เปิดพิพิธภัณฑ์ กำพล วัชรพล เชิดชูเกียรตินักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของโลก

Alternative Textaccount_circle

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวประกาศเกียรติคุณ นายกำพล วัชรพล เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการใช้สื่อ เพื่อการเผยพร่การศึกษาต่างๆ ได้อย่ารวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ และยังเป็นผู้ที่มีบทบาทส่งเสริมผลงานต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาตลอดชีวิตเป็นเอนกอนันต์ มีความสอดคล้องกับภารกิจขอองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ในสาขาการศึกษาและการสื่อสารมวลชน โดยในด้านการศึกษา นายกำพล วัชรพล ได้นำเงินรายได้จากการจำหน่ายหนังสือพิมพ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ไปสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จำนวนกว่า 100 แห่ง เพื่อให้โอกาสแก่เยาวชนของชาติ แม้ว่าโรงเรียนเหล่านี้เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้มอบให้เป็นโรงเรียนของรัฐ แต่มูลนิธิไทยรัฐยังได้อุปการะเกื้อเหนุนและให้การสนับสนุนด้วยดีมาอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ไม่น้อยกว่า 20 โครงการในแต่ละปี บริจาคเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้มหาวิทยาลัยต่างๆ และการประกวดวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อยกระดับวิทยานิพนธ์

ด้านสื่อสารมวลชน นายกำพล วัชรพล เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยได้ดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้สร้างให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ทำหน้าที่สื่อสารมวลชนอย่างสมบูรณ์แบบในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีส่วนสนับสนุนให้วงการสื่อมวลชนเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสารข้อมูล และการแสดงความคิดเห็นต่างๆ อย่างเสรี ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์หลายประการ อาทิ เป็นผู้นำระบบการเรียพิมพ์ด้วยแสง การพิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ และการนำเข้าเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการผลิตหนังสือพิมพ์รายวัน เพื่อให้ไปถึงผู้รับข่าวสารให้เร็วที่สุด

ผลงานของนายกำพล วัชรพล มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาการศึกษา และสื่อมวลชนของประเทศไทย และสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การยูเนสโก ในด้านการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพให้แก่คนทุกคน และการส่งเสริมเสรีภาพของสื่อ ในโอกาสที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้นายกำพล วัชรพล เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ และร่วมเฉลิมฉลองวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในปีนี้ จึงนับว่าเป็นการเชิดชูเกียรตินายกำพล วัชรพล และยังเป็นโอกาสให้มูลนิธิไทยรัฐได้สืบสานปณิธานของนายกำพล วัชรพล ทั้งในด้านการพัฒนาการศึกษาและการสื่อสารมวลชนอีกด้วย

ด้านนายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการยูเนสโกประจำกรุงเทพมหานคร กล่าวสดุดีนายกำพล วัชรพล เป็นชาวไทยเพียงคนเดียวที่ไดรับการสดุดีจากยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในการประชุมใหญ่ของยูเนสโกเมื่อปี 2560 ในฐานะเป็นผู้อุทิศตนสนับสนุนด้านการศึกษาและด้านการสื่อสารมวลชน ซึ่งวันที่ 27 ธันวาคมของปีนี้ เป็นวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล นายกำพล วัชรพล คือตัวอย่างที่แท้จริงของบุคคลที่มีวิธีคิดเป็นบวก มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และอุทิศตนอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งยังเป็นผู้มุ่มั่นที่จะให้บรรลุเป้าหมายอย่างคุ้มคา และเป็นผู้อุทิศชีวิตของตนในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ภูมิหลังครอบครัวที่ยากจนของนายกำพลอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในวัยเยาว์ แต่นี่ไม่อาจหยุดยั้งให้นายกำพลสั่งสมประสบการณ์จากชีวิตและการทำงาน และเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา นายกำพลได้อุทิศเวลาและทรัพยากรของตน เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ชนบททั่วประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงหนี่งในหลักการสำคัญที่ชี้นำชีวิตของตนในการตอบแทนสังคม นี่คือจุดกำเนิดของเครือข่ายโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ซึ่งขยายตัวจนมีโรงเรียนไทยรัฐถึง 111 แห่ง ในช่วงเวลา 5 ทศวรรษ นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนไทยรัฐวิทยาแห่งแรกใน พ.ศ. 2512

บทบาทนักหนังสือพิมพ์ นายกำพลได้เพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชนด้วยข้อมูลข่าวสาร และในบทบาทผู้ประกอบการธุรกิจสื่อมวลชน นายกำพลได้เพิ่มอำนาจแก่เพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อมวลชนและสาธารณชน ด้วยการปกป้องเสรีภาพสื่อมวลชนและส่งเสริมการเรียนรู้ของสื่อมวลชน ทำให้เกิด “โครงการส่งเสริมการใบ้หนังสือพิมพ์เพื่อการศึกษาของไทยรัฐ” เพื่อให้นักเรียนวัยเยาว์สามารถใช้หนังสือพมพ์เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้ มรดกทางปัญญาของนายกำพลนั้น ยังช่วยสนับสนุนความพยายามระดับโลกในปัจจุบันที่จะบรรลุเป้าหมาย “นโยบายการพัฒนาที่ยั่ยืน 2030 (ค.ศ.)” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขั้นที่ 4 ด้านการศึกษา ผลงานอันเป็นเอนกอนันต์ของนายกำพลยังช่วยรับประกันการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมโดยตรง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้คนโดยถ้วนหน้า ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงเอเชียอาคเนย์ด้วย ท่ามกลางภัยคุกคามจากระบอบเผด็จการในยุคศตวรรษ 1960 ยังช่วยส่งเสริมเสรีภาพในการแสดความคิดเห็น และเสรีภาพขอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเสรีภาพ 2 ประการนี้ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยต่อความสำเร็จของแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (ค.ศ.) เพื่อสร้างสังคมที่สันติ ยุติธรรมและทั่วถึง

หลังจากเสร็จสิ้นการประกาศเกียรติคุณบุคคลสำคัญของโลก นายกำพล วัชรพล แล้ว พล.อ.สุรยทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี รักษาการประธานองคมนตรี ผู้แทนพระองค์ ได้เป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ กำพล วัชรพล ที่ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์ พร้อมเดินชมพิพิธภัณฑ์ และลงนามสมุดที่ระลึก จากนั้นเดินทางกลับ

จากนั้นในเวลา 17.00 น. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงปาฐกถาเรื่อง “ชีวิตและผลงาน นายกำพล วัชรพล” นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา ได้อ่านบทกวีนิพนธ์ สดุดี นายกำพล วัชรพล โดยมี นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ เป่าขลุย และนายธานินทร์ อินทรเทพ ศิลปินอาวุโส นักร้องรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ขับร้องเพลง “นกขมิ้น” ซึ่งเป็นเพลงที่นายกำพล วัชรพล ชื่นชอบ เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายกพล วัชรพล


 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up