5 โรคร้าย ที่คนวัย 50+ ต้องระวังมีอะไรบ้าง?

5 โรคร้าย ที่คนวัย 50+ ต้องระวังมีอะไรบ้าง และควรตรวจเช็คสุขภาพแบบไหน?

Alternative Textaccount_circle
5 โรคร้าย ที่คนวัย 50+ ต้องระวังมีอะไรบ้าง?
5 โรคร้าย ที่คนวัย 50+ ต้องระวังมีอะไรบ้าง?

เมื่อเข้าสู่วัย 50+ จะสังเกตเห็นความเสื่อมในร่างกายของตนเอง เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคร้ายได้ง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือต่อความเสี่ยง และการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถตรวจวินิจฉัย 5 โรคร้าย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม และความผิดปกติในช่องท้อง เพื่อจะนำไปสังเกตตนเองหรือคนในครอบครัวว่าควรจะตรวจเช็คสุขภาพแบบไหนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

โรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ
เมื่ออายุมากขึ้นจึงเป็นวัยที่เสี่ยงสูงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยจะมีส่วนในการช่วยให้การตรวจวินิจฉัยหรือพยากรณ์โรคในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพที่จะค้นหาความผิดปกติที่จะเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ ที่สำคัญมีแนะนำให้ตรวจ ดังนี้

  • การตรวจหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมอง ด้วยเครื่อง Carotid Doppler Ultrasound เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ดูคราบหินปูนผนังหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมอง เพื่อตรวจหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูน คราบไขมันเกาะอยู่ภายในหลอดเลือดหรือไม่ ตรวจความตีบแคบของหลอดเลือด รวมทั้งตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองโดยแสดงออกมาเป็นกราฟ และสามารถวัดขนาดของคราบดังกล่าวได้ เพราะเมื่อมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดคอ หรือมีคราบหินปูนเกาะจนหลอดเลือดที่คอตีบแคบ จนทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วย CT Coronary Calcium Scor หรือ (CAC)เป็นการตรวจปริมาณหินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) เมื่อคราบหินปูนหรือแคลเซียมไปเกาะที่หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงหัวใจตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก การทำ CT Coronary Calcium Score เป็นวิธีการตรวจเบื้องต้นที่ง่าย ไม่ต้องฉีดสี ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10 – 15 นาที มีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอนาคตที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยประเมินร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น รวมทั้งอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยมาประกอบในการวางแนวทางการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป

โรคมะเร็งร้าย
โรคมะเร็ง เป็นภัยร้ายที่ต้องระวังในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องดูแลเอาใส่ใจเป็นพิเศษ อายุยิ่งมากความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งก็อาจจะมากขึ้นด้วย หากดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี เช่น อาหารการกิน ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆ หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคร้ายดังกล่าวได้ โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ/ท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่/ทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก เพราะฉะนั้นการตรวจสุขภาพที่จำเป็นในการค้นหาความเสี่ยงหรือค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อสามารถรักษาได้ทันท่วงทีนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากมีดังนี้

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย Low-dose CT Lung Cancer Screening เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดและความผิดปกติในปอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปริมาณรังสีต่ำ หรือการใช้รังสีในปริมาณที่น้อยกว่าเครื่องมาตรฐานทั่วไป จึงไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับรังสีมากเกินไป โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยเครื่อง CT Scan เป็นวิธีการตรวจที่รวดเร็ว ไม่ต้องฉีดสี ไม่เจ็บ ไม่มีแผล ใช้เวลาตรวจเพียงไม่กี่นาทีก็เสร็จ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วย 3D Tomosynthesis Mammogram with US. Breast เป็นการตรวจการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมที่ตรวจด้วยเครื่อง Tomosynthesis จะแสดงภาพแบบ 3 มิติ ที่มีความคมชัด ได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำ และเจ็บน้อย สามารถแยกก้อนเนื้อหรือหินปูนที่ผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น และยังได้ภาพที่ละเอียดมากกว่าเดิม โดยเมื่อมีการตรวจพบความผิดปกติของเต้านม แพทย์จะพิจารณาการเจาะชิ้นเนื้อ (Core Needle biopsy) ได้ทันทีในวันที่รู้ผลตรวจแมมโมแกรม ทำให้สะดวก รวดเร็ว และลดความกังวลของคนไข้ได้อีกด้วย
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด ด้วย Whole Abdominal Ultrasound เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ตรวจช่องท้องหานิ่ว เนื้องอก ถุงน้ำ ไขมันพอกตับ และก้อนมะเร็ง ที่ตับ ถุงน้ำดี ไต ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ หากตรวจพบเร็ว ก็สามารถวางแผนการส่งตรวจที่ละเอียด แม่นยำ รวมถึงการรักษาได้ทันท่วงที

Source : พญ.สุวภัทร อินทปัญญ์ แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย-ภาพรังสีวินิจฉัยชั้นสูง แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลนวเวช

Photo : Pexels


50+ ร่างกายเปลี่ยนไป แค่ไหนกัน

Praew Recommend

keyboard_arrow_up