เปิดลิสต์ 54 รายชื่อ "เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว" ที่ผ่าน อย.

เปิดลิสต์ 54 รายชื่อ “เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว” ที่ผ่าน อย.

Alternative Textaccount_circle
เปิดลิสต์ 54 รายชื่อ "เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว" ที่ผ่าน อย.
เปิดลิสต์ 54 รายชื่อ "เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว" ที่ผ่าน อย.

เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มยอดฮิตในช่วงที่โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับวัดค่าออกซิเจนภายในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ โดยปกติใช้กับผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังระดับค่าออกซิเจนในเลือด

ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือวินิจฉัยว่าติดหรือไม่ติดโควิด-19 แต่ให้ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 และใช้เพื่อดูการเต้นของหัวใจ รวมถึงดูระดับออกซิเจนที่อยู่ในเลือด ถ้าระดับออกซิเจนที่ผิดปกติอาจแสดงถึงความผิดปกติในปอด โดยปัจจุบันเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้วมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย จึงขอเปิดลิสต์ 54 รายชื่อ “เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว” ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาเผยแพร่ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบก่อนซื้อ

เปิดลิสต์ 54 รายชื่อ “เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว” ที่ผ่าน อย. 

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 3 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 4 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 5 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 2 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1

 

วิธีใช้เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว

  1. สอดนิ้วมือเข้าเครื่อง
  2. กดปุ่มเพื่อใช้งาน
  3. อ่านค่า

วิธีอ่านค่าและสังเกตความรุนแรง

สีเขียว 

  • ออกซิเจน อยู่ในระดับ 96%-100% จะเป็นระดับปกติของคนทั่วไป

สีเหลือง

  • ออกซิเจน อยู่ในระดับ 90%-95% หากอยู่ในระดับนี้ต้องติดต่อแพทย์ เพราะถือว่าเป็นระดับที่ผิดปกติ

สีแดง

  • ออกซิเจน อยู่ในระดับ 90% หากอยู่ในระดับนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน

การอ่านค่า

  • SpO2 คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
  • PR คือ อัตราการเต้นของหัวใจ

ข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง

  • ล้างมือให้สะอาด ล้างเล็บ ถอดเล็บปลอมออก
  • แนะนำให้ใช้นิ้วชี้ หรือ นิ้วกลาง
  • รอเครื่องแสดงผลระดับออกซิเจนในเลือดและชีพจรพร้อมกัน พยายามไม่ขยับ

กรณีออกซิเจนในเลือดต่ำส่งผลอะไรบ้าง

  • หายใจลำบาก เหนื่อย หายใจไม่เต็มที่
  • หายใจเร็วขึ้น แรงขึ้น เพราะร่างกายพยายามปรับสมดุล
  • เกิดการเสื่อมหรือตายของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ
  • มีอาการซึม สมองทำงานช้าลง
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) , chalita_k
ภาพ Cover : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อย. เตือนอย่าซื้อ ยาฟาวิพิราเวียร์ กินเอง เสี่ยงเจอยาปลอมอาจอันตรายถึงชีวิต

ระวังของปลอม! วิธีเช็ก “ฟ้าทะลายโจร” ระหว่าง ของจริง กับ ของปลอม

24 ยี่ห้อ ชุดตรวจโควิด-19 (Antigen Test Kit) ที่ อย.รับรอง ให้ประชาชนซื้อตรวจเองได้

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up