Cheng Wei

จากผู้ช่วยบริษัทนวด Cheng Wei ก้าวสู่เจ้าของ Didi แอปเรียกรถใหญ่ที่สุดในจีน

account_circle
Cheng Wei
Cheng Wei

จากผู้ช่วยหัวหน้าบริษัทนวดแห่งหนึ่ง Cheng Wei กลายเจ้าของ Didi ChuXing แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มเรียกรถขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีพันล้านด้วยวัยเพียง 38 ปี

ปัจจุบันแอปพลิเคชั่นเรียกรถโดยสารได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Grab,Line Man หรือ Uber ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศจีนนั้นต้องยกให้ Didi ChuXing แพลตฟอร์มเรียกรถโดยสารที่มีส่วนแบ่งในตลาดสูงถึง 90% ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ เจิ้ง เวย ผู้ก่อตั้ง Didi ChuXing ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีด้วยทรัพย์สิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากผู้ช่วยบริษัทนวด Cheng Wei ก้าวสู่เจ้าของ Didi แอปเรียกรถใหญ่ที่สุดในจีน

Cheng Wei เจ้าของ Didi ChuXing
Photo: Reuters

แต่เมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่ เจิ้ง เวย เปิดขายหุ้น IPO ให้แก่ประชาชนทั่วไปในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก กลับกลายเป็นว่าเขาถูกสอบสวนจาก ฝ่ายบริหารไซเบอร์สเปซของจีน เป็นเหตุให้แอปพลิเคชั่นของเขาถูกลบออกจากแอปสโตร์ ส่งผลให้การลงทะเบียนของผู้ใช้ใหม่ต้องหยุดชะงัก

ถึงแม้ในตอนนี้ Didi ChuXing จะถูกหยุดการใช้งาน แต่ที่ผ่านมา เจิ้ง เว่ย ได้พิสูจน์แล้วว่า จากลูกจ้างเงินเดือน 7,000 บาทก็กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้านได้ ซึ่งเขามีวิธีอย่างไร ไปดูกันเลย

เจิ้ง เวย เกิดในปี 1983 ที่เมืองซ่างเหรา ในมณฑลเจียงซี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หลังจากสำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาด้านการบริหาร จาก Beijing University of Chemical Technology เจิ้ง เหว่ย ได้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยหัวหน้าบริษัทนวดแห่งหนึ่ง

หลังทำได้เพียง 1 ปี ในปี  2005 เขาได้ลาออกจากบริษัทเดิมเพื่อร่วมงานด้านการขายกับอาลีบาบาของ แจ๊ค หม่า (เจ้าของ South China Morning Post) ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยม ทำให้ เจิ้ง เวย ไต่ขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเขาได้เป็นผู้จัดการประจำภูมิภาคที่อายุน้อยที่สุดในบริษัท และ 6 ปีถัดมา เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นรองผู้จัดการทั่วไปในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบา

Cheng Wei เจ้าของ Didi ChuXing
Photo: AFP

หลังจากร่วมงานกับอาลีบาบามาอย่างยาวนาน ในปี 2012 เจิ้ง เวย ตัดสินใจลาออก เพื่อไปเปิดบริษัทของตัวเองที่ชื่อว่า Beijing Orange Technology Co. ซึ่งนี่เป็นก้าวแรกของของเขาในการเปิดตัว Didi Dache ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น Didi Chuxing ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ก้าวแรกของเขาก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด การครอบครองการตลาดไม่ใช่เรื่องที่ทำแล้วประสบความสำเร็จในครั้งแรก ซึ่งปัญหาของ เจิ้ง เวย คือ การดึงดูดใจผู้ใช้ที่มีศักยภาพและสรรหาพนักงานขับรถ แม้แต่ หวัง ชิง CEO ของ Meituan-Dianping เพื่อนสนิทของเขายังบอกกับ เจิ้ง เวย ว่าความคิดของเขาน่าจะใช้ไม่ได้ผล

Photo : fortune.com

ไม่นานนักฟ้าก็ก็เปิดให้ เจิ้ง เวย ได้เห็นหนทาง โดยจุดเปลี่ยนของเขาเกิดขึ้นในช่วงพายุหิมะในกรุงปักกิ่ง ตามข้อมูลของ Gelonghui การเรียกแท็กซี่บนท้องถนนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มดาวน์โหลดแอป Didi Dache มาใช้เป็นจำนวนมาก

ถัดมาใน 2013 เจิ้ง เวย ได้รับเงินทุน 15 ล้านเหรียญสหรัฐจาก Tencent ทำให้เขามีทุนในการเพิ่มจำนวนรถในวันละหลายเท่า แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เขาก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงกับคู่แข่ง Kuaidi Dache ซึ่งในขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากเงินจากอาลีบาบา แต่ท้ายที่สุดในปี 2558 ทั้งสองบริษัทก็ได้ควบรวมกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น Didi Chuxing

ในปี 2016 เจิ้ง เวย ได้เข้าซื้อกิจการ Uber China ซึ่งนี่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้เขาก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มนี้อย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงแต่ขยายธุรกิจในจีนเท่านั้น แต่ยังขยายไปทั่วโลกอีกด้วย สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า ภายในปี 2017 แอปพลิเคชั่น Didi Chuxing พาผู้โดยสารเดินทางสำเร็จแล้วรวม 7.43 พันล้านครั้งใน 400 เมืองทั่วประเทศจีน

ขณะเดียวกัน เจิ้ง เวย ยังได้พัฒนาแอปอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2018 เขาอัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพ หลังจากมีรายงานว่าคนขับทำร้ายผู้โดยสารผู้หญิงเสียชีวิตถึงสองครั้ง โดยเขาให้คำมั่นว่าจะลงทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐในการอัปเกรดแพลตฟอร์มนี้

ในปีนี้ Didi Chuxing ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกโดยนิตยสาร Time ซึ่ง Didi Chuxing ยังได้ให้บริการในอีก 16 ประเทศ รวมทั้งบราซิล เม็กซิโก และรัสเซีย อีกด้วย


ที่มา : www.scmp.com

หลี่ เจียฉี “ราชาลิปสติก” สร้างยอดขาย 4.7 พันล้านบาท ใน “วันคนโสด” ของจีน

สกัดเส้นทางเศรษฐี! ลือสั่งห้าม นางเอกจีน ฟ่านปิงปิง ไลฟ์สดขายของออนไลน์

Praew Recommend

keyboard_arrow_up