ตู่ ปิยวดี

“หินปูนในหูหลุด” คืออะไร? อาการหลัง “ตู่ ปิยวดี” สลบศีรษะฟาดพื้น จนถูกหามส่งร.พ.

Alternative Textaccount_circle
ตู่ ปิยวดี
ตู่ ปิยวดี

เมื่อวานนี้ทางผู้จัดคนเก่ง “ตู่ ปิยวดี มาลีนนท์” ได้อัพเดตอาการ หลังถูกหามส่งโรงพยาบาล ตั้งแต่ช่วงวันที่ 29 กันยายน 2564 โดยเจ้าตัวเผยว่า “ที่หายไปหลายวัน ไม่ได้ไปไหน อยู่ที่โรงพยาบาลตลอดเลย ซึ่งสาเหตุที่ป่วยในครั้งนี้ เริ่มจากมีอาการแพ้ยา ทำให้ความดันตกจนวูบหมดสติล้มหัวฟาดพื้น และ หินปูนในหูหลุด จนบ้านหมุน ส่วนตอนนี้หมอพยายามเอาหินปูนกลับเข้าที่ ซึ่งยังเข้าที่ได้ไม่ดีนัก จึงยังกลับบ้านไม่ได้”

ทำเอาเหล่าแฟนคลับเป็นห่วงกันยกใหญ่ และเชื่อว่าหลายคนต้องสงสัยแน่ว่า หินปูนในหูหลุด คืออะไร เราจะมาทำความรู้จักกัน โดยชื่อเต็มของโรคนี้คือ โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรค BPPV (Benign Paroxysmal Positional Vertigo)

บางคนอาจเคยมีอาการวิงเวียนศีรษะ โคลงเคลง หรือที่เราเรียกกันว่า บ้านหมุน กันอยู่บ้าง ซึ่ง โรค BPPV” ก็อาจเป็น 1 ในสาเหตุของอาการดังกล่าวได้

ภายในหูชั้นในจะมีอวัยวะควบคุมการทรงตัว ได้แก่ Utricle, Saccule และ Semicircular canal ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับท่อครึ่งวงกลม ในส่วน utricle จะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) ซึ่งมีหน้าที่รับรู้การเคลื่อนที่ของศีรษะเกาะอยู่ แต่หากหินปูนดังกล่าวเกิดหลุดและไปเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในส่วน Semicircular canal ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุนได้

สัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นโรค BPPV นั้นมีอะไรบ้าง

วิงเวียน โคลงเคลง เสียการทรงตัว และรู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมภายนอกเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็ว เช่น ก้มๆ เงยๆ หรือเอียงคอ

บางรายอาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่นาน แล้วจะค่อยๆเบาลง อาจจะเป็นๆหายๆ บางรายนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็ได้

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค BPPV 

  • ความเสื่อมตามอายุ
  • มีการติดเชื้อที่หูชั้นใน
  • มีการผ่าตัดหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
  • มีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็วซ้ำๆ
  • เกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระแทกบริเวณศีรษะ
  • มีโรคหรือความผิดปกติที่หูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ

มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้อาการของโรค BPPV รุนแรงมากขึ้น

  • อารมณ์เครียด
  • อาการเมารถ เมาเรือ
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • กิจกรรมที่ต้องก้มเงยศีรษะบ่อยๆ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
  • การเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ

โรค BPPV มีวิธีการรักษาอย่างไร 

  • การรักษาด้วยยา เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติ ก่อนจะทำการรักษาในขั้นต่อไป
  • การทำกายภาพบำบัด จะเน้นฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและลำคอ เพื่อให้ตะกอนหินปูนเคลื่อนกลับเข้าที่เดิม
  • การผ่าตัด มักใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล 

การป้องกันโรค BPPV ทำได้อย่างไร 

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวศีรษะเร็วๆ
  • ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อโรคในหู
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด

ข้อมูลลักษณะโรค : Dr.Teerapan Jaibun Chularat 3 International Hospital
ภาพ Cover : tu_piyawadee

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เช็ค อาหารต้องห้าม ของคนมีโรคประจำตัว กินดีได้ยา กินไม่ดีได้โทษ!

เช็ค 5 โรคอันตราย ภัยจาก WFH นั่งๆ นอนๆ เกิดเป็น “ภาวะขี้เกียจไม่เคลื่อนไหว”

10 ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านต้องมีเพิ่มความอุ่นใจสไตล์ New Normal

 

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up