เรื่องเล่าคนในวัง รู้ไหมว่า 18 ปีที่แล้ว 'สมเด็จพระพันปีหลวง' ทรงทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

เรื่องเล่าคนในวัง รู้ไหมว่า 18 ปีที่แล้ว ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’ ทรงทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

เรื่องเล่าคนในวัง รู้ไหมว่า 18 ปีที่แล้ว 'สมเด็จพระพันปีหลวง' ทรงทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย
เรื่องเล่าคนในวัง รู้ไหมว่า 18 ปีที่แล้ว 'สมเด็จพระพันปีหลวง' ทรงทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

เรื่องเล่าคนในวัง รู้ไหมว่า 18 ปีที่แล้ว ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’ ทรงทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

จากการทำงานอย่างใกล้ชิดของบรรดาข้าราชการที่ถวายงานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงมีหลากหลายเรื่องราวที่น่าสนใจ จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ในวันนี้ได้กลายเป็นความสำเร็จที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้กับคนไทย

ความสุขไม่ได้เกิดจากการที่มีเงินทองมากมาย แต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบายใจไม่ลำบาก มีอาชีพ มีรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวอย่างพอเพียง และนี่ก็เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยราษฎรมาโดยตลอด โครงการตามพระราชดำริฯ ที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้น จึงเกิดทั่วทุกภาคของประเทศมานานหลายสิบปี และเมื่อ 18 ปีที่แล้ว พระองค์ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริอีกครั้ง จากความห่วงใยที่พระองค์มีต่อสถานการณ์ชายแดนบริเวณดอยดำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งทางดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ได้เล่าถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า

“พระองค์มีความห่วงใยในราษฎรมาก ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพื้นที่ ณ จุดสูงสุดของยอดดอยดำ ต.เมืองแหง อ.เวียงแห จ.เชียงใหม่ เนื่องจากห่วงใยในสถานการณ์ชายแดนบริเวณดอยดำ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่” ครอบคลุมพื้นที่ 161,850 ไร่ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งการสร้างรายได้ทางการเกษตร เพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ พระองค์ทรงรับสั่งต่อคณะผู้ติดตามว่า ให้หาปลาที่เลี้ยงได้ดีในที่มีอากาศหนาว รับประทานอร่อยมาให้ชาวบ้าน จากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งถามผมว่า ‘เราจะทดลองเลี้ยงปลาน้ำเย็นที่นำมาจากต่างประเทศดีไหม เลี้ยงได้ไหม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมไหม’

โครงการตามพระราชดำริ
ปลาเทราต์ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นปลาจากต่างประเทศชนิดแรกที่นำเข้ามาทดลองเพาะพันธุ์จนสำเร็จ

“เวลานั้นคณะทำงานจึงได้ศึกษาและดำเนินการตามพระราชดำริ โดยครั้งแรกได้นำปลาเรนโบว์เทราต์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศแคนาดามาทดลองเลี้ยงที่นี่ก่อน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชดำริให้ศึกษาพันธุ์ปลาต่างประเทศชนิดอื่นมาเพาะเลี้ยงเพิ่มเติม ซึ่งทางรัฐบาลรัสเซียก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายไข่ปลาไซบีเรียน สเตอร์เจียน จึงพระราชทานให้กรมประมงนำไข่มาฟักที่โรงเพาะฟักบนดอยอินทนนท์ และนำไปทดลองเลี้ยงที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ ซึ่งด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี ทำให้ในวันนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาสเตอร์เจียนได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในแถบอาเซียน

โครงการตามพระราชดำริ
เนื้อปลาสเตอร์เจียน

“หลังจากที่ใช้เวลาเพาะเลี้ยงกว่า 8 ปี ซึ่งผลผลิตที่สำคัญนอกจากได้เนื้อปลาสเตอร์เจียนที่มีคุณภาพรสชาติอร่อยแล้ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ววัตถุดิบสุดล้ำค่าอย่าง “คาเวียร์” จากปลาสเตอร์เจียน ซึ่งเป็นของราคาแพงและมีชื่อเสียงระดับโลก เราก็สามารถผลิตได้ในประเทศแล้วเช่นกัน

โครงการตามพระราชดำริ
เมนูจากเนื้อปลาสเตอร์เจียน ที่ใช้เวลาเพาะพันธุ์ถึง 8 ปี จนสามารถนำมาทำอาหารได้ เมนูนี้มีชื่อว่า Baked Sturgeon Fillet, Mediterranean Style Vegetable and Saffron Beurre Blance

“ทางคณะทำงานเมื่อครั้งที่ทราบว่าเราสามารถผลิตคาเวียร์เองได้แล้ว ก็ได้นำไปถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสวย ทั้งสองพระองค์ทรงรับสั่งว่ารสชาติดีแล้ว เหมือนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ”

โครงการตามพระราชดำริ
คาเวียร์ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ปลาสเตอร์เจียนในประเทศ
โครงการตามพระราชดำริ
คาเวียร์ที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้แล้ว ถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นเมนูรสชาติล้ำเลิศที่ชื่อว่า Caviar Malossol,Fresh Sea Urchin,Yuzu Cream

นอกจากปลาเทราต์ ปลาสเตอร์เจียน และคาเวียร์ ที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้เองจากการริเริ่มของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อ 18 ปีก่อนแล้ว อีกหนึ่งโครงการที่สำคัญคือ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่ง ดร.สมชาย ธรณิศร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการฯได้เล่าให้ฟังว่า

โครงการตามพระราชดำริ
เนื้อห่านหัวสิงห์

“เมื่อปี 2551 ประเทศจีนได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายไข่ห่านหัวสิงห์ จำนวน 100 ฟอง เพื่อทรงใช้ในโครงการตามพระราชดำริ พระราชทานให้กรมปศุสัตว์นำไปฟักไข่ และทดลองเลี้ยงในโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านยางกลาง จ.อ่างทอง จนสามารถเพาะพันธุ์เองได้ และเจริญเติบโตได้ในทุกภาคของประเทศ อีกทั้งยังเป็นห่านพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และนำมาประกอบอาหารได้ทั้งแบบตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย”

โครงการตามพระราชดำริ
ดอกเกลือ ผลผลิตจากโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริ ที่จ.เพชรบุรี

ต่อจากนั้นผู้ถวายงานยังได้เล่าอีกว่า เคยมีบุคคลท่านหนึ่งถวายที่ดินติดทะเลกับพระองค์ พระองค์ก็ไม่ได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่กลับสร้างพื้นที่นั้นให้เป็นโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรทางทะเลที่ถูกต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมแก่ชาวบ้าน ลดปัญหาการตัดป่าชายเลน จึงได้จัดทำฟาร์มแบบ Zero Waste ซึ่งที่นี่ก็สามารถสร้างผลผลิตที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับราษฎรมากมาย โดยเฉพาะการทำนาเกลือ ที่สามารถผลิตดอกเกลือ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการปรุงอาหารชั้นเลิศซึ่งมีราคาสูง

โครงการตามพระราชดำริ
ผักสดปลอดสารพิษมากมาย ผลผลิตจากโครงการตามพระราชดำริสถานีพัฒนาการการเกษตรที่สูง

นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้เป็นไรน้ำเค็ม ที่สามารถขายเป็นอาหารของสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ รวมถึงผงเกลือสำหรับใส่ในตู้เลี้ยงปลาทะเลเพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมือนน้ำทะเลจากธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ทุกโครงการตามพระราชดำริที่พระองค์ทรงริเริ่มให้พัฒนาขึ้น สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรเป็นอย่างดี และเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่วัตถุดิบหลายชนิดจากต่างประเทศที่เคยนำเข้ามาในราคาสูง เราสามารถผลิตขายเอง และมีทานในประเทศได้แล้ว และนี่ก็คือพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำเพื่อคนไทยมาโดยตลอด ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


ภาพ : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เรื่อง : sriploi

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เผยมุมกล้าหาญสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผ่านนางสนองพระโอษฐ์ผู้ถวายงานใกล้ชิดกว่า 44 ปี

ยลโฉมฉลองพระองค์สุดเรียบง่ายที่ไม่ค่อยได้เห็นนักของ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’

6 มงกุฎ อันทรงคุณค่า งดงามสมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up