภาพ ทำให้ไม่รู้ว่าร่างกายตัวเองเป็นอย่างไร เราไม่ควรเพิกเฉย โรคบางโรคหากเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ การตรวจเช็คร่างกายสามารถทำให้ทราบถึงสภาวะร่างกายของตัวเราเองว่ามีภาวะของโรคอะไรที่ซ่อนอยู่บ้าง มันสามารถบอกเราได้ สำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และทำให้เราดำรงชีวิตต่อไปได้ราบรื่น ไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล”


ข้อมูล : นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลยันฮี
ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up