สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรฯ เล่าถึง “ในหลวงรัชกาลที่ 9” สมัยทรงผนวชอยู่สำนักเดียวกัน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับเรื่องราวต้นแบบความอดทน เมื่อครั้งทรงผนวชที่วัดบวรฯ เป็นเวลา 15 วันในปี พ.ศ.2499 โดยสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้เปิดเผยเรื่องราวครั้งแรก “ในสมัยนั้นอาตมาเป็นพระใหม่ ก็สังเกตเห็นว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระราชหฤทัยปฏิบัติด้วยความศรัทธา กิจวัตรประจำวันคือเสด็จฯไปบิณฑบาตในวังหรือในส่วนราชการบ้าง แล้วก็เสด็จฯไปบิณฑบาตให้ประชาชนได้ใส่บาตรตามปกติ ดังนั้นคนใส่บาตรให้พระองค์ท่านไม่ใช่ว่าต้องพิเศษจากไหน “ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ในพระอุโบสถวัดเวลาทำวัตรสวดมนต์จะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ทิศตะวันตกสำหรับพระเก่าที่ประจำอยู่ที่วัด ส่วนทิศตะวันออกคือส่วนของพระองค์ท่านกับพระที่บวชตามเสด็จ เวลาทำวัตรสวดมนต์ พระองค์ท่านจะประทับนังพับเพียบหันพระบาทไปทางทิศตะวันออก แล้วประทับอยู่แบบนั้นโดยที่ไม่พลิกพระบาทหันมาทางทิศตะวันตกเลยสักครั้ง เป็นเวลาเกือบชั่วโมง ทั้งช่วงเช้า บ่าย เพราะตามธรรมเนียม ผู้บวชทีหลังต้องเคารพนับถือพระใหญ่ที่บวชมาก่อน ซึ่งท่านทรงศึกษามาก่อนผนวชแล้ว ถึงนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกประการ ขนาดอาตมาในฐานะที่บวชเณรมานาน แค่มาบวชพระปีเดียวกับพระองค์ท่านก็ยังปฏิบัติสู้ท่านไม่ได้ “อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัย ก็อยากให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติบำเพ็ญตนตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา คิดดี ทำดี ละเว้นความชั่ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล” นอกจากนี้พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯยังกล่าวอีกว่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความอาลัยต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช […]

เศร้าไม่แพ้กัน ชาวไทยในนิวยอร์กพร้อมใจกันออกมาส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย 

ถึงแม้จะอยู่กันคนละมุมโลก แต่ความรักที่ประชาชนชาวไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลย

รักของน้องส่งถึงพี่ เปิดบทเพลงพระราชนิพนธ์สุดท้าย ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแด่สมเด็จพระพี่นางฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดการทำกิจกรรมในหลายด้านและมีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องดนตรี พระองค์ถือเป็นพระอัครศิลปิน ที่ได้สร้างสรรค์ เพลงพระราชนิพนธ์ เอาไว้มากมายถึง 48 บทเพลง

keyboard_arrow_up