ว่าด้วยพระอิสริยยศในราชวงศ์อังกฤษ! ไม่ใช่ Royal Blood มีสิทธิ์เป็น Princess ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

หลายคนเข้าใจว่า หญิงสาวคนใดก็ตามที่ได้แต่งงานกับเจ้าชาย จะกลายเป็น Princess หรือเจ้าหญิงไปโดยปริยาย

ความเข้าใจนี้ไม่ถูกเสมอไป โดยเฉพาะในราชวงศ์อังกฤษ

ราชวงศ์อังกฤษมีพระราชประเพณีหนึ่งที่สืบทอดมาช้านาน นั่นคือการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศแก่พระราชวงศ์เนื่องในพิธีเสกสมรส  ดังที่ เจ้าชายวิลเลียม และนางสาวแคเทอรีน  มิดเดิลตัน ได้รับพระราชทานเป็น Duke และ Duchess of Cambridge รวมทั้งยังได้รับพระยศรองๆ ลงมาคือเป็น Earl และ Countess of Strathearn กับ Baron และ Baroness Carrickfergus ด้วย

Image result for prince william wedding

เฉกเช่นเดียวกับพระอนุชาของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์คือ เจ้าชายแอนดรูว์ ที่หลังพิธีเสกสมรสก็ได้เป็น Duke of York, Earl of Inverness และ Baron Killyleagh ส่งผลให้ ซาราห์ มาร์กาเร็ต เฟอร์กูสัน ได้รับการสถาปนาเป็นดัชเชสแห่งยอกร์ก และถึงจะหย่าขาดจากกัน พระยศดัชเชสก็ยังติดตัวเธออยู่จนถึงทุกวันนี้

Image result for sarah ferguson wedding

ขณะที่ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเสกสมรสกับโซฟี เฮเลน ไรส์-โจนส์  สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็ทรงสถาปนาเจ้าชายให้เป็นเอิร์ลแห่งเว็สเซ็กส์ และไวเคานต์เซเวิร์น ตามครอบครัวของโซฟีซึ่งมีบ้านเดิมอยู่ที่ชายแดนของแคว้นเวลส์ ส่วนโซฟี พระชายา ก็ได้เป็นเคาน์เตสแห่งเว็สเซ็กส์

Related image

ส่วนพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พริ้นซ์ออฟเวลส์ กับเลดี้ไดอะน่า สเปนเซอร์  เมื่อปี 2524 ห้วงเวลานั้นไม่มีการโปรดเกล้าฯพระราชทานอิสริยยศใด  ทั้งนี้เพราะในขณะนั้นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ นอกจากดำรงพระยศ Prince of Wales แล้ว ยังเป็น Duke of Cornwall, Duke of Rothesay,  Earl of Carrick,  Baron of Renfrew,  Lord of the Isles  และ Prince and Great Steward of Scotland  และ Earl of Chester อยู่แล้ว โดยหลังการเสกสมรส เลดี้ไดอานา ซึ่งถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ ได้รับพระยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ ที่ ณ ตอนนั้นยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่

Image result for lady diana wedding

ผิดกับพิธีอภิเษกสมรสรอบสองกับ คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์  ให้สังเกตว่าพระชายาองค์ปัจจุบันได้รับการสถาปนาเป็น “ดัชเชสแห่งคอร์นวอล” เท่านั้น Image result for prince charles and camilla wedding

สำหรับคนที่ยังงงๆ กับพระอิสริยยศของเจ้านายอังกฤษ เอาเป็นว่าคุณต้องเข้าใจก่อนว่าราชวงศ์นี้มีลำดับพระอิสริยยศอยู่ 5 ชั้น สูงสุดคือ Duke – Duchess(ชาย-หญิง) รองลงไป Marquis (หรือ Marquess) –Marchioness(หรือ Marquise), Earl (ชาติอื่นในยุโรปใช้ Count) – Countess, Viscount – Viscountess  และ Baron – Baroness  ตามลำดับ

โดยตามกฎมณเฑียรบาลของอังกฤษ สตรีที่ไม่มี “เชื้อเจ้า” หรือ Royal Blood แม้จะได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายในราชวงศ์ ก็จะไม่ได้คำว่า Princess หรือเจ้าหญิง มานำหน้าพระนาม

นั่นเป็นที่มาว่าช่วงหลังๆ ราชวงศ์อังกฤษไม่มี ‘เจ้าหญิง’ เพิ่มขึ้นเลย เพราะบรรดาเจ้าชายล้วนเลือกที่จะเสกสมรสกับหญิงสามัญชน คนธรรมดา ไร้เลือด Blue Blood กันทุกพระองค์

เพราะฉะนั้น เมแกน มาร์เคิล ก็จะเป็นเช่นเดียวกับพระสุณิสา (สะใภ้) อื่นๆ ที่มาจากสามัญชน คือจะไม่ได้เป็นเจ้าหญิง  แต่จะมีพระนามตามพระสวามีต่อท้าย  เหมือนคามิลลา  ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (พระชายาในเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์) ซาราห์  เฟอร์กูสัน  ดัชเชสแห่งยอร์ก (พระชายาในเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก) และแคเทอรีน มิดเดิลตัน ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ (พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์)

ทั้งนี้ในวันทำพิธีเสกสมรส 19 พฤษภาคมนี้ (2561) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เพิ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรรดาศักดิ์แก่เจ้าชายเฮนรี่แห่งเวลส์ หรือเจ้าชายแฮร์รี่ เป็น ดยุคแห่งซัสเซกส์ เอิร์ลแห่งดัมบาร์ตัน และบารอนคิลเคล

นั่นทำให้ เมแกน มาร์เคิล พระชายา ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศักดิ์ตามพระสวามีที่ ดัชเชสแห่งซัสเซกส์ เคานต์เตสแห่งดัมบาร์ตัน และบารอนเนสคิลเคล โดยอัตโนมัติในทันทีหลังพิธีเสกสมรสเช่นกัน

 

ที่มาภาพ : IG@kensingtonroyal

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up