แพทย์แผนจีนเผย 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ 'การลดน้ำหนักด้วยผลไม้'

แพทย์แผนจีนเผย 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ ‘การลดน้ำหนักด้วยผลไม้’

Alternative Textaccount_circle
แพทย์แผนจีนเผย 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ 'การลดน้ำหนักด้วยผลไม้'
แพทย์แผนจีนเผย 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ 'การลดน้ำหนักด้วยผลไม้'

ผลไม้ช่วยลดน้ำหนักได้ผลจริงหรือ? เพื่อรักษารูปร่างให้เพรียว หลายๆ คนจะลดปริมาณอาหารที่กิน และเลือกกินเฉพาะผลไม้กล่องหรือสลัดเป็นอาหารเช้า หรือรวมแม้กระทั่งมื้อกลางวันด้วย ในความเข้าใจของใครหลายคน ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การกินผลไม้สม่ำเสมอย่อมดีต่อร่างกาย และยังเป็นความคิดที่ดีในการลดน้ำหนักด้วย แต่จะเป็นเช่นนี้จริงหรือ? ล่าสุด Yang Mingxia แพทย์แผนจีนได้วิเคราะห์ 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ ‘การลดน้ำหนักด้วยผลไม้’

ความเข้าใจผิดที่ 1: การกินผลไม้สามารถลดความอยากอาหารได้
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดลองหลายชุดเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของฟรุกโตสในผลไม้ต่อร่างกายมนุษย์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประการแรก พวกเขาให้เครื่องดื่มรสผลไม้แก่ผู้ตอบแบบสอบถาม แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าเครื่องดื่มนั้นมีฟรุกโตสหรือกลูโคสหรือไม่ จากนั้น นักวิจัยขอให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนระดับความหิวของพวกเขา และในขณะที่ทำการสแกนสมอง พวกเขาได้แสดงภาพถ่ายของอาหาร เช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ ฯลฯ ซึ่งการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าหลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตส ผู้คนมีการตอบสนองต่อภาพถ่ายอาหารมากขึ้น เท่ากับไม่สามารถลดความอยากอาหารได้

ความเข้าใจผิดที่ 2: ผลไม้สามารถทดแทนมื้ออาหารได้
การกินผลไม้แทนอาหารมื้อหลักอาจช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นระบบเผาผลาญในร่างกายจะเริ่มปรับตัวให้ทำงานน้อยลง หลังจากนั้น หากกลับมากินอาหารมื้อหลักอาหารตามปกติก็จะทำให้กลับมาอ้วนได้หรือโยโย่ได้ โดยวัตถุประสงค์หลักของการกินผลไม้คือการเสริมน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ และธาตุอาหารรอง แต่ไม่ใช่เพื่อเสริมสารอาหารหลัก 3 ชนิด (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน) ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ ซึ่งโปรตีนสามารถรักษาการเจริญเติบโต การต่ออายุ และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของมนุษย์ ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้างเซลล์ที่มีชีวิตและสารที่ให้พลังงานหลักและควบคุมการทำงานของเซลล์

ความเข้าใจผิดที่ 3: การกินผลไม้มากขึ้นนั้นดีต่อสุขภาพ
แม้ว่าผลไม้ทั่วไปจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต น้ำ เซลลูโลส โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณเล็กน้อย แต่ปริมาณเซลลูโลสและสารอาหารพิเศษของผลไม้เหล่านั้นก็ยังไม่ดีเท่าจำพวกผักใบเขียว อีกทั้งขาดวิตามินบี 1 2 และ กรดอะมิโน ว่าถือสารอาหารยังไม่ครอบคลุมทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะในผู้ที่ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานไม่ดี การกินผลไม้ทดแทนอาหารไม่เพียงแต่จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อม้ามและกระเพาะอาหาร ส่งผลต่อการย่อยอาหารตามปกติ และทำให้เกิดอาการบวมน้ำที่ท้อง แขนขา และส่วนล่าง

ความเข้าใจผิดที่ 4 : ดื่มน้ำผลไม้แทนน้ำมีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักมากกว่า
หลายคนเข้าใจผิดว่าการกินผลไม้และดื่มน้ำผลไม้ตลอดทั้งวันแทนน้ำจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้แถมมีสุขภาพดี อันที่จริงแล้ว ถ้าคุณคั้นผลไม้เป็นน้ำผลไม้ ก็จะมีสารอาหารน้อยกว่าผลไม้นั่นเอง น้ำคิดเป็นร้อยละ 80 ของผลไม้ และน้ำตาลส่วนใหญ่เป็นกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสคิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อครั้นเป็นน้ำผลไม้ เนื้อและเส้นใยจำนวนมากในผลไม้จะถูกกำจัดออกไป สารอาหารส่วนใหญ่ในผลไม้จะสูญเสียไป และสิ่งที่เหลืออยู่คือน้ำตาลจำนวนมาก การดื่มน้ำผลไม้กับอาหารทุกมื้อแทบจะเหมือนกับการดื่มน้ำหวานเลย

istockphoto

สิ่งนี้จะเพิ่มดัชนีน้ำตาลในเลือด (GI) ของร่างกาย ซึ่งจะวัดว่าอาหารเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ดีเพียงใดเมื่อเทียบกับอาหารมาตรฐาน (กลูโคส) การสูงเกินไปจะส่งผลอย่างไร? อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากกินผลไม้เป็นมื้ออาหารในระยะเวลานาน ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้ง่ายอีกด้วย น้ำผลไม้มีสารอาหารน้อยกว่าผลไม้มาก เมื่อคั้นผลไม้เป็นน้ำผลไม้ เนื้อและเส้นใยจำนวนมากจะถูกกำจัดออก เหลือน้ำตาลจำนวนมากซึ่งจะมีแต่ไขมันเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทางลัดในการลดน้ำหนัก การกินอาหารที่สมดุล 3 มื้อ ลดแป้งและน้ำตาลลง และออกกำลังกายประจำจนติดเป็นนิสัย จึงถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดน้ำหนักที่แท้ทรู

ภาพ : Pexels


Praew Recommend

keyboard_arrow_up