ในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลภาวะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน หรือโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียม ซึ่งแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านอาหาร น้ำดื่ม และอากาศที่ปนเปื้อน ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพและเกิดโรคเรื้อรังขึ้น
คีเลชั่น (Chelation) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยล้างสารพิษและล้างโลหะหนักในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแต่การทำคีเลชั่นคืออะไร? เหมาะกับใครบ้าง? มีผลข้างเคียงไหม? หาคำตอบได้ในบทความนี้!
การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy) คืออะไร?
คีเลชั่น หรือ Chelation Therapy คือ การขจัดสารพิษ ล้างสารพิษในร่างกาย และสารพิษในหลอดเลือดอาหาร ด้วยกระบวนการทางการแพทย์ที่จะใช้สารละลายชนิดพิเศษเรียกว่า “คีเลตติ้งเอเจนต์ (Chelating agent)” อาทิ EDTA (Ethylene Diamine Tetra Acetic Acid) เข้าไปจับกับโลหะหนักต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียมที่สะสมอยู่ในร่างกาย จากนั้นจึงขับออกไปทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสะอาด ปราศจากสารพิษที่เป็นอันตราย
สำหรับขั้นตอนการทำคีเลชั่น แพทย์จะฉีดสารละลายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดดำ โดยใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง ระหว่างที่ล้างพิษ ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เช่น พักผ่อน อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง
อาการเมื่อมีสารพิษโลหะหนักสะสมในร่างกายจะเป็นอย่างไร?
เมื่อร่างกายมีสารพิษโลหะหนักสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก การล้างสารพิษด้วยคีเลชั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากปล่อยให้สารพิษโลหะหนักตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยอาการที่พบบ่อยมีดังนี้
- อาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดหัวเรื้อรัง, วิงเวียนศีรษะ, อ่อนเพลีย, นอนไม่หลับ, มีปัญหาด้านสมาธิและความจำ, ชาตามปลายมือปลายเท้า
- อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, ปวดท้องเรื้อรัง
- อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก, หอบหืด, ไอเรื้อรัง
- อาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน, ผิวหนังอักเสบ
- อาการทางระบบไหลเวียนเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ
- อาการทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดข้อ
- อาการทางระบบประสาทสัมผัส เช่น ตาพร่ามัว และหูอื้อ
ใครบ้างที่เหมาะกับการทำคีเลชั่น และใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการทำคีเลชั่น
ผู้ที่เหมาะกับการทำคีเลชั่น
การทำคีเลชั่นบำบัด เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการสะสมโลหะหนักในร่างกาย หรือผู้ที่มีอาการที่สอดคล้องกับการเป็นพิษจากโลหะหนัก ดังนี้
- ผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสโลหะหนักสูง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลหะหนัก, ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง, ผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ
- ผู้ที่มีอาการที่อาจเกิดจากการสะสมของโลหะหนัก เช่น ปวดหัวเรื้อรัง, อ่อนเพลีย, นอนไม่หลับ, มีปัญหาความจำ, ปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ หรือเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน และโรคไขข้ออักเสบ
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และต้องการชะลอความเสื่อมของร่างกาย คีเลชั่นก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพได้
ผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำคีเลชั่น
ถึงแม้ว่าการทำคีเลชั่นจะมีข้อดีต่าง ๆ มากมาย รวมถึงช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากภายในได้ แต่คีเลชั่นก็มีข้อจำกัดบางอย่างและไม่เหมาะสำหรับคนบางกลุ่ม ดังนี้
- ผู้ที่แพ้สาร EDTA ซึ่งพบได้น้อยมาก ทั้งนี้ควรแจ้งให้แพทย์ให้ทราบถึงประวัติการแพ้ยาหรือสารเคมีต่างๆ
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการทำคีเลชั่นในกลุ่มนี้
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต เนื่องจากกระบวนการขับโลหะหนักต้องอาศัยการทำงานของไต หากไตทำงานไม่เต็มที่ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ประโยชน์จากการทำคีเลชั่น (Chelation)
คีเลชั่น (Chelation) เป็นการรักษาที่ใช้สารเคมีพิเศษดึงโลหะหนักออกจากร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ และฟื้นฟูสุขภาพโดยรวมได้ในหลาย ๆ ด้าน โดยประโยชน์และข้อดีของการทำคีเลชั่น มีดังนี้
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โลหะหนักที่สะสมในผนังหลอดเลือดอาจก่อให้เกิดการอักเสบและการแข็งตัวของหลอดเลือดได้ การทำคีเลชั่นจะช่วยล้างหลอดเลือด ขจัดสารพิษ และช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้
- ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต การทํา Chelation เพื่อขจัดโลหะหนักออกจากหลอดเลือด จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
- ช่วยลดความดันโลหิต ในบางราย การทำคีเลชั่นอาจช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ โลหะหนักเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ การทำคีเลชั่นบำบัดจึงช่วยบรรเทาอาการปวดเหล่านี้ได้
- ช่วยปรับปรุงสุขภาพสมอง Chelation Therapy สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์
- ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย การขจัดสารพิษออกจากร่างกายจะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและมีพลังงานมากขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการทำคีเลชั่น (Chelation)
หลายคนที่สงสัยว่าคีเลชั่นมีผลข้างเคียงไหม? คีเลชั่นอันตรายหรือไม่? ถึงแม้ว่าคีเลชั่นจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยขจัดโลหะหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การทำคีเลชั่นก็อาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างได้เหมือนกัน
โดยทั่วไปแล้ว ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง โดยผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการทำคีเลชั่น (Chelation) มีดังนี้
- มีอาการปวด บวม แดง หรือแสบร้อน
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนหัว
- ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่า เช่น ความดันโลหิตต่ำ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือปฏิกิริยาแพ้รุนแรง
ทำคีเลชั่น (Chelation) เพื่อขับสารพิษออกจากร่างกายที่ไหนดี?
การทำคีเลชั่นบำบัดเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์ ดังนั้นการเลือกสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
หากคุณกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะทำคีเลชั่น (Chelation) ที่ไหนดี? S’rene by SLC เป็นอีกหนึ่งสถานพยาบาลที่น่าสนใจ ด้วยคลินิกที่ได้มาตรฐาน ให้คำปรึกษาและดูแลทุกขั้นตอนโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ อีกทั้งยังเป็นคลินิกดูแลสุขภาพสำหรับคนเมือง ที่ให้คุณสามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว กับ 3 สาขาที่ตั้งอยู่ในทำเลใกล้รถไฟฟ้า เดินทางสะดวก ได้แก่ สาขาทองหล่อ, สาขาชานแจ้งวัฒนะ และสาขาพาราไดซ์ พาร์ค หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางไลน์ @SRENEbySLC (มี @ ด้านหน้า)
สรุปเรื่องการทำคีเลชั่น (Chelation)
คีเลชั่น (Chelation) เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการขจัดสารพิษและล้างโลหะหนักในร่างกายที่มีประสิทธิภาพ หากร่างกายไม่มีสารโลหะหนักตกค้าง ก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดจากมลภาวะรวมถึงโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น้ำดื่ม และอากาศได้