กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และถอดบทเรียนภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น โครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
THEATRE Cover

กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และถอดบทเรียนภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น โครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

THEATRE Cover
THEATRE Cover

กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และถอดบทเรียนภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น โครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ณ บ้านนาเสมียน หมู่ที่ 7 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมด้วย นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดสงขลา ได้พบปะผู้เข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และถอดบทเรียนภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น โครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

โดยในวันนี้ ได้รับเกียรติจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ อาทิ นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบและผู้ก่อตั้งแบรนด์ ISSUE นายจิรัฏฐ์ ทรัพย์พิศาลกุล สไตล์ไดเร็กเตอร์นิตยสารโว้ก ประเทศไทย และคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน นายมรุต ภูมิมี ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานแผนและยุทธศาสตร์ นายสุวัฒน์ มีอุปการ พัฒนาการอำเภอจะนะ นางจารุวรรณ จันทร์มา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมฯ

นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้กล่าวเพิ่มเติม โครงการการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ของ ดังนี้

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนภูมิปัญญาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีความร่วมสมัยตรงตามความต้องการของตลาด

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนภูมิปัญญา ให้เป็นชุมชนภูมิปัญญาต้นแบบ 3. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากผ่านการสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการ และสมาชิกในชุมชนภูมิปัญญาเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 30 กลุ่ม/ราย

Praew Recommend

keyboard_arrow_up