อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา

อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา ชินาการ ดุริยางค์โคราช สู่เวทีระดับโลก

Alternative Textaccount_circle
อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา
อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา

ดุริยางค์โคราช สู่เวทีระดับโลก อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา ชินาการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  คว้า 4 รางวัลจาก 22nd International Festival of Wind Orchestra Prague 2020 ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก

หนึ่งในความสำเร็จที่พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังคนไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก คือ อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา ชินาการ นักดนตรีเครื่องเป่าปิคโคโล (Piccolo) วัย 16 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุรนารีวิทยา หนึ่งใน สมาชิกของ Suranaree Girls Wind Symphony วงดุริยางค์เครื่องเป่า หญิงล้วนจากโรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถคว้า 4 รางวัลจากการแข่งขันดนตรีระดับโลก วงดุริยางค์เครื่องเป่าบรรเลงนานาชาติ ครั้งที่ 22 (22nd International Festival of Wind Orchestra Prague 2020) ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก  วันนี้เธอกลับมาเป็นผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจให้นักดนตรีชาวไทยที่มีความฝัน และความเชื่อมั่นในพลังของคนไทย ได้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเธอ และเพื่อนสมาชิกวง Suranaree Girls Wind Symphony ทั้ง 66 คน

อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา

ก่อนหน้านี้วง Suranaree Girls Wind Symphony เคยคว้ารางวัล ชนะเลิศจากการประกวด Thailand International Wind Symphony Competition 2019 (TIWSC) เวทีที่สนับสนุนศักยภาพด้านดนตรีของ คนไทยด้วยมาตรฐานการแข่งขันระดับสากล จัดขึ้นโดยกลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ภายใต้โครงการ “King Power Thai Power พลังคนไทย” ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานนี้ไม่มีคำว่า “ฟลุค” หรือ “โชคช่วย” แต่มาจากความรัก ความมุ่งมั่น การฝึกซ้อมอย่างหนัก อีกทั้งได้แรงสนับสนุนในการเปิดเวทีให้ได้แสดง ศักยภาพ และนำพาไปจนถึงฝั่งฝันที่ตั้งใจ ซึ่งครั้งนี้อุ๊บอิ๊บ – ชนัญชิตา อาสาเป็นตัวแทนเพื่อน ๆ ในวงมาถ่ายทอดเรื่องราวจากจุดเริ่มต้น“หนึ่งในนโยบายของโรงเรียนสุรนารีวิทยาคือ สนับสนุนนักเรียนที่ สนใจด้านดนตรีค่ะ เวลานั้นอุ๊บอิ๊บเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นนักร้อง ประจำวงดนตรีของโรงเรียน แล้ว ครูจุ้น – อภิวุฒิ มินาลัย ชวนให้มาร่วมวง Suranaree Girls Wind Symphony ตอนนั้นอุ๊บอิ๊บยังไม่รู้จักเครื่องดนตรี ของวงดุริยางค์เลย บวกกับรุ่นพี่ที่สนิทกันเป็นสมาชิกในวงนี้ ชวนให้อยู่ใน กลุ่มเครื่องดนตรีฟลูต พอได้เล่นแล้วชอบมาก รู้สึกว่ามีเทคนิคต่าง ๆ ที่ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด

“วงของเราเป็นนักเรียนหญิงล้วนค่ะ มีตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมแล้วประมาณ 66 คน ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และเสาร์ หลังเลิกเรียน เราจะเริ่มซ้อมดนตรีกันตั้งแต่ 16.45 น. จนถึง 18.30 น. ไม่ได้มีการไปเรียนเพิ่มเติม ทุกคนตั้งใจและพยายามทำ ให้ดีในเวลาที่ซ้อม ส่วนวันอังคารกับพฤหัสบดี ครูให้เป็นเวลาอิสระสำหรับ ทำกิจกรรมของตนเอง แรก ๆ มีบ้างที่รู้สึกท้อ เพราะทั้งเล่นดนตรีและเรียน หนังสือ การบ้านก็มากขึ้น ต้องพยายามแบ่งเวลาให้ได้ จนทุกอย่างลงตัว ทั้งดนตรีและการเรียน ด้วยคะแนนเฉลี่ยปีนี้ 3.75”

ผ่านไปเพียง 3 เดือน อุ๊บอิ๊บกับเพื่อน ๆ ก็ได้รับโอกาสให้ไปเข้าร่วม แข่งขันในงานเทศกาลดนตรี Singapore International Band Festival 2018 (SIBF) ที่ประเทศสิงคโปร์

“ถือเป็นเวทีแรกในชีวิต คู่แข่งทั้ง 72 วงเก่งมาก พวกเราต้องฝึกซ้อม อย่างหนัก ตั้งใจทำสุดความสามารถ กระทั่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับความสามารถเหรียญทองในรุ่น DIVISION 1 ซึ่งเป็นดิวิชั่นสูงสุด ของนักเรียน ด้วยคะแนนสูงสุด 87.8 คะแนน”

อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา

หลังจากการแข่งขันรายการนั้น รุ่นพี่ที่เป็นนักดนตรีปิคโคโล (คล้าย ฟลูต แต่เล็กกว่าและเสียงสูงกว่า) เรียนจบไป ทำให้ตำแหน่งปิคโคโลว่าง ครูจุ้นจึงชวนให้เธอลองเล่น

“ปิคโคโลเล่นยากมากค่ะ ต้องอาศัยการบังคับลม ที่สำคัญคือไม่มี รุ่นพี่มาคอยช่วยสอนช่วยแนะ ต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเล่นด้วยตัวเอง ทำให้รู้สึกท้อมาก ถึงขั้นเคยคิดจะลาออกจากวง ครูจุ้นต้องเตือนสติให้ลอง มองย้อนกลับไปในวันแรกที่เล่นฟลูตไม่เป็นเลย การเริ่มเล่นปิคโคโลก็คล้าย ตอนนั้น ซึ่งสุดท้ายเมื่อใช้ความพยายามเต็มที่ก็สามารถเล่นได้ค่ะ” (ยิ้ม)

แล้วบททดสอบครั้งสำคัญก็มาถึง กับการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่า นานาชาติแห่งประเทศไทย 2562 หรือ Thailand International Wind Symphony Competition 2019 (TIWSC) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาท- สมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

“อุ๊บอิ๊บรู้สึกว่างานนี้ยากกว่าทุกที่ที่เคยประกวดมา เพราะเป็นเวที ที่มีมาตรฐานไม่ต่างจากเวทีระดับโลก โดยเปิดรับสมัครทั้งวงของประเทศไทย และจากประเทศต่าง ๆ รวม 30 วง โดยให้ส่งคลิปวิดีโอการแสดงของวงมา เพื่อคัดให้เหลือ 10 วง แล้วค่อยเดินทางมาเล่นสดบนเวทีที่มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ตื่นเต้นมาก กลัวว่าตัวเองจะทำพลาด แต่ที่สุดวงเราก็ ชนะอีกครั้ง (ยิ้ม)

“ครูจุ้นสอนพวกเราเสมอว่า การแข่งขัน ไม่จำเป็นต้องได้ที่ 1 แค่ทำให้ดีที่สุด คือให้สู้กับ ตัวเอง เป้าหมายของเราไม่จำเป็นต้องชนะ เพราะ การเดินทางไม่จำเป็นต้องถึงจุดหมายเสมอไป แค่ ระหว่างทางเราได้อะไร นั่นคือสิ่งสำคัญ และแม้วันนี้ เราจะได้แชมป์ แต่เป็นชัยชนะแค่ตอนนั้น วันรุ่งขึ้น เราก็ต้องซ้อมใหม่อีก”

เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยในด้าน ดนตรี กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้ให้การสนับสนุน วง Suranaree Girls Wind Symphony ในการ เดินทางไปประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่าบรรเลง นานาชาติ ครั้งที่ 22 ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่วงดุริยางค์ของไทยและเป็น หนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียที่เข้าร่วมประกวด

“ครั้งนี้มีวงดุริยางค์จากทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขัน กว่า 21 วง เพลงที่เราเลือกแสดงมีทั้งหมด 4 เพลง เริ่มด้วย Rhapsody on Theme of King Rama 9 รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ- พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น Norio Maeda นำมาเรียบเรียงใหม่ บทเพลงที่ 2 Thai Sensei March ผลงานประพันธ์ของอาจารย์วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงของเราโดยเฉพาะ แนวเพลงเซิ้งทางอีสาน ซึ่งเราถนัดและชอบมาก มีความสุขที่ได้เล่นเพลงนี้ให้นักดนตรีจากทั่วโลก ได้ฟัง บทเพลงที่ 3 เป็นเพลงบังคับของการประกวด Overture 2000 ที่จะวัดความสามารถของวาทยกร ว่าจะสร้างสรรค์บทเพลงนี้ออกมาอย่างไร และสื่อ บทเพลงนี้ให้โดดเด่นได้อย่างไร และบทเพลงสุดท้ายคือ Variation on A Hymn by Louis Bourgeois”

ปรากฏว่าวง Suranaree Girls Wind Symphony วงที่ผู้เล่นอายุน้อย ที่สุดของการแข่งขันครั้งนี้ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ 4 รางวัล ได้แก่ รางวัล เหรียญทองเกียรตินิยม ทำคะแนนรวมได้สูงสุด 95.33 คะแนน รางวัลชนะเลิศ ประเภทนักเรียน (Middle Class) รางวัลเพลงบังคับยอดนิยม และรางวัล ผู้อำนวยเพลงยอดเยี่ยม ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ด้านดนตรีให้ประเทศไทยสาวน้อยนักดนตรีเผยถึงเคล็ดลับสำคัญที่ ทำให้วง Suranaree Girls Wind Symphony ประสบความสำเร็จและคว้าแชมป์มาโดยตลอด

อุ๊บอิ๊บ-ชนัญชิตา

“การรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ที่นี่เราจะมีระบบ รุ่นพี่รุ่นน้อง รุ่นพี่จะดูแลรุ่นน้องทุกเรื่องแบบ ประกบตัวต่อตัว เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน โดยแต่ละคนต้องรู้จักหน้าที่ของตัวเอง เวลาเล่น ดนตรีทุกคนจะต้องรู้จักยอมกัน จะไม่เล่นแข่งกัน ถ้าต่างคนต่างเป่าเสียงดังก็ไม่มีวันที่เพลงจะไพเราะ เมื่อเรารู้ว่าคนนี้นำ เราจะต้องยอมให้เขาเป่าให้เต็มที่ แล้วเราช่วยประคองตามกัน และที่สำคัญวงนี้ ไม่มีการกลับไปซ้อมที่บ้าน ครูจุ้นไม่อนุญาตให้นำ เครื่องดนตรีกลับไปเล่นที่บ้าน เพราะวันหยุดถือเป็น เวลาของครอบครัว เป็นการสอนให้พวกเรารู้จัก จัดสรรเวลาให้ถูกต้อง”

จากที่ได้รับการบ่มเพาะให้เป็นคนเก่งและ มีคุณภาพ ทำให้เธอเริ่มวางเป้าหมายอนาคตแม้จะอยู่ เพียงมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก็ตาม

“อุ๊บอิ๊บเริ่มจากตั้งเป้าหมายวันต่อวันก่อนว่า อยากทำอะไร แล้วค่อยขยับเป้าหมายให้ไกลขึ้น ค่อย ๆ ค้นหาว่าตัวเองชอบอะไร ไม่อย่างนั้นอาจจะ หลงทางหรือไปผิดทางได้ ทำให้วันนี้อุ๊บอิ๊บรู้แล้วว่า ตัวเองอยากเป็นครูสอนดนตรี สอนนักเรียนตาม โรงเรียนที่ห่างไกล เพื่อให้เขาได้มีโอกาสเล่นดนตรี และพัฒนาตัวเองให้เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้ แค่เชื่อว่าตัวเอง ทำได้ เราต้องทำได้แน่นอน”

คงพิสูจน์แล้วว่าเยาวชนไทยมีความสามารถ ไม่แพ้ชาติใดในโลก ขอเพียงแค่มีเวทีให้พวกเขาได้แสดงพลัง ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ภายใต้โครงการ “King Power Thai Power พลังคนไทย” ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย มุ่งส่งเสริมการพัฒนา สังคมไทยให้ครบทุกมิติอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านกีฬา ชุมชน และดนตรี

ที่มา นิตยสารแพรว ฉบับ 958 เรื่อง กิดานันท์ สุดเสน่หา ภาพ วรสันต์ ทวีวรรธนะ ผู้ช่วยช่างภาพ ณรงศักดิ์ บำรุงกิจ


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

วันวานที่บอบช้ำของ ‘พีเค-ปิยะวัฒน์’ ผู้เปลี่ยนคำบูลลี่เป็นแรงผลักดันจนได้ดี

จากใจคนดังเหยื่อบูลลี่ ‘อั๋น-ภูวนาท คุนผลิน’ ดึงสติรับมือสู้คำวิจารณ์

ชีวิตอีกมุมของสาวติสต์สุดฮ็อต ‘นท พนายางกูร’ ชนะความเครียดด้วยดนตรีบำบัด

Praew Recommend

keyboard_arrow_up