เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง อะไรเป็นรังสีที่ทำร้ายผิวได้มากที่สุด

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง อะไรเป็นรังสีที่ทำร้ายผิวได้มากที่สุด

Alternative Textaccount_circle
เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง อะไรเป็นรังสีที่ทำร้ายผิวได้มากที่สุด
เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง อะไรเป็นรังสีที่ทำร้ายผิวได้มากที่สุด

เวลาไปซื้อครีมหรือโลชั่นกันแดด เชื่อว่ามีหลายคนแอบสงสัยหรืองงมากว่า UVA / UVB แตกต่างกันยังไง แล้วตัวไหนร้ายกว่ากัน หรือร้ายทั้งคู่ แล้วทำร้ายผิวยังไงบ้าง แล้วเวลาเลือกซื้อครีมหรือโลชั่นกันแดดควรเลือกยังไงถึงจะป้องกันผิวได้ดีที่สุด เราจะพามาเคลียร์ข้อสงสัยระหว่าง UVA / UVB กันค่ะ

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง อะไรเป็นรังสีที่ทำร้ายผิวได้มากที่สุด

UVA ต้นตอของผิวแก่ก่อนวัยและมะเร็งผิวหนัง

UVA หรือ Ultraviolet A เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 320 – 400 nm ซึ่งมีอยู่ในแสงแดดมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ นางคือรังสีร้ายที่สามารถทะลุกระจกเข้ามาทำร้ายผิวแม้จะอยู่ในที่ร่มหรือตัวอาคาร สามารถเข้าทำร้ายลงลึกถึงชั้นหนังแท้ (Demis) โดยกดภูมิต้านทานของผิว จนทำให้เกิดการแพร่กระจายเป็นมะเร็งผิวหนัง

เรื่องของผิวแก่ก่อนวัย ภัยที่สาวๆ สงสัยนักหนาว่าทาผลิตภัณฑ์แอนไทเอจจิ้งไปเท่าไร ผิวก็ยังมีริ้วรอยก่อนวัยอยู่ดี เรื่องนี้นอกจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและกรรมพันธุ์ ก็ต้องโทษ เจ้า UVA นี่แหละที่ก่อให้เกิดริ้วรอยและจุดด่างดำได้

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง

ส่วนค่าที่ใช้บอกความสามารถในการป้องกันรังสี UVA ก็คือ ค่า PA หรือ Protection Grade of UVA เป็นค่าการป้องกัน UVA ริเริ่มโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2006 โดยมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้

  • PA+ มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA เริ่มต้น
  • PA++ มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA กลาง
  • PA+++ มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
  • PA++++ มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด

สำหรับสภาพอากาศสุดฮ็อต แดดแรงขนาดเมืองไทย ยิ่งถ้าต้องออกเอ๊าต์ดอร์ก็เลือกกันแดดที่มีค่า PA สูงเข้าไว้จะดีที่สุด (PA++++ มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด)

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง

UVB ตัวการทำผิวไหม้ หมองคล้ำ

UVB คือ Ultraviolet B รังสีที่มีความยาวคลื่น 290 – 320 nm ซึ่งมีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ในแสงอาทิตย์ ตัวนี้เป็นรังสีที่ไม่สามารถทะลุกระจกเข้ามาทำร้ายผิวได้หากเราอยู่ในที่ร่ม แต่ถ้าออกกลางแจ้ง รังสีนี้คือตัวการก่อให้เกิดผิวไหม้ เกรียม หมองคล้ำ ซึ่งถ้ารับมากเกินไปก็ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน

ค่า SPF (Sun Protection Factor) จึงเป็นตัวบอกค่าการดูดซับรังสีของ UVB นี่เอง โดยค่า SPF จะบอกให้รู้ระยะเวลาที่จะท้าทายแสงแดดอยู่ได้โดยไม่ทำให้ผิวไหม้หลังทากันแดดนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่กลางแดด 10 นาทีแล้วผิวเริ่มแดง นั่นคือผิวเราทนได้แค่ 10 นาที หากทากันแดดที่มี SPF 15 ผิวเราจะทนแดดได้นาน 10 × 15 = 150 นาที หรือประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยที่ผิวไม่แดงไหม้นั่นเอง และหากจะเทียบค่า SPF กับปริมาณการดูดซับรังสี UVB พบว่า

  • ค่า SPF 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
  • ค่า SPF 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
  • ค่า SPF 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
  • ค่า SPF 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
  • ค่า SPF 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
  • ค่า SPF 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
  • ค่า SPF 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
  • ค่า SPF 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%

จะเห็นว่าค่า SPF ที่สูงมากจนถึงขีดสุดนั้นให้ผลแทบจะไม่แตกต่างกัน แถมยังต้องเสี่ยงกับอาการแพ้และความเหนอะหนะจากสารกันแดดที่มีค่า SPF สูงมากจนเกินไปอีกด้วย อีกประการคือมีปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพการกันแดดต้องแปรเปลี่ยนไป ทั้งการสัมผัสเหงื่อ น้ำ แสงแดด ฯลฯ ที่ทำให้สารกันแดดเสื่อมประสิทธิภาพลงจนต้องทาซ้ำอยู่ดี ค่า SPF ที่สูงเกินไปจึงไม่จำเป็น

เคลียร์ข้อสงสัย UVA / UVB แตกต่างยังไง

สรุปง่ายๆ ก็คือ ทั้ง UVA / UVB ร้ายทั้งคู่ แต่ร้ายต่างกัน ฉะนั้น จึงควรป้องกันเสมอ ทาครีมกันแดดทุกวัน และเลือกตามที่ไกด์ไลน์ไปนะคะ


ข้อมูล : นิตยสารแพรว ฉบับ 969
ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up